ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนพฤศจิกายน 2542 กระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ เงินโอนของผู้ที่ไปทำงานต่างประเทศมีเข้ามาเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวลดลง รวมทั้งปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจทุกตัวไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของธุรกิจ อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนโดยรวม การจ้างงาน ต้นทุนการประกอบการ และความสามารถในการส่งออกปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน
นอกจากนี้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินและให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ การแข่งขันทางธุรกิจที่ยังคงรุนแรง กอรปกับธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันหนี้เสียที่อาจเพิ่มขึ้น
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายน 30.9 มิลลิเมตร ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยพืชสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และปอ) ผลผลิตทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังอยู่ในช่วงเพาะปลูก ราคาผลผลิตมันสำปะหลังสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ราคาปอสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ความต้องการปอในประเทศยังมีสูง และมีแนวโน้มว่าจะมีการนำเข้าปอจากต่างประเทศ ส่วนราคาข้าวและอ้อยลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ท้องตลาดมากในช่วงนี้
นอกภาคเกษตร
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนพฤศจิกายน 2542 โดยสอบถามผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 100 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤศจิกายนใกล้ถึงระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (ร้อยละ 50.0) โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 49.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 47.1 และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจทุกตัวดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านต้นทุนการประกอบการ รวมทั้งความสามารถในการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาในประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนพฤศจิกายนดีขึ้นจากเดือนก่อน ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินและการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงมกราคม - มีนาคม 2543 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกในระยะต่อไปได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ควรลดภาษีวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ และเร่งการคืนภาษีการส่งออกให้เร็วขึ้น
2. ควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงอีก เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อและขึ้นภาษีเหล้าและบุหรี่แทน
3. รัฐควรมีนโยบายรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการวางแผนของธุรกิจ
4. ประชาชนยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ-สังคมและการเมือง จึงยังไม่มีการตัดสินใจลงทุนแต่อย่างใด ดังนั้น รัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้มากกว่านี้
5. รัฐควรเข้ามาดูแลราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำเกินไป
6. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหา NPL ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
7. การแข่งขันการตลาดรุนแรงขึ้น มีการนำกลยุทธ์การตลาดมาใช้มาก รวมทั้งบริษัทต่างชาติเข้ามามีบทบาทต่อบริษัทค้าส่งมากขึ้น
8. รัฐควรหาตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีการส่งออกได้มากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนตุลาคม และลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนสินค้าหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน
ในเดือนพฤศจิกายน 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 1 สำนักงาน โดยในเดือนนี้มียอดเงินฝากคงค้าง 235,523.0 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน และร้อยละ 0.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ฝากมีทางเลือกในการลงทุนไม่มากนัก เพราะถ้าลงทุนในด้านอื่นอาจจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า ทำให้ผู้ฝากยังคงมั่นใจในการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์มากกว่า ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มที่ต่ำลงแต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่านี้เท่าใดนัก ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 235,672.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 และร้อยละ 6.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสียที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ลดลงจากเดือนก่อนจากที่ร้อยละ 101.0 มาเป็นร้อยละ 100.1 ในเดือนนี้ เป็นผลมาจากปริมาณเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลง
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อจากการสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเกือบทุกแห่งยังคงมีการปรับลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ในเดือนนี้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี ด้านเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.25-3.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.00-3.50 ต่อปีในเดือนนี้ สำหรับสาเหตุทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีการปรับตัวลดลงเนื่องมาจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่ในระดับสูง และเพื่อเป็นการลดต้นทุนเงินฝากของธนาคาร
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเดือนพฤศจิกายน ธนาคารบางส่วนยังคงอัตราดอกเบี้ยทรงตัวไว้เท่ากับเดือนก่อน แต่มีบางส่วนที่มีการปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทำให้สินเชื่อโดยภาพรวมมีการลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปีโดยที่อัตราดอกเบี้ย MOR อยู่ที่ร้อยละ 8.75-10.25 ต่อปี ดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี และดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ร้อยละ 8.75-11.00 ต่อปี
ทางด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนพฤศจิกายนมีการโอนเงินกลับมาในภาคฯ เป็นเงิน 2,104.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 เนื่องจากในปีนี้มีแรงงานในภาคฯ เดินทางออกไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน มีจำนวนแรงงานในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน ปีนี้มีทั้งสิ้น 89,584 รายในขณะที่ทั้งปี 2541 มีเพียง 60,868 ราย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในปีนี้มียอดการโอนรายได้กลับมาสูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
ภาคการคลัง
เดือนพฤศจิกายน 2542 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,149.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 จากเดือนก่อน จัดเก็บได้ 1,252.9 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง
การค้าชายแดนไทย-ลาว
เดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 1,580 ล้านบาท ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเป็นการส่งออก 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 และการนำเข้า 180 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.0 ไทยยังเกินดุลการค้าลาว 1,220 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
นอกจากนี้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินและให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ การแข่งขันทางธุรกิจที่ยังคงรุนแรง กอรปกับธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันหนี้เสียที่อาจเพิ่มขึ้น
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายน 30.9 มิลลิเมตร ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยพืชสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และปอ) ผลผลิตทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังอยู่ในช่วงเพาะปลูก ราคาผลผลิตมันสำปะหลังสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ราคาปอสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ความต้องการปอในประเทศยังมีสูง และมีแนวโน้มว่าจะมีการนำเข้าปอจากต่างประเทศ ส่วนราคาข้าวและอ้อยลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ท้องตลาดมากในช่วงนี้
นอกภาคเกษตร
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนพฤศจิกายน 2542 โดยสอบถามผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 100 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤศจิกายนใกล้ถึงระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (ร้อยละ 50.0) โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 49.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 47.1 และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจทุกตัวดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านต้นทุนการประกอบการ รวมทั้งความสามารถในการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาในประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนพฤศจิกายนดีขึ้นจากเดือนก่อน ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินและการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงมกราคม - มีนาคม 2543 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกในระยะต่อไปได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ควรลดภาษีวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ และเร่งการคืนภาษีการส่งออกให้เร็วขึ้น
2. ควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มลงอีก เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อและขึ้นภาษีเหล้าและบุหรี่แทน
3. รัฐควรมีนโยบายรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการวางแผนของธุรกิจ
4. ประชาชนยังไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ-สังคมและการเมือง จึงยังไม่มีการตัดสินใจลงทุนแต่อย่างใด ดังนั้น รัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้มากกว่านี้
5. รัฐควรเข้ามาดูแลราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำเกินไป
6. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหา NPL ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
7. การแข่งขันการตลาดรุนแรงขึ้น มีการนำกลยุทธ์การตลาดมาใช้มาก รวมทั้งบริษัทต่างชาติเข้ามามีบทบาทต่อบริษัทค้าส่งมากขึ้น
8. รัฐควรหาตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีการส่งออกได้มากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนตุลาคม และลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนสินค้าหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน
ในเดือนพฤศจิกายน 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 1 สำนักงาน โดยในเดือนนี้มียอดเงินฝากคงค้าง 235,523.0 ล้านบาท (ตัวเลขประมาณการ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน และร้อยละ 0.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ฝากมีทางเลือกในการลงทุนไม่มากนัก เพราะถ้าลงทุนในด้านอื่นอาจจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า ทำให้ผู้ฝากยังคงมั่นใจในการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์มากกว่า ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มที่ต่ำลงแต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่านี้เท่าใดนัก ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 235,672.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 และร้อยละ 6.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสียที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ลดลงจากเดือนก่อนจากที่ร้อยละ 101.0 มาเป็นร้อยละ 100.1 ในเดือนนี้ เป็นผลมาจากปริมาณเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลง
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อจากการสำรวจจากธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเกือบทุกแห่งยังคงมีการปรับลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ในเดือนนี้ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.50-4.50 ต่อปี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.25-5.00 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 3.75-4.75 ต่อปี ด้านเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.25-3.75 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.00-3.50 ต่อปีในเดือนนี้ สำหรับสาเหตุทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีการปรับตัวลดลงเนื่องมาจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่ในระดับสูง และเพื่อเป็นการลดต้นทุนเงินฝากของธนาคาร
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเดือนพฤศจิกายน ธนาคารบางส่วนยังคงอัตราดอกเบี้ยทรงตัวไว้เท่ากับเดือนก่อน แต่มีบางส่วนที่มีการปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทำให้สินเชื่อโดยภาพรวมมีการลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปีโดยที่อัตราดอกเบี้ย MOR อยู่ที่ร้อยละ 8.75-10.25 ต่อปี ดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี และดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ร้อยละ 8.75-11.00 ต่อปี
ทางด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนพฤศจิกายนมีการโอนเงินกลับมาในภาคฯ เป็นเงิน 2,104.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 เนื่องจากในปีนี้มีแรงงานในภาคฯ เดินทางออกไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน มีจำนวนแรงงานในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน ปีนี้มีทั้งสิ้น 89,584 รายในขณะที่ทั้งปี 2541 มีเพียง 60,868 ราย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในปีนี้มียอดการโอนรายได้กลับมาสูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
ภาคการคลัง
เดือนพฤศจิกายน 2542 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,149.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.3 จากเดือนก่อน จัดเก็บได้ 1,252.9 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง
การค้าชายแดนไทย-ลาว
เดือนพฤศจิกายนมีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 1,580 ล้านบาท ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเป็นการส่งออก 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 และการนำเข้า 180 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.0 ไทยยังเกินดุลการค้าลาว 1,220 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-