สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานจากการที่สหภาพยุโรป (European Union : EU) ถูก องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ตัดสินว่าระบบน้ำตาลปัจจุบันนี้ ผิดต่อข้อผูกพันว่าด้วยการอุดหนุนการส่งออก ซึ่ง EU จะต้องลด/เลิก ประกอบกับการต้องการควบคุมงบประมาณ และนโยบายการให้สิทธิภาษีเป็นศูนย์แก่สินค้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Everything But Arms) กดดันให้ปฏิรูประบบน้ำตาล ซึ่งถือเป็นระบบที่บิดเบือนการผลิต และการค้าสินค้าเกษตรที่มากที่สุดระบบหนึ่ง ทั้งนี้คาดว่าผลจากการปฎิรูปฯดังกล่าว จะทำให้ไทยจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลโลกและการขยายการส่งออกในตลาดโลกทดแทนที่ EU ได้
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า จากการรายงานของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป ซึ่งรายงานต่อสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวคือ การที่สหภาพยุโรปถูกองค์การการค้าโลก (WTO) ตัดสินว่าระบบน้ำตาลปัจจุบันนี้ ผิดต่อข้อผูกพันว่าด้วยการอุดหนุนการส่งออก ซึ่งสหภาพฯจะต้องลด/เลิก ประกอบกับการต้องการควบคุมงบประมาณ และนโยบายการให้สิทธิภาษีเป็นศูนย์แก่สินค้าจากประเทศพัฒนาน้อย ที่สุด (Everything But Arms) กดดันให้ปฏิรูประบบน้ำตาล ซึ่งถือเป็นระบบที่บิดเบือนการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรที่มากที่สุดระบบหนึ่ง
โดยขณะนี้สหภาพฯได้ร่างกฎหมายการปฏิรูประบบน้ำตาล แต่ยังไม่ได้เสนอให้ความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก หากได้รับการเห็นชอบคาดว่าจะนำมาใช้บังคับประมาณต้นปี 2549 โดยมีเนื้อหาของการปฏิรูปประกอบด้วย การลดราคาแทรกแซงภายในประเทศลง 39% การชดเชยรายได้เกษตรกร 60% ของราคาที่ถูกลดลง รวมทั้งเปลี่ยนระบบโควตาการผลิต แต่ไม่ลดโควตาในภาพรวม และไม่จำกัดการผลิตน้ำตาลสำหรับอุตสาหกรรมยาและเอทานอลชีวภาพ อีกทั้งยังจ่ายเงินชดเชยแก่โรงงานและเกษตรกรที่ต้องเลิกการผลิต
เลขาธิการ สศก. เปิดเผยเพิ่มเติมโดยทำการวิเคราะห์เบื้องต้นเห็นว่า หากร่างปฏิรูปดังกล่าวเกิดการเห็นชอบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตน้ำตาลของสหภาพฯ และของโลก คือ จะทำให้โรงงานน้ำตาลและเกษตรกรของสหภาพยุโรป ลดการผลิตน้ำตาลสำหรับการบริโภคลง เนื่องจากการลดลงของราคาแทรกแซง แต่จะปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่สินค้าที่เป็นความต้องการในตลาด ได้แก่ น้ำตาลสำหรับอุตสาหกรรมยาและเอทานอลชีวภาพเป็นการทดแทน ในส่วนของราคาน้ำตาลสำหรับการบริโภคในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากการลด/เลิกการอุดหนุนส่งออกของสหภาพฯ ก่อให้เกิดการลดลงของอุปทาน ส่วนเกินในตลาดโลก
นางอัญชลียังได้กล่าวเสริมสำหรับข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยในฐานะผู้ส่งน้ำตาลรายใหญ่รายหนึ่งของโลก จะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูป จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลโลกและการขยายการส่งออกในตลาดโลกทดแทนที่สหภาพฯ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหภาพฯ ยังมีโอกาสไม่มากนัก เนื่องจากสหภาพฯ ยังไม่มีนโยบายลดภาษีและไทยยังต้องแข่งขันกับกลุ่ม ACP หรือ Africa Caribbean and Pacific (อัฟริกา แคริเบียน และแปซิฟิก) ซึ่งยังได้โควตานำเข้าน้ำตาลในอัตราภาษีศูนย์
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ไทยอาจไม่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่จากการปฏิรูปของสหภาพฯ คือ การแย่งชิงตลาดกับคู่แข่งรายสำคัญ คือ บราซิล ซึ่งขณะนี้มีศักยภาพทั้งเรื่องการผลิตและการแข่งขันที่สูงกว่าไทย ดังนั้นภาคเอกชนจึงต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันที่ คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นหลังจากมีการปฏิรูประบบน้ำตาลของสหภาพฯ ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า จากการรายงานของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป ซึ่งรายงานต่อสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวคือ การที่สหภาพยุโรปถูกองค์การการค้าโลก (WTO) ตัดสินว่าระบบน้ำตาลปัจจุบันนี้ ผิดต่อข้อผูกพันว่าด้วยการอุดหนุนการส่งออก ซึ่งสหภาพฯจะต้องลด/เลิก ประกอบกับการต้องการควบคุมงบประมาณ และนโยบายการให้สิทธิภาษีเป็นศูนย์แก่สินค้าจากประเทศพัฒนาน้อย ที่สุด (Everything But Arms) กดดันให้ปฏิรูประบบน้ำตาล ซึ่งถือเป็นระบบที่บิดเบือนการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรที่มากที่สุดระบบหนึ่ง
โดยขณะนี้สหภาพฯได้ร่างกฎหมายการปฏิรูประบบน้ำตาล แต่ยังไม่ได้เสนอให้ความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก หากได้รับการเห็นชอบคาดว่าจะนำมาใช้บังคับประมาณต้นปี 2549 โดยมีเนื้อหาของการปฏิรูปประกอบด้วย การลดราคาแทรกแซงภายในประเทศลง 39% การชดเชยรายได้เกษตรกร 60% ของราคาที่ถูกลดลง รวมทั้งเปลี่ยนระบบโควตาการผลิต แต่ไม่ลดโควตาในภาพรวม และไม่จำกัดการผลิตน้ำตาลสำหรับอุตสาหกรรมยาและเอทานอลชีวภาพ อีกทั้งยังจ่ายเงินชดเชยแก่โรงงานและเกษตรกรที่ต้องเลิกการผลิต
เลขาธิการ สศก. เปิดเผยเพิ่มเติมโดยทำการวิเคราะห์เบื้องต้นเห็นว่า หากร่างปฏิรูปดังกล่าวเกิดการเห็นชอบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตน้ำตาลของสหภาพฯ และของโลก คือ จะทำให้โรงงานน้ำตาลและเกษตรกรของสหภาพยุโรป ลดการผลิตน้ำตาลสำหรับการบริโภคลง เนื่องจากการลดลงของราคาแทรกแซง แต่จะปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่สินค้าที่เป็นความต้องการในตลาด ได้แก่ น้ำตาลสำหรับอุตสาหกรรมยาและเอทานอลชีวภาพเป็นการทดแทน ในส่วนของราคาน้ำตาลสำหรับการบริโภคในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากการลด/เลิกการอุดหนุนส่งออกของสหภาพฯ ก่อให้เกิดการลดลงของอุปทาน ส่วนเกินในตลาดโลก
นางอัญชลียังได้กล่าวเสริมสำหรับข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยในฐานะผู้ส่งน้ำตาลรายใหญ่รายหนึ่งของโลก จะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูป จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลโลกและการขยายการส่งออกในตลาดโลกทดแทนที่สหภาพฯ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหภาพฯ ยังมีโอกาสไม่มากนัก เนื่องจากสหภาพฯ ยังไม่มีนโยบายลดภาษีและไทยยังต้องแข่งขันกับกลุ่ม ACP หรือ Africa Caribbean and Pacific (อัฟริกา แคริเบียน และแปซิฟิก) ซึ่งยังได้โควตานำเข้าน้ำตาลในอัตราภาษีศูนย์
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ไทยอาจไม่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่จากการปฏิรูปของสหภาพฯ คือ การแย่งชิงตลาดกับคู่แข่งรายสำคัญ คือ บราซิล ซึ่งขณะนี้มีศักยภาพทั้งเรื่องการผลิตและการแข่งขันที่สูงกว่าไทย ดังนั้นภาคเอกชนจึงต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันที่ คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นหลังจากมีการปฏิรูประบบน้ำตาลของสหภาพฯ ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-