กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2544 ดังนี้
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบหารือกับนางมากิโกะ ทานากะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศญี่ปุ่น ณ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ผลการหารือมีดังนี้
- นางทานากะเห็นด้วยว่าญี่ปุ่นควรมีบทบาทสำคัญในอาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และสนับสนุนการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อหารือเรื่องการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง และการสร้างถนนหมายเลข 9 รวมทั้งท่าเรือน้ำลึกที่เมืองดานัง ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่า ประสงค์ที่จะให้เกียรติญี่ปุ่น โดยให้มีส่วนร่วมในการหารือแต่เริ่มแรก และขอบคุณ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนับสนุนเครือข่ายเชื่อมโยงคมนาคมดังกล่าว
- ประเทศไทยมีดินแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ โดยเฉพาะในด้านพม่ามีเส้นเขตแดนร่วมกันถึงประมาณ 2400 กิโลเมตร และในปัจจุบันไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างดียิ่ง ดังนั้น หากญี่ปุ่นร่วมกับไทยก็จะเป็นพลังผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆ ให้ประสพความสำเร็จมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ความร่วมมือด้านยาเสพติด และปัญหาเกี่ยวกับผู้พลัดถิ่น เป็นต้น ซึ่งนางทานากะได้แสดงความเห็นด้วยกับประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งสอง
- ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้สรุปเรื่องให้นางทานากะทราบถึงความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในเรื่องความร่วมมือด้านยาเสพติด 4 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ลาว พม่า และไทย โดยได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีที่พม่าและจีนไปแล้วตามลำดับ ซึ่งจะนำไปสู่การประชุมระดับผู้นำต่อไป นางทานากะมีความเห็นว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคนี้ และในจังหวะที่เหมาะสมญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การปลูกพืชทดแทน เป็นต้น
- ดร.สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมีความริเริ่มความร่วมมือในกรอบของ Asia Cooperation Dialogue (ACD) โดยเห็นว่า เอเชียมีเงินทุนสำรองและจำนวนประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เอเชียจึงควรมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมาก ยิ่งขึ้นเพื่อสร้างพลังต่อรองในเวทีระหว่างประเทศ โดยในชั้นแรกอาจมีการหารือในกลุ่มเล็กก่อน ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากประเทศสมาชิก อาเซียน เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และตะวันออกกลาง หลังจากนั้นจึงยกระดับ การหารือให้สูงขึ้น ซึ่งนางทานากะได้แสดงความเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว และได้เสริมว่าความร่วมมือในกรอบดังกล่าวหากเริ่มต้นโดยการหารือในระดับทวิภาคีก่อน ก็น่าจะเป็นประโยชน์
- ในด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เสนอว่า ไทยกับญี่ปุ่นควรมีความร่วมมือในด้านนี้อย่างใกล้ชิดมาก ยิ่งขึ้น โดยในชั้นต้นอาจตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาว่าสินค้าประเภทใดที่สามารถร่วมมือลดหย่อนภาษีกันได้ โดยอาจจะชะลอการพิจารณาสินค้าที่มีความละเอียดอ่อน เช่น สินค้าเกษตรบางประเภทไว้ก่อน หากผลการศึกษาระบุว่าความร่วมมือดังกล่าวมีประโยชน์ก็จะได้กำหนดกรอบความร่วมมือต่อไป ซึ่งนางทานากะเห็นด้วยกับแนวทางดำเนินการข้างต้น ทั้งนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่าการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ ถือเป็นการเริ่มต้น ที่ดีที่จะนำไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป
- นางทานากะได้แสดงความซาบซึ้งและขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้อนุญาตให้เครื่องบินรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งเดินทางไปช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานจอดแวะและเติมน้ำมันที่สนามบินอู่ตะเภา
- อนึ่ง ในโอกาสการหารือข้างต้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญนางมากิโกะ ทานากะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศญี่ปุ่นไปเยือนประเทศไทย ซึ่งนางทานากะได้ตอบรับด้วยความยินดีและจะ เดินทางไปเยือนไทยในโอกาสแรกทันที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2544 ดังนี้
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้พบหารือกับนางมากิโกะ ทานากะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศญี่ปุ่น ณ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ผลการหารือมีดังนี้
- นางทานากะเห็นด้วยว่าญี่ปุ่นควรมีบทบาทสำคัญในอาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และสนับสนุนการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อหารือเรื่องการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง และการสร้างถนนหมายเลข 9 รวมทั้งท่าเรือน้ำลึกที่เมืองดานัง ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่า ประสงค์ที่จะให้เกียรติญี่ปุ่น โดยให้มีส่วนร่วมในการหารือแต่เริ่มแรก และขอบคุณ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนับสนุนเครือข่ายเชื่อมโยงคมนาคมดังกล่าว
- ประเทศไทยมีดินแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ โดยเฉพาะในด้านพม่ามีเส้นเขตแดนร่วมกันถึงประมาณ 2400 กิโลเมตร และในปัจจุบันไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างดียิ่ง ดังนั้น หากญี่ปุ่นร่วมกับไทยก็จะเป็นพลังผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆ ให้ประสพความสำเร็จมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ความร่วมมือด้านยาเสพติด และปัญหาเกี่ยวกับผู้พลัดถิ่น เป็นต้น ซึ่งนางทานากะได้แสดงความเห็นด้วยกับประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งสอง
- ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้สรุปเรื่องให้นางทานากะทราบถึงความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในเรื่องความร่วมมือด้านยาเสพติด 4 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ลาว พม่า และไทย โดยได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีที่พม่าและจีนไปแล้วตามลำดับ ซึ่งจะนำไปสู่การประชุมระดับผู้นำต่อไป นางทานากะมีความเห็นว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคนี้ และในจังหวะที่เหมาะสมญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การปลูกพืชทดแทน เป็นต้น
- ดร.สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมีความริเริ่มความร่วมมือในกรอบของ Asia Cooperation Dialogue (ACD) โดยเห็นว่า เอเชียมีเงินทุนสำรองและจำนวนประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เอเชียจึงควรมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมาก ยิ่งขึ้นเพื่อสร้างพลังต่อรองในเวทีระหว่างประเทศ โดยในชั้นแรกอาจมีการหารือในกลุ่มเล็กก่อน ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากประเทศสมาชิก อาเซียน เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และตะวันออกกลาง หลังจากนั้นจึงยกระดับ การหารือให้สูงขึ้น ซึ่งนางทานากะได้แสดงความเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว และได้เสริมว่าความร่วมมือในกรอบดังกล่าวหากเริ่มต้นโดยการหารือในระดับทวิภาคีก่อน ก็น่าจะเป็นประโยชน์
- ในด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เสนอว่า ไทยกับญี่ปุ่นควรมีความร่วมมือในด้านนี้อย่างใกล้ชิดมาก ยิ่งขึ้น โดยในชั้นต้นอาจตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาว่าสินค้าประเภทใดที่สามารถร่วมมือลดหย่อนภาษีกันได้ โดยอาจจะชะลอการพิจารณาสินค้าที่มีความละเอียดอ่อน เช่น สินค้าเกษตรบางประเภทไว้ก่อน หากผลการศึกษาระบุว่าความร่วมมือดังกล่าวมีประโยชน์ก็จะได้กำหนดกรอบความร่วมมือต่อไป ซึ่งนางทานากะเห็นด้วยกับแนวทางดำเนินการข้างต้น ทั้งนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่าการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในวันที่ 19 พฤศจิกายน นี้ ถือเป็นการเริ่มต้น ที่ดีที่จะนำไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป
- นางทานากะได้แสดงความซาบซึ้งและขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้อนุญาตให้เครื่องบินรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งเดินทางไปช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานจอดแวะและเติมน้ำมันที่สนามบินอู่ตะเภา
- อนึ่ง ในโอกาสการหารือข้างต้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญนางมากิโกะ ทานากะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศญี่ปุ่นไปเยือนประเทศไทย ซึ่งนางทานากะได้ตอบรับด้วยความยินดีและจะ เดินทางไปเยือนไทยในโอกาสแรกทันที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-