ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรต่อประเทศกำลังพัฒนา
Developing Countries : Impact of agricultural trade liberalisation
บทนำ
เอกสารฉบับนี้ สรุปมาจากผลการศึกษาวิเคราะห์ของ Australian Bureau of Agricultural and Resource Economics
(ABARE) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจและการเกษตรของประเทศออสเตรเลีย โดยหยิบยกประเด็นเรื่องผลกระทบการค้าสินค้าเกษตร
ของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้การเจรจาใน WTO มาวิเคราะห์ และใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปของ
Model GTEM ซึ่งเป็น Model ที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก เนื่องจากสามารถใช้ข้อมูลครอบคลุมได้หลากหลาย
สาขาในภูมิภาคต่างๆ ของโลก GTEM พัฒนามาจาก GTAP model (Hertel 1997) และ MEGABARE model (ABARE 1996)
เป็น Model ที่เหมาะสมในการนำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจการค้า ซึ่งมีปัจจัยที่ซับซ้อน เนื่องจากต้องการศึกษา
ครอบคลุมความเกี่ยวโยงของภูมิภาคต่างๆ ของโลก นอกจากนั้น GTEM เป็น dynamic model ที่สามารถนำเอาข้อมูลตัวแปรที่หลากหลาย
ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันมาวิเคราะห์และสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งจะต่างจาก Static models
จะสามารถวิเคราะห์ดุลยภาพ ได้ ณ เวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น จะไม่สามารถติดตามความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร
การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร กำลังเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO โดยมีวัตถุประสงค์
ระยะยาวเพื่อการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรโลกให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ประเทศสมาชิกต่างรู้สึกว่ายังไม่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้า
เกษตรเท่าที่ควร โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาพยายามผลักดันให้การเจรจาให้ระบบการค้าสินค้าเกษตรมีความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยเฉพาะต่อกลุ่มประเทศเล็กๆ โดยการผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการอุดหนุนและการคุ้มครองสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาตระหนักถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า แต่ก็กังวลถึงผลกระทบ
ในเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ข้อจำกัดด้านความสามารถในการแข่งขันให้เท่าเทียมกับประเทศพัฒนาแล้ว
โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และการสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าที่ได้รับจากประเทศพัฒนาแล้ว เป็นต้น
จากการศึกษาของ ABARE พบว่า ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง
เนื่องจากได้รับประโยชน์จากความชำนาญในการผลิตและการรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีระะบบเศรษฐกิจแบบปกป้องจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้ากว่ามาก แต่การบิดเบือนทางการค้า
สินค้าเกษตรที่เกิดขึ้นในตลาดโลก ก็เกิดการใช้จากมาตรการปกป้องของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้มากที่สุด
ประโยชน์โดยรวมจากการปฎิรูปการค้าเกษตร (ignificant global gains from reform)
จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร (ตารางที่ 1) โดยลดการอุดหนุนลงร้อยละ 40
ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการค้าเกษตรโดยรวมของโลกเพิ่มสูงขึ้น 53 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในปี คศ.2010
โดยเปรียบเทียบมูลค่าผลประโยชน์ที่ประเทศพัฒนาแล้วได้รับ จำนวน 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์คิด
เป็นมูลค่าประมาณ 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางที่ 1
Impact of 50 percent agricultural liberalisation on gross domestic product and terms of trade, 2010
Change relative to the reference case
Real gross domestic product Terms of trade
US$m % %
Africa 479 0.08 -0.2
Argentina 312 0.08 2.69
Australia 189 0.04 1.74
Brazil 1,447 0.16 0.6
Canada 66 0.01 0.3
China 2,570 0.18 -0.27
European Union (15) 28,310 0.25 0.01
India 894 0.19 -0.17
Indonesia 64 0.03 0.06
Japan 8,980 0.14 -0.47
Malaysia 467 0.35 -0.15
New Zealand 264 0.32 3.41
Change relative to the reference case
Real gross domestic product Terms of trade
US$m % %
Philippines 208 0.24 -0.4
Thailand 505 0.23 0.35
United States 1,830 0.02 0.4
Rest of Latin America 329 0.03 0.1
Rest of World 6,360 0.15 -0.32
Total 53,249 0.14 -
Source : GTEM simulations.
ทั้งนี้ จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลง (dynamic gain) เพื่อสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและระบบการจัดการจะได้รับประโยชน์มากกว่าการเปิดเสรี
ทางการค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ประเทศพัฒนาแล้วให้การอุดหนุนในระดับสูง ได้แก่ ปศุสัตว์ พืชเขตร้อน พืชน้ำมัน อ้อย
ผัก และผลไม้ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงอุตสาหกรรมการแปรรูปจากสินค้าเหล่านั้น
การเปิดเสรีจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของแต่ละประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเทศส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดมากขึ้น แต่อาจมีประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรบางราย ประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรภาย
ในประเทศสูงกว่าราคานำเข้า ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการค้าลดลง (Term of trade) อย่างไรก็ตาม การเจรจาเปิดเสรี ภายใต้ WTO
จะครอบคลุมสาขาต่างๆ เป็นโอกาสในการขยายการค้าไปยังสาขาอื่นๆ ต่อไป
ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรีภาคอุตสาหกรรม (Global gains much larger if manufacturing is also liberalised)
จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากเปิดเสรีทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของการเปิดเสรีสินค้าเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว และพบว่าประเทศต่างๆ แทบทุกภูมิภาค
ของโลกจะมีสัดส่วนการเติบโตของ GDP เพิ่มสูงขึ้น (ตารางที่ 2) คิดเป็นมูลค่า 94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 เมื่อเปรียบ
เทียบกับการเปิดเสรีเฉพาะภาคเกษตรที่มีมูลค่า 53 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งผลประโยชน์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะตกกับประเทศกำลังพัฒนาประมาณ
3 ใน 4 หรือ ร้อยละ 75 เนื่องจาก ประเทศที่มีการปกป้องอุตสาหกรรมสูงจะมีอัตราการเติบโตของ Real GDP เพิ่มสูงขึ้นจากการเปิด
เสรีในลักษณะ Comprehensive ประเทศเหล่านี้จะได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศที่มีการพัฒนาเบื้องต้น (Primarily development)
ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน ละตินอเมริกา และแอฟริกา
หากนำผลจากการเปิดเสรีทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม (Comprehensive) มาวิเคราะห์พบว่า ผลประโยชน์โดยรวมคิด
เป็นมูลค่า 147 พันล้านเหรียญในปี 2010 ซึ่งครึ่งหนึ่งตกกับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากก่อนหน้าที่จะมีการเปิดเสรี ระดับการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยีต่ำกว่า ส่งผลให้มีการปรับปรุงความสามารถและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน
ตารางที่ 2
Comparison of the impact 50 per cent agricultural liberalisation and
Comprehensive liberalisation, 2010, relative to the reference case
Change in
Annual increase in real GDP Terms of trade
Agricultural Comprehensive Comprehensive
US$m US$m %
Africa 479 2,059 -0.99
Argentina 312 450 2.59
Australia 189 381 1.38
Brazil 1,447 3,910 -0.44
Canada 66 324 0.1
China 2,570 15,840 -0.12
European Union (15) 28,310 32,210 0.07
India 894 3,570 -1.68
Indonesia 64 701 0.31
Japan 8,980 11,800 0.43
Malaysia 467 992 -0.82
New Zealand 264 294 3.63
Philippines 208 1,245 -1.59
Thailand 505 1,122 0.02
United States 1,830 3,300 0.22
Rest of Latin America 329 1,492 -0.41
Rest of World 6,360 14,620 -0.12
Total 53,249 94,310 -
Source : GTEM simulations.
มาตรฐานแรงงานกับระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Labour standards and openness of economies)
ประเทศกำลังพัฒนามีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อมีการเปิดเสรี
ก็จะขยายผลไปสู่การขยายการผลิตเพื่อการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริง (Real wage)
เพิ่มสูงขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานแรงงาน ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วมักจะนำมาตรฐานแรงงานไปเชื่อมโยงกับประเด็นทางการค้า
ในการตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า หากประเทศพัฒนาแล้วใช้มาตรการแทรกแซงทางการค้า โดยการเพิ่มอัตราภาษี
สินค้านำเข้าทุกรายการจากประเทศกำลังพัฒนาในอัตราร้อยละ 10 จะส่งผลให้ GDP โดยรวมของโลกลดลง 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010
และไม่เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศจะยิ่งได้รับผลกระทบในทางลบ ได้แก่ สหรัฐฯ และ
ออสเตรเลีย
ผลกระทบจากการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (Impact of preferential access arrangments)
ประเทศพัฒนาแล้วจะให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศกำลังพัฒนา สำหรับสินค้าสำคัญบางรายการ ได้แก่ น้ำตาล กล้วย
เนื้อสัตว์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของอีกหลายประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
ในอดีต การให้สิทธพิเศษดังกล่าว เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการค้าของประเทศพัฒนาแล้วต่อประเทศในอาณานิคม ซึ่งจะไม่ก่อ
ให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต โดยเฉพาะต่อสาขาที่ได้รับสิทธิพิเศษ และไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว
น้ำตาลเป็นสินค้าที่ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษทางการค้า และก่อให้เกิดการบิดเบือนด้านราคาในตลาดโลกจากการที่สหภาพยุโรป
ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศ แอฟริกัน — แคริเบียน แปซิฟิค (ACP) และอินเดีย และสหรัฐฯ ใช้มาตรการโควตาภาษีในการควบคุม
การนำเข้า
จากการวิเคราะห์พบว่า หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาลในประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
และแคนาดา (รวมทั้งเม็กซิโกและจีน) โดยที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ยกเลิกการใช้มาตรการดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิง
เศรษฐกิจต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญเป็นอย่างมาก คิดเป็นมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเฉพาะการเปิดเสรี
สินค้าน้ำตาล) ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า
การให้ความช่วยเหลือทางการค้าที่มีประสิทธิภาพ (More efficient ways of providing aid)
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือทางการค้า (aid-through-trade) ซึ่งประเทศเล็กๆ
หลายประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาการให้สิทธิพิเศษทางการค้าโดยเฉพาะสินค้าน้ำตาลจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งจะสูญเสียสิทธิพิเศษดังกล่าว
ทันที หากมีการเปิดเสรี
อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือทางการค้าของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปในรูปแบบอื่น อาจทำให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ
ประโยชน์มากกว่าการให้สิทธิพิเศษเป็นรายสินค้า อาทิเช่น หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาล สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปจะได้ประโยชน์
ในเชิงเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 และประเทศเล็กๆ ที่สูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้า คิดเป็นมูลค่าประมาณ
0.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์ในรูปแบบอื่นชดเชยกับสิทธิพิเศษทางการค้าที่เสียไป มีมูลค่ามากกว่าเดิมในแง่เศรษฐกิจ และส่ง
ผลให้สามารถพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ความแตกต่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
(Important differences between developing and developed countries)
ผลกระทบจากการเปิดเสรีระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะการปรับตัวด้านต้นทุนการผลิต
(adjustment costs) อันเป็นผลมาจากการเปิดเสรีการค้าเกษตรดังนี้
1. ผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ มีพื้นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างแคบจึงมีข้อจำกัดในเรื่องการปรับตัว
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
2. ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีมาตรการมารองรับหรือการบรรเทาผลกระทบระยะสั้น ในเรื่องการปรับตัวเมื่อมีการเปิดเสรีการค้า
สินค้าเกษตร
ประเด็นพิจารณาของประเทศกำลังพัฒนา
(Some critical issues for developing countries)
ประเทศกำลังพัฒนา เป็นกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายในด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติทางการเกษตร
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และระดับรายได้ ดังนั้น ในการเปิดเสรีสินค้าเกษตรจะส่งผลกระทบที่แตกต่างกัน
ระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เคยได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า
อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาพยายามผลักดันให้มีการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกันในหลายเรื่อง โดยครอบคลุมเรื่องที่สำคัญ
คือ ความมั่นคงด้านอาหาร การจัดสรรรายได้ของภาครัฐ การพัฒนาศักยภาพทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม แต่ความพยายามในการ
ดำเนินการดังกล่าว มักประสบความขัดแย้งในบางประเด็นที่สำคัญ คือ เรื่องการเก็บภาษีส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อจุดประสงค์ด้านรายได้
จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นต้น
สำหรับประเทศที่การผลิตและการบริโภคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะมีอิทธิพลต่อราคาตลาดโลก นโยบายที่ดีที่สุดในการจัดสรรทรัพยากร
ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือนโยบายการค้าเสรี ซึ่งภาครัฐควรเข้ามาแทรกแซงเมื่อกลไกของตลาดไม่มีประสิทธิภาพ การเปิดเสรีทางการค้าแม้
จะมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญที่บ่งชี้ประสิทธิภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา นโยบายการค้าเสรีจะทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพหากมีการผสมผสานระหว่างนโยบายทางสังคมและนโยบายด้านเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งของสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมามี
ส่วนสนับสนุนในการดำเนินการ
ในการนี้ เพื่อให้ผลจากการเปิดเสรีทางการค้ามีประสิทธิภาพ ควรให้ความสำคัญในการส่งสัญญาณทางการตลาด (market signal)
ที่จะต้องมีความโปร่งใสและชัดเจนไปยังผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกทางการค้า
รวมทั้งเพิ่มศักยภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร การให้สินเชื่อทางการตลาด การให้ความคุ้มครอง
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เพื่อให้มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมพร้อมต่อการตอบสนองต่อการส่งสัญญานทางการตลาดที่จำเป็น
ในการดำเนินนโยบายการค้าเสรี
บทวิเคราะห์
1. การดำเนินนโยบายการค้าเสรี จะนำไปสู่ความเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการได้รับความ
ก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี นำไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ก็อาจมีผลกระทบ
สำคัญที่จะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนา คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวและพัฒนาต่อไป
2. จากการศึกษา พบว่า ผลประโยชน์โดยรวมของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น หากมีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร โดยลดการอุดหนุน
ทุกประเทศจะมีอัตราการเติบโตทาง GDP เพิ่มสูงขึ้น และหากมีการเปิดเสรีในลักษณะ Comprehensive (เปิดตลาดทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม) ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนหนึ่งมาจากการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
3. จากการศึกษา พบว่า ตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย ไม่ได้มีผลกระทบมากนักต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทย
เนื่องจาก 1) ไทยยังมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ในการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ 2) สินค้าเกษตรที่ไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
ยังคงใช้มาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี และ 3) ข้อผูกพันในการเปิดตลาดยังคงมีปริมาณน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตและการบริโภคภายในประเทศ
4. หากเปรียบเทียบการดำเนินนโยบายการเกษตร ของกลุ่มประเทศอาเซียน จะเห็นว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย
และฟิลิปปินส์ ยังมีนโยบายปกป้องการค้าสินค้าเกษตรสูงกว่าไทย โดยเฉพาะการใช้มาตรการควบคุมการนำเข้า โดยมีสินค้าสำคัญ
คือ ข้าว ข้าวโพด
5. ผลกระทบสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนา คือ เมื่อมีการเปิดเสรีการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจะหมดไป
หากพิจารณาผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยรวมจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ จะมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับ
สิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้านั้นๆ แล้ว ยังทำให้ศักยภาพการแข่งขันลดลง
6. ประเทศไทย ในฐานะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและสมาชิกกลุ่มเครนส์ ในการเจรจาการค้าเกษตรรอบใหม่ ภายใต้ WTO
จะต้องพยายามผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้มากที่สุด โดยการลดการให้การอุดหนุนการส่งออก ซึ่งเป็นการบิดเบือนทางการค้าอย่างมาก
หากสามารถผลักดันให้ลดการอุดหนุนลงได้มากที่สุดก็จะทำให้ไทย รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
Developing Countries : Impact of agricultural trade liberalisation
บทนำ
เอกสารฉบับนี้ สรุปมาจากผลการศึกษาวิเคราะห์ของ Australian Bureau of Agricultural and Resource Economics
(ABARE) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจและการเกษตรของประเทศออสเตรเลีย โดยหยิบยกประเด็นเรื่องผลกระทบการค้าสินค้าเกษตร
ของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้การเจรจาใน WTO มาวิเคราะห์ และใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปของ
Model GTEM ซึ่งเป็น Model ที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก เนื่องจากสามารถใช้ข้อมูลครอบคลุมได้หลากหลาย
สาขาในภูมิภาคต่างๆ ของโลก GTEM พัฒนามาจาก GTAP model (Hertel 1997) และ MEGABARE model (ABARE 1996)
เป็น Model ที่เหมาะสมในการนำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจการค้า ซึ่งมีปัจจัยที่ซับซ้อน เนื่องจากต้องการศึกษา
ครอบคลุมความเกี่ยวโยงของภูมิภาคต่างๆ ของโลก นอกจากนั้น GTEM เป็น dynamic model ที่สามารถนำเอาข้อมูลตัวแปรที่หลากหลาย
ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันมาวิเคราะห์และสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งจะต่างจาก Static models
จะสามารถวิเคราะห์ดุลยภาพ ได้ ณ เวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น จะไม่สามารถติดตามความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร
การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร กำลังเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO โดยมีวัตถุประสงค์
ระยะยาวเพื่อการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรโลกให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ประเทศสมาชิกต่างรู้สึกว่ายังไม่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้า
เกษตรเท่าที่ควร โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาพยายามผลักดันให้การเจรจาให้ระบบการค้าสินค้าเกษตรมีความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยเฉพาะต่อกลุ่มประเทศเล็กๆ โดยการผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการอุดหนุนและการคุ้มครองสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาตระหนักถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า แต่ก็กังวลถึงผลกระทบ
ในเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ข้อจำกัดด้านความสามารถในการแข่งขันให้เท่าเทียมกับประเทศพัฒนาแล้ว
โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และการสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าที่ได้รับจากประเทศพัฒนาแล้ว เป็นต้น
จากการศึกษาของ ABARE พบว่า ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง
เนื่องจากได้รับประโยชน์จากความชำนาญในการผลิตและการรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีระะบบเศรษฐกิจแบบปกป้องจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้ากว่ามาก แต่การบิดเบือนทางการค้า
สินค้าเกษตรที่เกิดขึ้นในตลาดโลก ก็เกิดการใช้จากมาตรการปกป้องของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้มากที่สุด
ประโยชน์โดยรวมจากการปฎิรูปการค้าเกษตร (ignificant global gains from reform)
จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร (ตารางที่ 1) โดยลดการอุดหนุนลงร้อยละ 40
ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และการค้าเกษตรโดยรวมของโลกเพิ่มสูงขึ้น 53 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในปี คศ.2010
โดยเปรียบเทียบมูลค่าผลประโยชน์ที่ประเทศพัฒนาแล้วได้รับ จำนวน 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์คิด
เป็นมูลค่าประมาณ 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางที่ 1
Impact of 50 percent agricultural liberalisation on gross domestic product and terms of trade, 2010
Change relative to the reference case
Real gross domestic product Terms of trade
US$m % %
Africa 479 0.08 -0.2
Argentina 312 0.08 2.69
Australia 189 0.04 1.74
Brazil 1,447 0.16 0.6
Canada 66 0.01 0.3
China 2,570 0.18 -0.27
European Union (15) 28,310 0.25 0.01
India 894 0.19 -0.17
Indonesia 64 0.03 0.06
Japan 8,980 0.14 -0.47
Malaysia 467 0.35 -0.15
New Zealand 264 0.32 3.41
Change relative to the reference case
Real gross domestic product Terms of trade
US$m % %
Philippines 208 0.24 -0.4
Thailand 505 0.23 0.35
United States 1,830 0.02 0.4
Rest of Latin America 329 0.03 0.1
Rest of World 6,360 0.15 -0.32
Total 53,249 0.14 -
Source : GTEM simulations.
ทั้งนี้ จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลง (dynamic gain) เพื่อสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและระบบการจัดการจะได้รับประโยชน์มากกว่าการเปิดเสรี
ทางการค้าโดยตรง อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ประเทศพัฒนาแล้วให้การอุดหนุนในระดับสูง ได้แก่ ปศุสัตว์ พืชเขตร้อน พืชน้ำมัน อ้อย
ผัก และผลไม้ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงอุตสาหกรรมการแปรรูปจากสินค้าเหล่านั้น
การเปิดเสรีจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของแต่ละประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเทศส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดมากขึ้น แต่อาจมีประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรบางราย ประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรภาย
ในประเทศสูงกว่าราคานำเข้า ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการค้าลดลง (Term of trade) อย่างไรก็ตาม การเจรจาเปิดเสรี ภายใต้ WTO
จะครอบคลุมสาขาต่างๆ เป็นโอกาสในการขยายการค้าไปยังสาขาอื่นๆ ต่อไป
ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรีภาคอุตสาหกรรม (Global gains much larger if manufacturing is also liberalised)
จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากเปิดเสรีทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของการเปิดเสรีสินค้าเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว และพบว่าประเทศต่างๆ แทบทุกภูมิภาค
ของโลกจะมีสัดส่วนการเติบโตของ GDP เพิ่มสูงขึ้น (ตารางที่ 2) คิดเป็นมูลค่า 94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 เมื่อเปรียบ
เทียบกับการเปิดเสรีเฉพาะภาคเกษตรที่มีมูลค่า 53 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งผลประโยชน์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะตกกับประเทศกำลังพัฒนาประมาณ
3 ใน 4 หรือ ร้อยละ 75 เนื่องจาก ประเทศที่มีการปกป้องอุตสาหกรรมสูงจะมีอัตราการเติบโตของ Real GDP เพิ่มสูงขึ้นจากการเปิด
เสรีในลักษณะ Comprehensive ประเทศเหล่านี้จะได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศที่มีการพัฒนาเบื้องต้น (Primarily development)
ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน ละตินอเมริกา และแอฟริกา
หากนำผลจากการเปิดเสรีทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม (Comprehensive) มาวิเคราะห์พบว่า ผลประโยชน์โดยรวมคิด
เป็นมูลค่า 147 พันล้านเหรียญในปี 2010 ซึ่งครึ่งหนึ่งตกกับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากก่อนหน้าที่จะมีการเปิดเสรี ระดับการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยีต่ำกว่า ส่งผลให้มีการปรับปรุงความสามารถและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน
ตารางที่ 2
Comparison of the impact 50 per cent agricultural liberalisation and
Comprehensive liberalisation, 2010, relative to the reference case
Change in
Annual increase in real GDP Terms of trade
Agricultural Comprehensive Comprehensive
US$m US$m %
Africa 479 2,059 -0.99
Argentina 312 450 2.59
Australia 189 381 1.38
Brazil 1,447 3,910 -0.44
Canada 66 324 0.1
China 2,570 15,840 -0.12
European Union (15) 28,310 32,210 0.07
India 894 3,570 -1.68
Indonesia 64 701 0.31
Japan 8,980 11,800 0.43
Malaysia 467 992 -0.82
New Zealand 264 294 3.63
Philippines 208 1,245 -1.59
Thailand 505 1,122 0.02
United States 1,830 3,300 0.22
Rest of Latin America 329 1,492 -0.41
Rest of World 6,360 14,620 -0.12
Total 53,249 94,310 -
Source : GTEM simulations.
มาตรฐานแรงงานกับระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Labour standards and openness of economies)
ประเทศกำลังพัฒนามีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อมีการเปิดเสรี
ก็จะขยายผลไปสู่การขยายการผลิตเพื่อการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริง (Real wage)
เพิ่มสูงขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานแรงงาน ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วมักจะนำมาตรฐานแรงงานไปเชื่อมโยงกับประเด็นทางการค้า
ในการตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า หากประเทศพัฒนาแล้วใช้มาตรการแทรกแซงทางการค้า โดยการเพิ่มอัตราภาษี
สินค้านำเข้าทุกรายการจากประเทศกำลังพัฒนาในอัตราร้อยละ 10 จะส่งผลให้ GDP โดยรวมของโลกลดลง 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010
และไม่เฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศจะยิ่งได้รับผลกระทบในทางลบ ได้แก่ สหรัฐฯ และ
ออสเตรเลีย
ผลกระทบจากการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (Impact of preferential access arrangments)
ประเทศพัฒนาแล้วจะให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศกำลังพัฒนา สำหรับสินค้าสำคัญบางรายการ ได้แก่ น้ำตาล กล้วย
เนื้อสัตว์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของอีกหลายประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
ในอดีต การให้สิทธพิเศษดังกล่าว เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการค้าของประเทศพัฒนาแล้วต่อประเทศในอาณานิคม ซึ่งจะไม่ก่อ
ให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต โดยเฉพาะต่อสาขาที่ได้รับสิทธิพิเศษ และไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว
น้ำตาลเป็นสินค้าที่ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษทางการค้า และก่อให้เกิดการบิดเบือนด้านราคาในตลาดโลกจากการที่สหภาพยุโรป
ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศ แอฟริกัน — แคริเบียน แปซิฟิค (ACP) และอินเดีย และสหรัฐฯ ใช้มาตรการโควตาภาษีในการควบคุม
การนำเข้า
จากการวิเคราะห์พบว่า หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาลในประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
และแคนาดา (รวมทั้งเม็กซิโกและจีน) โดยที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ยกเลิกการใช้มาตรการดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิง
เศรษฐกิจต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญเป็นอย่างมาก คิดเป็นมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเฉพาะการเปิดเสรี
สินค้าน้ำตาล) ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า
การให้ความช่วยเหลือทางการค้าที่มีประสิทธิภาพ (More efficient ways of providing aid)
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือทางการค้า (aid-through-trade) ซึ่งประเทศเล็กๆ
หลายประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาการให้สิทธิพิเศษทางการค้าโดยเฉพาะสินค้าน้ำตาลจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งจะสูญเสียสิทธิพิเศษดังกล่าว
ทันที หากมีการเปิดเสรี
อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือทางการค้าของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปในรูปแบบอื่น อาจทำให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ
ประโยชน์มากกว่าการให้สิทธิพิเศษเป็นรายสินค้า อาทิเช่น หากมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาล สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปจะได้ประโยชน์
ในเชิงเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 และประเทศเล็กๆ ที่สูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้า คิดเป็นมูลค่าประมาณ
0.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์ในรูปแบบอื่นชดเชยกับสิทธิพิเศษทางการค้าที่เสียไป มีมูลค่ามากกว่าเดิมในแง่เศรษฐกิจ และส่ง
ผลให้สามารถพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ความแตกต่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
(Important differences between developing and developed countries)
ผลกระทบจากการเปิดเสรีระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะการปรับตัวด้านต้นทุนการผลิต
(adjustment costs) อันเป็นผลมาจากการเปิดเสรีการค้าเกษตรดังนี้
1. ผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ มีพื้นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างแคบจึงมีข้อจำกัดในเรื่องการปรับตัว
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
2. ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีมาตรการมารองรับหรือการบรรเทาผลกระทบระยะสั้น ในเรื่องการปรับตัวเมื่อมีการเปิดเสรีการค้า
สินค้าเกษตร
ประเด็นพิจารณาของประเทศกำลังพัฒนา
(Some critical issues for developing countries)
ประเทศกำลังพัฒนา เป็นกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายในด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติทางการเกษตร
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และระดับรายได้ ดังนั้น ในการเปิดเสรีสินค้าเกษตรจะส่งผลกระทบที่แตกต่างกัน
ระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เคยได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า
อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาพยายามผลักดันให้มีการดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกันในหลายเรื่อง โดยครอบคลุมเรื่องที่สำคัญ
คือ ความมั่นคงด้านอาหาร การจัดสรรรายได้ของภาครัฐ การพัฒนาศักยภาพทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม แต่ความพยายามในการ
ดำเนินการดังกล่าว มักประสบความขัดแย้งในบางประเด็นที่สำคัญ คือ เรื่องการเก็บภาษีส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อจุดประสงค์ด้านรายได้
จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นต้น
สำหรับประเทศที่การผลิตและการบริโภคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะมีอิทธิพลต่อราคาตลาดโลก นโยบายที่ดีที่สุดในการจัดสรรทรัพยากร
ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือนโยบายการค้าเสรี ซึ่งภาครัฐควรเข้ามาแทรกแซงเมื่อกลไกของตลาดไม่มีประสิทธิภาพ การเปิดเสรีทางการค้าแม้
จะมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญที่บ่งชี้ประสิทธิภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา นโยบายการค้าเสรีจะทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพหากมีการผสมผสานระหว่างนโยบายทางสังคมและนโยบายด้านเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งของสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมามี
ส่วนสนับสนุนในการดำเนินการ
ในการนี้ เพื่อให้ผลจากการเปิดเสรีทางการค้ามีประสิทธิภาพ ควรให้ความสำคัญในการส่งสัญญาณทางการตลาด (market signal)
ที่จะต้องมีความโปร่งใสและชัดเจนไปยังผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกทางการค้า
รวมทั้งเพิ่มศักยภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร การให้สินเชื่อทางการตลาด การให้ความคุ้มครอง
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เพื่อให้มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมพร้อมต่อการตอบสนองต่อการส่งสัญญานทางการตลาดที่จำเป็น
ในการดำเนินนโยบายการค้าเสรี
บทวิเคราะห์
1. การดำเนินนโยบายการค้าเสรี จะนำไปสู่ความเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการได้รับความ
ก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี นำไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ก็อาจมีผลกระทบ
สำคัญที่จะเกิดกับประเทศกำลังพัฒนา คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวและพัฒนาต่อไป
2. จากการศึกษา พบว่า ผลประโยชน์โดยรวมของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น หากมีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร โดยลดการอุดหนุน
ทุกประเทศจะมีอัตราการเติบโตทาง GDP เพิ่มสูงขึ้น และหากมีการเปิดเสรีในลักษณะ Comprehensive (เปิดตลาดทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม) ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนหนึ่งมาจากการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
3. จากการศึกษา พบว่า ตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย ไม่ได้มีผลกระทบมากนักต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทย
เนื่องจาก 1) ไทยยังมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ในการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ 2) สินค้าเกษตรที่ไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
ยังคงใช้มาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี และ 3) ข้อผูกพันในการเปิดตลาดยังคงมีปริมาณน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตและการบริโภคภายในประเทศ
4. หากเปรียบเทียบการดำเนินนโยบายการเกษตร ของกลุ่มประเทศอาเซียน จะเห็นว่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย
และฟิลิปปินส์ ยังมีนโยบายปกป้องการค้าสินค้าเกษตรสูงกว่าไทย โดยเฉพาะการใช้มาตรการควบคุมการนำเข้า โดยมีสินค้าสำคัญ
คือ ข้าว ข้าวโพด
5. ผลกระทบสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนา คือ เมื่อมีการเปิดเสรีการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจะหมดไป
หากพิจารณาผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยรวมจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับ จะมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับ
สิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้านั้นๆ แล้ว ยังทำให้ศักยภาพการแข่งขันลดลง
6. ประเทศไทย ในฐานะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและสมาชิกกลุ่มเครนส์ ในการเจรจาการค้าเกษตรรอบใหม่ ภายใต้ WTO
จะต้องพยายามผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้มากที่สุด โดยการลดการให้การอุดหนุนการส่งออก ซึ่งเป็นการบิดเบือนทางการค้าอย่างมาก
หากสามารถผลักดันให้ลดการอุดหนุนลงได้มากที่สุดก็จะทำให้ไทย รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-