แท็ก
WTO
การเปิดตลาดเสรีด้านการเงิน ของสมาชิก WTO -------------------------------------------------------------------------------- ประเทศสมาชิก WTO ตกลงที่จะเปิดเสรีตลาดการเงินตามพันธกรณีที่แต่ละประเทศได้ยื่นไว้ ต่อ WTO ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ศกนี้ เป็นต้นไป ซึ่งการค้าบริการด้านการเงินของประเทศ เหล่านี้มีมูลค่าสูงกว่าร้อยละ 90 ของตลาดการเงินโลกการเจรจาเพื่อเปิดเสรีตลาดการค้า บริการด้านการเงินได้ประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 สมาชิก WTO จำนวน 71 ประเทศรวมทั้งไทยได้ยื่นตารางข้อผูกพันเพื่อเปิดเสรีตลาดการเงินของตน หลังจากนั้น ประเทศสมาชิกดังกล่าวจะต้องดำเนินกระบวนการภายในประเทศของตนเพื่อให้สามารถลง นามในพิธีสารฉบับที่ 5 (ด้านการเงิน) ภายในวันที่ 29 มกราคม 2542 ซึ่งหากว่า ณ วันที่ 30 มกราคม 2542 ประเทศสมาชิกที่ได้ยื่นพันธกรณีไว้ทั้งหมดลงนามในพิธีสารครบทุก ประเทศ พิธีสารฯ ก็จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 30 มกราคม 2542 ปรากฎว่า มีสมาชิกที่ลงนามแล้ว 53 ประเทศ1 รวมทั้งไทย และเหลือสมาชิก จำนวน 18 ประเทศไม่สามารถลงนามในพิธีสารฯได้ตามกำหนดเวลา2 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ สมาชิกเหล่านี้ไม่สามารถลงนามได้ทันก็เนื่องจากยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการให้สัตยาบันภายใน ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี วรรค 3 ของพิธีสารฉบับที่ 5 ระบุว่า ณ วันที่ 30 มกราคม 2542 ถ้าประเทศสมาชิกที่ยื่นข้อผูกพันยังลงนามไม่ครบทุกประเทศ ประเทศสมาชิกที่ลงนาม แล้วจะต้องตัดสินใจภายใน 30 วัน ว่า จะดำเนินการตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลา การมีผลบังคับใช้จากวันที่ 1 มีนาคม 2542 เป็นวันอื่นหรือไม่ และจะขยายกำหนดเวลา การลงนามในพิธีสารฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้ลงนามสามารถลงนามใน พิธีสารฯ ออกไปอีกนานเท่าใด เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ประเทศสมาชิกที่ลงนามใน พิธีสารฉบับที่ 5 ได้ตัดสินใจให้พิธีสารฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2542 ตามที่ กำหนดไว้แต่เดิม และเห็นควรให้ขยายเวลาการลงนามในพิธีสารฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิก ที่ยังไม่ลงนาม สามารถลงนามได้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2542 โดยให้พิธีสารดังกล่าวมีผล ใช้บังคับต่อประเทศนั้นๆ ในวันที่ลงนาม พันธกรณีเพื่อเปิดตลาดเสรีด้านการเงินที่สมาชิกทั้ง 70 ประเทศได้ยื่นไว้ครอบคลุมสาขาที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร หลักทรัพย์ และประกันภัย ซึ่งมีมูลค่าประมาณร้อยละ 95 ของการค้าบริการด้านการเงินของโลก โดยประเทศเหล่านี้ ผูกพันที่จะลดหรือผ่อนคลายมาตรการหรือข้อจำกัดที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างชาติให้ บริการด้านการเงินและเปิดกิจการให้บริการด้านการเงินในประเทศของตนภายใต้ขอบเขตที่ กฎหมายในแต่ละประเทศกำหนดไว้ 1 ประเทศที่ลงนามในพิธีสารฯ ได้แก่ บาห์เรน แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย ไซปรัส สาธารณรัฐเชก เอกวาดอร์ อียิปต์ สหภาพยุโรป (ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร) ฮ่องกง ฮังการี ไอซ์แลนด์ อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี คูเวต มาเก๊า มาเลเซีย มอลตา มอริเชียส เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ปากีสถาน เปรู โรมาเนีย เซเนกัล สิงคโปร์ สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ศรีลังกา สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ตูนีเซีย ตุรกี สหรัฐฯ และเวเนซุเอลา 2ประเทศที่ยังไม่ลงนามในพิธีสารฯ ได้แก่ ออสเตรเลีย โบลิเวีย บราซิล บัลแกเรีย คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน ลักเซมเบิร์ก เอลซัลวาดอร์ กานา ฮอนดูรัส จาเมกา เคนยา นิการากัว ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ สโลวีเนีย และอุรุกวัย ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-