1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2544 ค่อนข้างทรงตัวจากสิ้นปี 2543
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในเดือนเมษายน ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือน เนื่องจากภาคเอกชนและประชาชนมีความต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่าย เพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดติดต่อกัน ทั้งนี้ สภาพคล่องปรับ เพิ่มขึ้นในระยะต่อมา
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหว ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่อยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงก่อน เทศกาลสงกรานต์ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ ร้อยละ 1.375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดซื้อคืน และมีฐานะการลงทุนสุทธิ 146 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ |0.10 และ 4.775 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2544 อยู่ที่ร้อยละ 2.14 ต่อปี ค่อนข้าง ทรงตัวจากเมื่อสิ้นปี 2543 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.10 ต่อปี ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) และต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) ปรับลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมและเงินฝากลงประมาณร้อยละ 0.50 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศอยู่ที่ร้อยละ 4.08 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.32 ต่อปี เมื่อสิ้นปี 2543 โดย ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อลดลงมากกว่าการลดลงของต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 เงินฝากมียอดคงค้าง 4,937.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 314.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.8 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,576.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจมี ยอดคงค้าง 4,364.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 211.8 พันล้านบาท ลดลง 1.7 พันล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนหนี้ ต่างประเทศของภาคเอกชน
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 511.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.0 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ มียอดคงค้าง 5,139.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ยอดคงค้างของฐานเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของ เงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนเมษายน มียอดคงค้าง เท่ากับ 515.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1 พันล้านบาท จากเดือนมีนาคม สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง ส่วนหนึ่ง เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับชำระคืนเงินที่ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินจำนวนหนึ่ง อนึ่ง ในเดือนเมษายน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 15.5 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับ ภาครัฐ เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาครัฐขาดดุลเงินสดในเดือนนี้
ปริมาณเงิน M2A ยังคงปรับเพิ่มขึ้นตาม เงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,413.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 269.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.2 ต่อปีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายน ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6084.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 357.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (Yield Curve) : มีความผันผวนลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม
เดือนเมษายนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในตลาดรองปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือน และค่อยๆ ลดลง ในระยะต่อมา โดยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง |18 ถึง 42 basis points ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวในช่วง |22 ถึง 59 basis points ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ปริมาณการ ซื้อขายตราสารในตลาดรองยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2544 ค่อนข้างทรงตัวจากสิ้นปี 2543
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในเดือนเมษายน ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือน เนื่องจากภาคเอกชนและประชาชนมีความต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่าย เพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดติดต่อกัน ทั้งนี้ สภาพคล่องปรับ เพิ่มขึ้นในระยะต่อมา
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหว ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่อยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงก่อน เทศกาลสงกรานต์ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ ร้อยละ 1.375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดซื้อคืน และมีฐานะการลงทุนสุทธิ 146 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนเมษายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ |0.10 และ 4.775 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2544 อยู่ที่ร้อยละ 2.14 ต่อปี ค่อนข้าง ทรงตัวจากเมื่อสิ้นปี 2543 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.10 ต่อปี ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) และต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) ปรับลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมและเงินฝากลงประมาณร้อยละ 0.50 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศอยู่ที่ร้อยละ 4.08 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.32 ต่อปี เมื่อสิ้นปี 2543 โดย ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อลดลงมากกว่าการลดลงของต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 เงินฝากมียอดคงค้าง 4,937.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 314.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.8 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,576.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจมี ยอดคงค้าง 4,364.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 211.8 พันล้านบาท ลดลง 1.7 พันล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนหนี้ ต่างประเทศของภาคเอกชน
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 511.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.0 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ มียอดคงค้าง 5,139.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ยอดคงค้างของฐานเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของ เงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนเมษายน มียอดคงค้าง เท่ากับ 515.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1 พันล้านบาท จากเดือนมีนาคม สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง ส่วนหนึ่ง เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับชำระคืนเงินที่ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินจำนวนหนึ่ง อนึ่ง ในเดือนเมษายน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 15.5 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับ ภาครัฐ เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาครัฐขาดดุลเงินสดในเดือนนี้
ปริมาณเงิน M2A ยังคงปรับเพิ่มขึ้นตาม เงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,413.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 269.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.2 ต่อปีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายน ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6084.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 357.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (Yield Curve) : มีความผันผวนลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม
เดือนเมษายนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในตลาดรองปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือน และค่อยๆ ลดลง ในระยะต่อมา โดยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง |18 ถึง 42 basis points ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวในช่วง |22 ถึง 59 basis points ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ปริมาณการ ซื้อขายตราสารในตลาดรองยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-