4.1 หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้แก่สถาบันการเงิน โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปอย่าง ชัดเจนและเปิดเผย ณ ที่ทำการของสถาบันการเงิน โดยให้ระบุรายละเอียด รวมทั้งจัดทำตารางประมาณการผ่อนชำระเงินเพื่อให้ลูกค้าทราบก่อนตัดสินใจใช้บริการ
2) ในกรณีที่ลูกค้าทำสัญญาเป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวรวมถึงผู้ที่เปลี่ยนจากอัตรา ดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ให้สถาบันการเงินพิจารณาดำเนินการขยายระยะเวลาการผ่อนชำระแทนการปรับเพิ่มเงินงวดเป็นลำดับแรก หากมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มเงินงวด และเงินงวดที่ชำระยังพอชำระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ ให้สถาบันการเงินปรับเพิ่มเงินงวดได้ปีละไม่เกิน 1 ครั้งและไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินงวดที่ลูกค้าผ่อนชำระ ถ้าเงินงวดไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ให้สถาบันการเงินปรับเงินงวดสูงขึ้นได้เท่ากับดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในแต่ละครั้งที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
สำหรับลูกค้าที่ทำสัญญาเป็นสินเชื่ออัตรา ดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุก 3 ปีหรือ 5 ปีตลอดอายุสัญญา เมื่อครบกำหนดการปรับเพิ่มเงินงวดอาจปรับเพิ่มเกินร้อยละ 10 ของเงินงวดที่ผ่อนชำระอยู่เดิมได้
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2543)
4.2 การขยายความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรขยายความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ SMEs ภาคการค้า การให้การบริการ และการรับจ้างทำของ จากเดิม ที่ให้เฉพาะภาคการผลิตเท่านั้น นอกจากนี้ ยังให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินในรูปของเงินทุนหมุนเวียนแก่ SMEs ที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้และได้ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว สำหรับวงเงินที่ธนาคารจะให้กู้ยืมแก่ SMEs นั้น ได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 42,000 ล้านบาท เป็น 51,000 ล้านบาท
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 46/2543 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2543)
4.3 ขอความร่วมมือในการขอความ ยินยอมจากลูกค้าเพื่อเปิดเผยข้อมูลเครดิต แก่นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินให้ขอความยินยอมจากลูกค้าเพื่อเปิดเผยข้อมูลเครดิตของลูกค้า ซึ่งได้แก่ ข้อมูล ทางการเงินและประวัติของลูกค้าที่สถาบันการเงินแก่นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต รวมทั้งให้สามารถเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นให้แก่สถาบัน การเงินที่ร่วมเป็นสมาชิกด้วย
อนึ่ง สถาบันการเงินจะต้องนำข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อหรือ การให้กู้ยืมเท่านั้นห้ามนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นโดยมิชอบ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2543)
4.4 ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของเงินให้สินเชื่อที่ใช้คำนวณการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขา (เงื่อนไขข้อ 6)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 6 ที่ให้ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเปิดสาขาในส่วนภูมิภาคต้องให้สินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินฝากที่ได้จากภูมิภาคนั้น ว่าให้ นับรวมเงินให้สินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญ ที่ธนาคารพาณิชย์ตัดออกจากบัญชี เนื่องจากได้กันเงินสำรองครบถ้วนแล้ว เข้าไปในการคำนวณด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 21 สิงหาคม 2543)
4.5 การปฎิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์และการขายหลักทรัพย์ โดยให้มีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน ตลอดจนมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง เช่น การให้สินเชื่อและการก่อภาระผูกพันให้กำหนดในเรื่อง ประเภทและสัดส่วนของวงเงินให้สินเชื่อโดยรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ หรือประเภทธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนั้น เพื่อมิให้เกิดการกระจุกตัวของสินเชื่อและการก่อภาระผูกพัน
นอกจากนี้ ยังให้กำหนดผู้รับผิดชอบงานความเสี่ยงทางเครดิตแยกจากบุคคลอื่นโดยรับผิดชอบการพิจารณาสินเชื่อและการก่อภาระผูกพันก่อนนำเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ให้มี ข้อกำหนดในเรื่องผู้รับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการจ่ายเงินและการรับเงิน การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติแล้วเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อ เป็นต้น
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543)
4.6 ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่งวดเดือนมิถุนายน 2544 เป็นต้นไป และให้รายงานเฉพาะผลการให้สินเชื่อ ดังกล่าวเป็นรายเดือน โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับ เป้าหมายประจำปีดังที่เคยปฏิบัติตามแบบรายงานเดิม เริ่มตั้งแต่ข้อมูลเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543)
4.7 การให้บริการบัตรเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้ธนาคารพาณิชย์ปรับปรุงในเรื่องการให้บริการบัตรเครดิตและได้รวบรวมหลักเกณฑ์ในหนังสือเวียนฉบับก่อนให้มารวมอยู่ในหนังสือเวียนฉบับเดียวกันนี้ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของ ผู้ถือบัตรหลักในการออกบัตรใหม่ ต้องมีรายได้ทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 180,000 บาทต่อปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี (จากเดิมต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 240,000 บาทต่อปี)
2) ปรับปรุงหลักเกณ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของ ผู้ถือบัตรเสริมให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (จากเดิม ไม่ต่ำกว่า 22 ปี)
3) การผ่อนชำระหนี้บางส่วน ที่กำหนดให้ผู้ถือบัตรต้องชำระขั้นต่ำในแต่ละงวดอย่างน้อยร้อยละ 10 ของยอดสินเชื่อคงค้าง ต้องไม่ต่ำกว่างวดละ 2,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป แต่ได้ผ่อนผันให้ผู้ถือบัตรรายเก่าที่สมัครก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 ผ่อนชำระแต่ละงวดในอัตราร้อยละ 5 ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้นแต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ต่อไปได้อีก 1 ปี
(หนังสือเวียนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
5. มาตรการกำกับและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5.1 การดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ สาขาธนาคารต่างประเทศและบริษัทเงินทุน โดยกำหนด ให้เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในบริษัทบริหาร สินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวน รวมถึงเงินให้ สินเชื่อซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวรับรอง รับอาวัลหรือ ค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับมีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับศูนย์ (ไม่นับรวมกรณีบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่ได้ถือหุ้นเต็มจำนวน)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 มีนาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 2 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543)
5.2 สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ขยายระยะเวลาในการประเมินราคาหรือ ตีราคาอสังหาริมทรัพย์จากทุก 6 เดือนเป็นทุก 12 เดือน โดยสถาบันการเงินต้องกันเงินสำรอง 100 % สำหรับผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่า ที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาในทันที
2) การเลือกใช้วิธีการประเมินราคาหรือการ ตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชำระหนี้หรือซื้อจากการขายทอดตลาด ให้สถาบันการเงินใช้วิธีการประเมินราคาสำหรับอสังหาริมทรัพย์แต่ละแปลงที่มีราคาตามบัญชีตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์หลายแปลงที่ไม่สามารถแยกจำหน่ายจากกันได้หากมีราคารวมกันตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท จะใช้วิธีการตีราคาหรือการประเมินราคาก็ได้
3) สำหรับสินทรัพย์อื่นที่เป็นเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ ให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองเป็นรายหลักทรัพย์เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีราคาทุนสูงกว่าราคาตลาดหรือราคายุติธรรม โดยให้กันเงินสำรองเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาตลาดหรือราคายุติธรรม
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 เมษายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)
5.3 ปรับปรุงเกณฑ์การยื่นขอเปิดสาขาย่อยและการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาเปิดสาขาย่อยและการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ สรุปได้ ดังนี้
1) หลักเกณฑ์การเปิดสาขาย่อย ให้ยื่นคำขอ ได้ตลอดเวลาจากเดิมที่ให้ยื่นคำขอได้ปีละครั้ง พร้อมทั้ง ได้ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลำดับที่ 1-4 ต้องยื่นเปิดสาขาย่อยในเขตอำเภอรอบนอกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคำขอทั้งหมด
2) หลักเกณฑ์การยื่นขอปิดสาขา จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อย 45 วันล่วงหน้าก่อนปิดทำการ และหากไม่ได้รับการ ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ยื่นก็ให้สามารถดำเนินการปิดสาขาได้ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น ต้องมีสาขาธนาคารออมสิน หรือธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือธนาคารพาณิชย์เหลืออยู่ในอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้นอย่างน้อย 1 แห่ง ยกเว้น อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่ไม่มีสาขาธนาคารพาณิชย์ในวันที่ 1 มกราคม 2543 ฯลฯ
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543)
5.4 การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคาร พาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเรื่องการใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet) ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสถาบันการเงินในลักษณะของการโฆษณาหรือเผยแพร่ธุรกิจ ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปหรือให้แก่ลูกค้ารายหนึ่งรายใดได้โดย ไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ในกรณีการทำธุรกรรมหรือนิติกรรมใดๆ รวมทั้งการโอนเงินหรือรับโอน หรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมหรือนิติกรรมนั้นๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
อนึ่ง ในการขออนุญาตให้สถาบันการเงิน แจ้งรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ด้วย เช่น มาตรการดูแลความปลอดภัยของระบบและข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งพร้อมที่จะอธิบายหรือชี้แจงเพิ่มเติมและปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ
ต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับธนาคารพาณิชย์ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดำเนินการ
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตไปแล้วตามประกาศฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ให้สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ภายใน ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ทันที ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่ยื่นคำขอตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ให้มีผลเป็นการอนุญาตเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันยื่นคำขอ เว้นแต่ จะมีข้อทักท้วงจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2) เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตแล้ว ต้องใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการประกอบธุรกิจภายในขอบเขตที่จำกัด เช่น ธนาคารพาณิชย์สามารถแสดงเครื่องหมายการค้า (Logo) หรือ ข้อความของธุรกิจอื่นบน Web Site ของธนาคารพาณิชย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าผู้ใช้บริการได้ ฯลฯ
3) การคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการจากลูกค้าผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันและต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้า
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 27/2543 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 หนังสือเวียนลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สำหรับธนาคารพาณิชย์ และประกาศกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2543 สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2543 และหนังสือเวียนลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2543)
5.5 การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน มีสาระสำคัญ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องให้ผู้ฝากเงินแจ้ง ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียดในแบบรายการ คำขอเปิดบัญชีเงินฝาก เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ สถานที่ทำงาน และสถานที่ที่สะดวกในการติดต่อ และถ้าเป็นนิติบุคคลต้องมีข้อมูล เกี่ยวกับประเภทธุรกิจหรือวัตถุประสงค์ของผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ ในการเปิดบัญชีเงินฝากผู้ฝากจะใช้นามแฝงหรือใช้ชื่อปลอมไม่ได้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียกสำเนาเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชีเงินฝากและต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศผ่อนปรนให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องการ รับฝากเงิน ตามข้อเสนอขอปรับปรุงแก้ไขของ สมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างชาติโดยได้ผ่อนปรนให้ในกรณีที่ผู้ฝากเป็นบุคคลธรรมดาต้องมีเอกสารอย่างน้อยเป็นเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน ส่วนผู้ฝากที่มิใช่สัญชาติไทยสามารถ ใช้หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ฯลฯ และในเรื่องการจัดเก็บรักษาเอกสารหรือสำเนาเอกสารได้ผ่อนปรนให้เก็บไว้ในสถานที่ ปลอดภัย ณ ธนาคารพาณิชย์ได้ แทนที่จะเก็บไว้ในห้องมั่นคง ส่วนการดำเนินการต่อผู้ฝากเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศภายใน 6 เดือนนับแต่วันบังคับใช้ โดยผ่อนปรนให้มีข้อ ยกเว้น สำหรับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวและธนาคารพาณิชย์ได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ผู้ฝากดำเนินการแล้ว
(ประกาศลงวันที่ 7 เมษายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2543 และหนังสือเวียน ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.6 การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงิน ตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับ เงินกองทุนของบริษัทเงินทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับปรุงวิธีการนับลูกหนี้รายใหญ่ในการ ให้กู้ยืมด้วยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน โดยแยกประเภทของตั๋วเงินออกเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพ และตั๋วเงินที่ไม่เข้าข่ายเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพ
2) กำหนดนิยามของตั๋วเงินที่มีคุณภาพ เช่น ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยบริษัทจำกัด ซึ่งได้รับการจัดอันดับความ น่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป หรือตั๋วแลกเงิน ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3) ขยายนิยามของภาระผูกพันให้หมาย รวมถึงการรับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิ์ในหนี้ และตราสารทุนแบบรับประกันทั้งจำนวน (Firm Underwriter)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 26 มิถุนายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฏาคม 2543)
5.7 ตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เพิ่มเติมรายละเอียดคุณสมบัติของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ดังนี้
1) กำหนดให้อายุของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี และในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อน ครบกำหนด ให้สถาบันการเงินทยอยลดการนับเงิน ที่ได้รับ เนื่องจากการออกตราสารดังกล่าวเข้าเป็นกองทุนลงร้อยละ 20 ต่อปี
2) ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีสิทธิ์เลื่อนการชำระดอกเบี้ยตามตราสารออกไปได้ ในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงานและไม่จ่ายเงิน ปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์สี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงโดยมีคำสั่งให้ลดทุนและเพิ่มทุน
อนึ่ง ในกรณีที่มีการเลื่อนการชำระดอกเบี้ยของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ออกไป หากประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยจำนวนนี้ก็สามารถจ่ายได้ในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ตามหน้าตราสาร (Original Coupon Rate)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.8 การเพิ่มเติมประเภทของ สินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถใช้หลักทรัพย์ที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Corporation) ออกใหม่ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 นำมาใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 23 มิถุนายน 2543)
5.9 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและมีสำนักงานสาขา โดยให้บริษัทสินเอเซียจำกัด (มหาชน) เป็น Super Finance (หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 )
การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืม หลักทรัพย์และการขายชอร์ต (หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 กันยายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2543)
การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และ การขายชอร์ต (หนังสือเวียนลงวันที่ 18 ธันวาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ Custodian Service ของธนาคารพาณิชย์ (หนังสือเวียนลงวันที่ 18 กันยายน 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจให้ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น (หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กันยายน 2543)
การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ (หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ ของบริษัทเงินทุน โดยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้เป็นนายหน้าตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และอนุญาตโดยกำหนด หลักเกณฑ์เงื่อนไข ให้ทำธุรกิจจัดการออก จัดจำหน่ายและค้าตราสารแห่งหนี้ อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทเงินทุนประสงค์จะขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ใน ครอบครอง บริษัทเงินทุนจะทำได้เฉพาะเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงของตน และมีหลักฐานชัดแจ้งว่าจะได้ หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ในอนาคต
(ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543)
5.10 การเปิดบัญชีเงินฝากของผู้สมัคร รับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง
ตามประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง เรื่อง การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้ง และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประกาศผลการ ตรวจสอบรายการค่าใช้จ่าย ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 ที่กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรค การเมืองที่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชี รายชื่อเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์ ชื่อ “บัญชีเงินฝากเพื่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” (ระบุชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง) และกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยเคร่งครัด และอำนวยความสะดวกในการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมทั้งเก็บ หลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าวไว้ เพื่อให้คณะกรรมการเลือกตั้งตรวจสอบด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้แก่สถาบันการเงิน โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไปอย่าง ชัดเจนและเปิดเผย ณ ที่ทำการของสถาบันการเงิน โดยให้ระบุรายละเอียด รวมทั้งจัดทำตารางประมาณการผ่อนชำระเงินเพื่อให้ลูกค้าทราบก่อนตัดสินใจใช้บริการ
2) ในกรณีที่ลูกค้าทำสัญญาเป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวรวมถึงผู้ที่เปลี่ยนจากอัตรา ดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ให้สถาบันการเงินพิจารณาดำเนินการขยายระยะเวลาการผ่อนชำระแทนการปรับเพิ่มเงินงวดเป็นลำดับแรก หากมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มเงินงวด และเงินงวดที่ชำระยังพอชำระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ ให้สถาบันการเงินปรับเพิ่มเงินงวดได้ปีละไม่เกิน 1 ครั้งและไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินงวดที่ลูกค้าผ่อนชำระ ถ้าเงินงวดไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ให้สถาบันการเงินปรับเงินงวดสูงขึ้นได้เท่ากับดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในแต่ละครั้งที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
สำหรับลูกค้าที่ทำสัญญาเป็นสินเชื่ออัตรา ดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุก 3 ปีหรือ 5 ปีตลอดอายุสัญญา เมื่อครบกำหนดการปรับเพิ่มเงินงวดอาจปรับเพิ่มเกินร้อยละ 10 ของเงินงวดที่ผ่อนชำระอยู่เดิมได้
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2543)
4.2 การขยายความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรขยายความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ SMEs ภาคการค้า การให้การบริการ และการรับจ้างทำของ จากเดิม ที่ให้เฉพาะภาคการผลิตเท่านั้น นอกจากนี้ ยังให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินในรูปของเงินทุนหมุนเวียนแก่ SMEs ที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้และได้ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว สำหรับวงเงินที่ธนาคารจะให้กู้ยืมแก่ SMEs นั้น ได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 42,000 ล้านบาท เป็น 51,000 ล้านบาท
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 46/2543 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2543)
4.3 ขอความร่วมมือในการขอความ ยินยอมจากลูกค้าเพื่อเปิดเผยข้อมูลเครดิต แก่นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินให้ขอความยินยอมจากลูกค้าเพื่อเปิดเผยข้อมูลเครดิตของลูกค้า ซึ่งได้แก่ ข้อมูล ทางการเงินและประวัติของลูกค้าที่สถาบันการเงินแก่นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต รวมทั้งให้สามารถเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นให้แก่สถาบัน การเงินที่ร่วมเป็นสมาชิกด้วย
อนึ่ง สถาบันการเงินจะต้องนำข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อหรือ การให้กู้ยืมเท่านั้นห้ามนำไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นโดยมิชอบ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2543)
4.4 ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของเงินให้สินเชื่อที่ใช้คำนวณการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขา (เงื่อนไขข้อ 6)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 6 ที่ให้ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเปิดสาขาในส่วนภูมิภาคต้องให้สินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินฝากที่ได้จากภูมิภาคนั้น ว่าให้ นับรวมเงินให้สินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญ ที่ธนาคารพาณิชย์ตัดออกจากบัญชี เนื่องจากได้กันเงินสำรองครบถ้วนแล้ว เข้าไปในการคำนวณด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 21 สิงหาคม 2543)
4.5 การปฎิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์และการขายหลักทรัพย์ โดยให้มีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน ตลอดจนมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง เช่น การให้สินเชื่อและการก่อภาระผูกพันให้กำหนดในเรื่อง ประเภทและสัดส่วนของวงเงินให้สินเชื่อโดยรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ หรือประเภทธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนั้น เพื่อมิให้เกิดการกระจุกตัวของสินเชื่อและการก่อภาระผูกพัน
นอกจากนี้ ยังให้กำหนดผู้รับผิดชอบงานความเสี่ยงทางเครดิตแยกจากบุคคลอื่นโดยรับผิดชอบการพิจารณาสินเชื่อและการก่อภาระผูกพันก่อนนำเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ให้มี ข้อกำหนดในเรื่องผู้รับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการจ่ายเงินและการรับเงิน การรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติแล้วเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อ เป็นต้น
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543)
4.6 ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่งวดเดือนมิถุนายน 2544 เป็นต้นไป และให้รายงานเฉพาะผลการให้สินเชื่อ ดังกล่าวเป็นรายเดือน โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับ เป้าหมายประจำปีดังที่เคยปฏิบัติตามแบบรายงานเดิม เริ่มตั้งแต่ข้อมูลเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543)
4.7 การให้บริการบัตรเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้ธนาคารพาณิชย์ปรับปรุงในเรื่องการให้บริการบัตรเครดิตและได้รวบรวมหลักเกณฑ์ในหนังสือเวียนฉบับก่อนให้มารวมอยู่ในหนังสือเวียนฉบับเดียวกันนี้ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของ ผู้ถือบัตรหลักในการออกบัตรใหม่ ต้องมีรายได้ทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 180,000 บาทต่อปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี (จากเดิมต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 240,000 บาทต่อปี)
2) ปรับปรุงหลักเกณ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของ ผู้ถือบัตรเสริมให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (จากเดิม ไม่ต่ำกว่า 22 ปี)
3) การผ่อนชำระหนี้บางส่วน ที่กำหนดให้ผู้ถือบัตรต้องชำระขั้นต่ำในแต่ละงวดอย่างน้อยร้อยละ 10 ของยอดสินเชื่อคงค้าง ต้องไม่ต่ำกว่างวดละ 2,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป แต่ได้ผ่อนผันให้ผู้ถือบัตรรายเก่าที่สมัครก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 ผ่อนชำระแต่ละงวดในอัตราร้อยละ 5 ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้นแต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ต่อไปได้อีก 1 ปี
(หนังสือเวียนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
5. มาตรการกำกับและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
5.1 การดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ สาขาธนาคารต่างประเทศและบริษัทเงินทุน โดยกำหนด ให้เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในบริษัทบริหาร สินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวน รวมถึงเงินให้ สินเชื่อซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวรับรอง รับอาวัลหรือ ค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับมีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับศูนย์ (ไม่นับรวมกรณีบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่ได้ถือหุ้นเต็มจำนวน)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 มีนาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 2 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543)
5.2 สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ขยายระยะเวลาในการประเมินราคาหรือ ตีราคาอสังหาริมทรัพย์จากทุก 6 เดือนเป็นทุก 12 เดือน โดยสถาบันการเงินต้องกันเงินสำรอง 100 % สำหรับผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่า ที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาในทันที
2) การเลือกใช้วิธีการประเมินราคาหรือการ ตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชำระหนี้หรือซื้อจากการขายทอดตลาด ให้สถาบันการเงินใช้วิธีการประเมินราคาสำหรับอสังหาริมทรัพย์แต่ละแปลงที่มีราคาตามบัญชีตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป (รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์หลายแปลงที่ไม่สามารถแยกจำหน่ายจากกันได้หากมีราคารวมกันตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท จะใช้วิธีการตีราคาหรือการประเมินราคาก็ได้
3) สำหรับสินทรัพย์อื่นที่เป็นเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ ให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองเป็นรายหลักทรัพย์เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีราคาทุนสูงกว่าราคาตลาดหรือราคายุติธรรม โดยให้กันเงินสำรองเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาตลาดหรือราคายุติธรรม
(หนังสือเวียนลงวันที่ 10 เมษายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)
5.3 ปรับปรุงเกณฑ์การยื่นขอเปิดสาขาย่อยและการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาเปิดสาขาย่อยและการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ สรุปได้ ดังนี้
1) หลักเกณฑ์การเปิดสาขาย่อย ให้ยื่นคำขอ ได้ตลอดเวลาจากเดิมที่ให้ยื่นคำขอได้ปีละครั้ง พร้อมทั้ง ได้ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลำดับที่ 1-4 ต้องยื่นเปิดสาขาย่อยในเขตอำเภอรอบนอกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคำขอทั้งหมด
2) หลักเกณฑ์การยื่นขอปิดสาขา จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อย 45 วันล่วงหน้าก่อนปิดทำการ และหากไม่ได้รับการ ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ยื่นก็ให้สามารถดำเนินการปิดสาขาได้ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น ต้องมีสาขาธนาคารออมสิน หรือธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือธนาคารพาณิชย์เหลืออยู่ในอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้นอย่างน้อย 1 แห่ง ยกเว้น อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่ไม่มีสาขาธนาคารพาณิชย์ในวันที่ 1 มกราคม 2543 ฯลฯ
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543)
5.4 การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคาร พาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเรื่องการใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet) ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสถาบันการเงินในลักษณะของการโฆษณาหรือเผยแพร่ธุรกิจ ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปหรือให้แก่ลูกค้ารายหนึ่งรายใดได้โดย ไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ในกรณีการทำธุรกรรมหรือนิติกรรมใดๆ รวมทั้งการโอนเงินหรือรับโอน หรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมหรือนิติกรรมนั้นๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
อนึ่ง ในการขออนุญาตให้สถาบันการเงิน แจ้งรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ด้วย เช่น มาตรการดูแลความปลอดภัยของระบบและข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งพร้อมที่จะอธิบายหรือชี้แจงเพิ่มเติมและปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ
ต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับธนาคารพาณิชย์ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดำเนินการ
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตไปแล้วตามประกาศฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 ให้สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ภายใน ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ทันที ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่ยื่นคำขอตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ให้มีผลเป็นการอนุญาตเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันยื่นคำขอ เว้นแต่ จะมีข้อทักท้วงจากธนาคารแห่งประเทศไทย
2) เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตแล้ว ต้องใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการประกอบธุรกิจภายในขอบเขตที่จำกัด เช่น ธนาคารพาณิชย์สามารถแสดงเครื่องหมายการค้า (Logo) หรือ ข้อความของธุรกิจอื่นบน Web Site ของธนาคารพาณิชย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าผู้ใช้บริการได้ ฯลฯ
3) การคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการจากลูกค้าผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันและต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้า
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 27/2543 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 หนังสือเวียนลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สำหรับธนาคารพาณิชย์ และประกาศกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2543 สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2543 และหนังสือเวียนลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2543)
5.5 การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน มีสาระสำคัญ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องให้ผู้ฝากเงินแจ้ง ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียดในแบบรายการ คำขอเปิดบัญชีเงินฝาก เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ สถานที่ทำงาน และสถานที่ที่สะดวกในการติดต่อ และถ้าเป็นนิติบุคคลต้องมีข้อมูล เกี่ยวกับประเภทธุรกิจหรือวัตถุประสงค์ของผู้ฝากเงิน ทั้งนี้ ในการเปิดบัญชีเงินฝากผู้ฝากจะใช้นามแฝงหรือใช้ชื่อปลอมไม่ได้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องเรียกสำเนาเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชีเงินฝากและต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศผ่อนปรนให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องการ รับฝากเงิน ตามข้อเสนอขอปรับปรุงแก้ไขของ สมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างชาติโดยได้ผ่อนปรนให้ในกรณีที่ผู้ฝากเป็นบุคคลธรรมดาต้องมีเอกสารอย่างน้อยเป็นเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน ส่วนผู้ฝากที่มิใช่สัญชาติไทยสามารถ ใช้หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ฯลฯ และในเรื่องการจัดเก็บรักษาเอกสารหรือสำเนาเอกสารได้ผ่อนปรนให้เก็บไว้ในสถานที่ ปลอดภัย ณ ธนาคารพาณิชย์ได้ แทนที่จะเก็บไว้ในห้องมั่นคง ส่วนการดำเนินการต่อผู้ฝากเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศภายใน 6 เดือนนับแต่วันบังคับใช้ โดยผ่อนปรนให้มีข้อ ยกเว้น สำหรับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวและธนาคารพาณิชย์ได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ผู้ฝากดำเนินการแล้ว
(ประกาศลงวันที่ 7 เมษายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2543 และหนังสือเวียน ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.6 การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันหรือจ่ายเงิน ตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับ เงินกองทุนของบริษัทเงินทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงิน หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน หรือจ่ายเงินตามภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนของบริษัทเงินทุน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับปรุงวิธีการนับลูกหนี้รายใหญ่ในการ ให้กู้ยืมด้วยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน โดยแยกประเภทของตั๋วเงินออกเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพ และตั๋วเงินที่ไม่เข้าข่ายเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพ
2) กำหนดนิยามของตั๋วเงินที่มีคุณภาพ เช่น ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยบริษัทจำกัด ซึ่งได้รับการจัดอันดับความ น่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป หรือตั๋วแลกเงิน ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ AA ขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3) ขยายนิยามของภาระผูกพันให้หมาย รวมถึงการรับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิ์ในหนี้ และตราสารทุนแบบรับประกันทั้งจำนวน (Firm Underwriter)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 26 มิถุนายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฏาคม 2543)
5.7 ตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เพิ่มเติมรายละเอียดคุณสมบัติของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ดังนี้
1) กำหนดให้อายุของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี และในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อน ครบกำหนด ให้สถาบันการเงินทยอยลดการนับเงิน ที่ได้รับ เนื่องจากการออกตราสารดังกล่าวเข้าเป็นกองทุนลงร้อยละ 20 ต่อปี
2) ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีสิทธิ์เลื่อนการชำระดอกเบี้ยตามตราสารออกไปได้ ในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงานและไม่จ่ายเงิน ปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์สี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงโดยมีคำสั่งให้ลดทุนและเพิ่มทุน
อนึ่ง ในกรณีที่มีการเลื่อนการชำระดอกเบี้ยของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ออกไป หากประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยจำนวนนี้ก็สามารถจ่ายได้ในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ตามหน้าตราสาร (Original Coupon Rate)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.8 การเพิ่มเติมประเภทของ สินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถใช้หลักทรัพย์ที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Corporation) ออกใหม่ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 นำมาใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 23 มิถุนายน 2543)
5.9 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและมีสำนักงานสาขา โดยให้บริษัทสินเอเซียจำกัด (มหาชน) เป็น Super Finance (หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 )
การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืม หลักทรัพย์และการขายชอร์ต (หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 กันยายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2543)
การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และ การขายชอร์ต (หนังสือเวียนลงวันที่ 18 ธันวาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ Custodian Service ของธนาคารพาณิชย์ (หนังสือเวียนลงวันที่ 18 กันยายน 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจให้ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น (หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กันยายน 2543)
การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ (หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2543)
การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ ของบริษัทเงินทุน โดยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้เป็นนายหน้าตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และอนุญาตโดยกำหนด หลักเกณฑ์เงื่อนไข ให้ทำธุรกิจจัดการออก จัดจำหน่ายและค้าตราสารแห่งหนี้ อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทเงินทุนประสงค์จะขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ใน ครอบครอง บริษัทเงินทุนจะทำได้เฉพาะเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงของตน และมีหลักฐานชัดแจ้งว่าจะได้ หลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ในอนาคต
(ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543)
5.10 การเปิดบัญชีเงินฝากของผู้สมัคร รับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง
ตามประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง เรื่อง การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมุห์บัญชีเลือกตั้ง และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประกาศผลการ ตรวจสอบรายการค่าใช้จ่าย ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 ที่กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรค การเมืองที่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชี รายชื่อเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์ ชื่อ “บัญชีเงินฝากเพื่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” (ระบุชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง) และกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวโดยเคร่งครัด และอำนวยความสะดวกในการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมทั้งเก็บ หลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าวไว้ เพื่อให้คณะกรรมการเลือกตั้งตรวจสอบด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-