นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการเสนอท่าทีไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับสาธารณสุขต่อคณะรัฐมนตรีวันนี้ (30 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว ในเรื่องของข้อตกลงสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ที่ให้ความคุ้มครองแก่ยาใหม่เป็นเวลา 20 ปี และการคุ้มครองนั้นประเทศอื่นๆ จะไม่สามารถผลิตเพื่อแข่งขันได้ ซึ่งระยะหลังนั้นได้มีการผลิตยารักษาโรคใหม่ๆ ขึ้น เช่น ยารักษาโรคเอดส์ ที่เมื่อผลิตออกมาแล้วจะมีราคาขายสูง ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วไป จะไม่สามารถหาซื้อยาเหล่านี้ได้
“เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ประเทศไทยให้ความสำคัญมาก และได้มีการร้องเรียนจากทั้งวุฒิสภาและเอ็นจีโอให้มีการนำประเด็นนี้เข้าสู่การเจรจาการค้าโลกรอบใหม่ด้วย ซึ่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ประมาณ 50 ประเทศ อาทิ กลุ่มอาเซียน บราซิล แอฟริกาใต้ และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เสนอท่าทีที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากับสาธารณสุขนี้ไปแล้ว ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบ”นายการุณกล่าว สำหรับท่าทีของไทยในเรื่องดังกล่าวนั้น ที่ได้มีการเสนอต่อครม. ก็คือ เสนอไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาใหม่แก่ยาที่จำเป็นต่อชีวิต ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่ายาใดจัดเป็นยาที่จำเป็นต่อชีวิตหรือไม่ จะให้องค์การอนามัยโลกเป็นผู้กำหนด ส่วนถ้าจะให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ยาที่จำเป็นต่อชีวิต ประเทศไทยต้องการให้ลดระยะเวลาการคุ้มครองลง โดยให้เหลือระยะเวลาคุ้มครองเพียง 5 - 8 ปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอหรืออย่างมากที่สุดก็ไม่ควรเกินกว่า 10 ปี จากปัจจุบันที่คุ้มครอง 20 ปี
นอกจากนั้นไทยยังสนับสนุนให้ใช้มาตรการในเรื่องการกำหนดราคายาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อยาได้โดยสะดวก ในราคาที่เหมาะสม แต่มาตรการดังกล่าวจะต้องไม่นำไปเป็นข้อต่อรองเพื่อให้มีการใช้มาตรการในเรื่องของการบังคับใช้สิทธิ และการนำเข้าซ้อน หรือการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรจากแหล่งอื่นที่ราคาต่ำกว่าด้วย ซึ่งท่าทีของไทยเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้สิทธิ และการนำเข้าซ้อนนั้นไทยต้องการให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนการใช้มาตรการดังกล่าว เพราะจะทำให้สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการซื้อยาโดยสะดวกและราคาเหมาะสมได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ นั้น จะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถนำเอามาตรการดังกล่าวไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดว่าจะใช้มาตรการดังกล่าวได้เฉพาะกับกรณีของยาที่จำเป็นต่อชีวิตเท่านั้น แต่ควรอนุญาตให้ใช้กับยารักษาโรคอื่นๆ ด้วย รวมทั้งประเทศสมาชิกจะต้องไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการใดๆ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจะกดดันหรือกีดกันไม่ให้ประเทศสมาชิกอื่นใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิบัตรและการนำเข้าซ้อนดังกล่าว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
“เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ประเทศไทยให้ความสำคัญมาก และได้มีการร้องเรียนจากทั้งวุฒิสภาและเอ็นจีโอให้มีการนำประเด็นนี้เข้าสู่การเจรจาการค้าโลกรอบใหม่ด้วย ซึ่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ประมาณ 50 ประเทศ อาทิ กลุ่มอาเซียน บราซิล แอฟริกาใต้ และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เสนอท่าทีที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากับสาธารณสุขนี้ไปแล้ว ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบ”นายการุณกล่าว สำหรับท่าทีของไทยในเรื่องดังกล่าวนั้น ที่ได้มีการเสนอต่อครม. ก็คือ เสนอไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาใหม่แก่ยาที่จำเป็นต่อชีวิต ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่ายาใดจัดเป็นยาที่จำเป็นต่อชีวิตหรือไม่ จะให้องค์การอนามัยโลกเป็นผู้กำหนด ส่วนถ้าจะให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ยาที่จำเป็นต่อชีวิต ประเทศไทยต้องการให้ลดระยะเวลาการคุ้มครองลง โดยให้เหลือระยะเวลาคุ้มครองเพียง 5 - 8 ปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอหรืออย่างมากที่สุดก็ไม่ควรเกินกว่า 10 ปี จากปัจจุบันที่คุ้มครอง 20 ปี
นอกจากนั้นไทยยังสนับสนุนให้ใช้มาตรการในเรื่องการกำหนดราคายาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อยาได้โดยสะดวก ในราคาที่เหมาะสม แต่มาตรการดังกล่าวจะต้องไม่นำไปเป็นข้อต่อรองเพื่อให้มีการใช้มาตรการในเรื่องของการบังคับใช้สิทธิ และการนำเข้าซ้อน หรือการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรจากแหล่งอื่นที่ราคาต่ำกว่าด้วย ซึ่งท่าทีของไทยเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้สิทธิ และการนำเข้าซ้อนนั้นไทยต้องการให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนการใช้มาตรการดังกล่าว เพราะจะทำให้สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการซื้อยาโดยสะดวกและราคาเหมาะสมได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ นั้น จะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถนำเอามาตรการดังกล่าวไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดว่าจะใช้มาตรการดังกล่าวได้เฉพาะกับกรณีของยาที่จำเป็นต่อชีวิตเท่านั้น แต่ควรอนุญาตให้ใช้กับยารักษาโรคอื่นๆ ด้วย รวมทั้งประเทศสมาชิกจะต้องไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการใดๆ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจะกดดันหรือกีดกันไม่ให้ประเทศสมาชิกอื่นใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิบัตรและการนำเข้าซ้อนดังกล่าว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-