แท็ก
ภาคเหนือ
เศรษฐกิจภาคเหนือปี 2542 เบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3-4 เทียบกับที่ หดตัวร้อยละ 5.4 ปีก่อน ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัว ส่วนหนึ่งจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ ทางด้านการผลิตส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรในภาคเหนือ การผลิตยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ปีก่อน โดยพืชผลหลัก เช่น ข้าวนาปี อ้อย รวมทั้งลำไยและลิ้นจี่เพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย และฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สาขาพืชผลยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ปีก่อน ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตร การผลิตเพิ่มขึ้นเกือบืทุกสาขาได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน จากการผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออกและการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ภาคเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.3 ปีก่อน เนื่องจากผลผลิตแร่สำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ สังกะสีและยิปซัม ยังคงเพิ่มขึ้น ภาคบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีเพียง ภาคการก่อสร้าง ที่ยังคงลดลงร้อยละ 8.0 แต่ต่ำกว่าที่ลดลงถึงร้อยละ 17.7 ปีก่อน
นอกจากนั้นทางด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน มีการปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่สองเป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ต่ำลง จึงมีการเบิกถอนเงินฝากส่วนหนึ่งออกมาใช้จ่าย นอกจากนี้บริษัทจำหน่ายสินค้ายังมีบริการสินเชื่อแก่ผู้ซื้อสินค้าทดแทนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงลดลง การใช้จ่ายภาครัฐ ในช่วง 11 เดือน มีการใช้จ่ายเงินในงบประมาณเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 และเมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (มิยาซาวา) รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ทางด้านการส่งออก ในรูปดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 และในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 โดยการส่งออก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ และการส่งออกชายแดนไปพม่า การปิดด่านในช่วงเดือนตุลาคมส่งผลต่อการส่งออกไม่มาก สำหรับ ภาคการลงทุน ยังคงซบเซาแต่เริ่มมีทิศทางดีขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน โดยเครื่องชี้บางชนิดที่แสดงให้เห็นถึง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ โรงงานที่จดทะเบียนเลิกกิจการช่วง 11 เดือนปีนี้ ลดลงในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อนทั้งจำนวนรายและมูลค่า ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 45.7 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐใกล้เคียงปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง
ทางด้านการเงิน การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 ยังคงลดลงร้อยละ 7.7 เหลือ 204,260.3 ล้านบาท ต่ำกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 11.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และลูกค้าบางส่วนถอนเงินฝากชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม จากความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้เริ่มมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง ทางด้าน เงินฝาก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็น 267,442.1 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง
สำหรับปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือจะขยายตัวสูงขึ้น โดยการผลิตภาคเกษตรซึ่งเป็น ภาคการผลิตที่สำคัญ คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีมากเพียงพอต่อ การปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ส่วนผลผลิตสำคัญ เช่น ข้าวนาปี อ้อย ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดปี 2543 ได้รับผลดีจากฝนที่ตกมากปีที่ผ่านมา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายพื้นที่ปลูก จากราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ภาวะอากาศที่หนาวเย็นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลดีต่อการติดผลของลำไยและลิ้นจี่ ทางด้านราคาพืชผลก็คาดว่าจะสูงขึ้น เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นและปริมาณสต็อกสินค้าในตลาดโลกได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมในปีนี้ ภาคอุตสาหกรรมโดยอุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลเกษตรคาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบและอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ภาคบริการ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ทั้งในยุโรปและในแถบเอเชียรวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เริ่มเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจปี 2543 จะสามารถฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับปัจจัย สนับสนุนที่สำคัญอีก 2 ด้านคือ ขอบเขตของการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจว่าจะสามารถทำได้ต่อเนื่องมากน้อยขนาดไหน ในส่วนที่สองคือ กลไกการทำงานทางด้านสินเชื่อของสถาบัน การเงิน ถ้ากลไกนี้สามารถทำงานได้ดีขึ้น จากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบัน การเงิน โดยการปรับโครงสร้างหนี้และการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน ปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจก็จะ ผ่อนคลายลง และจะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นที่จะทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือ สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นในปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
นอกจากนั้นทางด้านการใช้จ่ายภาคเอกชน มีการปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่สองเป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ต่ำลง จึงมีการเบิกถอนเงินฝากส่วนหนึ่งออกมาใช้จ่าย นอกจากนี้บริษัทจำหน่ายสินค้ายังมีบริการสินเชื่อแก่ผู้ซื้อสินค้าทดแทนสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงลดลง การใช้จ่ายภาครัฐ ในช่วง 11 เดือน มีการใช้จ่ายเงินในงบประมาณเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 และเมื่อรวมรายจ่ายตามมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (มิยาซาวา) รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ทางด้านการส่งออก ในรูปดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 และในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 โดยการส่งออก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ และการส่งออกชายแดนไปพม่า การปิดด่านในช่วงเดือนตุลาคมส่งผลต่อการส่งออกไม่มาก สำหรับ ภาคการลงทุน ยังคงซบเซาแต่เริ่มมีทิศทางดีขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน โดยเครื่องชี้บางชนิดที่แสดงให้เห็นถึง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ โรงงานที่จดทะเบียนเลิกกิจการช่วง 11 เดือนปีนี้ ลดลงในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อนทั้งจำนวนรายและมูลค่า ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 45.7 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐใกล้เคียงปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างโครงการต่อเนื่อง
ทางด้านการเงิน การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 ยังคงลดลงร้อยละ 7.7 เหลือ 204,260.3 ล้านบาท ต่ำกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 11.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และลูกค้าบางส่วนถอนเงินฝากชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม จากความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้เริ่มมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นบ้าง ทางด้าน เงินฝาก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็น 267,442.1 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง
สำหรับปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือจะขยายตัวสูงขึ้น โดยการผลิตภาคเกษตรซึ่งเป็น ภาคการผลิตที่สำคัญ คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีมากเพียงพอต่อ การปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ส่วนผลผลิตสำคัญ เช่น ข้าวนาปี อ้อย ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดปี 2543 ได้รับผลดีจากฝนที่ตกมากปีที่ผ่านมา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายพื้นที่ปลูก จากราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ภาวะอากาศที่หนาวเย็นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลดีต่อการติดผลของลำไยและลิ้นจี่ ทางด้านราคาพืชผลก็คาดว่าจะสูงขึ้น เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นและปริมาณสต็อกสินค้าในตลาดโลกได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมในปีนี้ ภาคอุตสาหกรรมโดยอุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลเกษตรคาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบและอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ภาคบริการ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ทั้งในยุโรปและในแถบเอเชียรวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เริ่มเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจปี 2543 จะสามารถฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับปัจจัย สนับสนุนที่สำคัญอีก 2 ด้านคือ ขอบเขตของการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจว่าจะสามารถทำได้ต่อเนื่องมากน้อยขนาดไหน ในส่วนที่สองคือ กลไกการทำงานทางด้านสินเชื่อของสถาบัน การเงิน ถ้ากลไกนี้สามารถทำงานได้ดีขึ้น จากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบัน การเงิน โดยการปรับโครงสร้างหนี้และการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน ปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจก็จะ ผ่อนคลายลง และจะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นที่จะทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือ สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นในปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-