นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2542 ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงเป็นประวัติการณ์ โดยตั้งแต่มกราคมจนถึง 28 ธันวาคม 2542 สามารถส่งอออกได้รวม 6.61 ล้านตัน มูลค่า 71,240 ล้านบาท(1,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และคาดว่าการส่งออกข้าวถึงสิ้นปีนี้รวมถึงการส่งออกข้าวไปประเทศชายแดน จะส่งออกได้ไม่น้อยกว่า 6.7 ล้านตันมูลค่าประมาณ 72,000 ล้านบาท (1,905 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทำลายสถิติส่งออกที่เคยสูงสุดในปี 2541 ซึ่งส่งออก 6.4 ล้านตันมูลค่า 85,369 ล้านบาท (2,065 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นปริมาณส่งออกเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5 แต่มูลค่าส่งออกเป็นเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16 และ 8 ตามลำดับ โดยชนิดข้าวส่งออกเป็นข้าวหอมมะลิประมาณ 1.3 ล้านตัน ซึ่งเมื่อรวมปริมาณส่งออกแยกตามคุณภาพข้าวจะประกอบด้วย ข้าวคุณภาพดี (ข้าวหอม ข้าวขาว 100% และ 5% ) ประมาณร้อยละ 42 ข้าวคุณภาพปานกลาง (ข้าว 10% - 15%) ร้อยละ 7 และข้าวคุณภาพต่ำ (ข้าวขาว 25 — ปลายข้าวขาวและข้าวนึ่ง) ร้อยละ 51 โดยตลาดส่งออกสำคัญใน 10 ลำดับแรก (ช่วง มค.-พย. 42) ได้แก่
1. อินโดนีเซีย 0.90 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 15 ของการส่งออกทั้งหมด)
2. อิหร่าน 0.61 ล้านตัน (10.3%)
3. ไนจีเรีย 0.59 ล้านตัน (10.0%)
4. เซเนกัล 0.31 ล้านตัน (5.2%)
5. แอฟริกาใต้ 0.30 ล้านตัน (5.0%)
6. มาเลเซีย 0.29 ล้านตัน (4.9%)
7. สิงคโปร์ 0.26 ล้านตัน (4.4%)
8. ฮ่องกง 0.23 ล้านตัน (3.9%)
9. สหรัฐ 0.22 ล้านตัน (3.7%)
10. โตโก 0.22 ล้านตัน (3.7%)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะการส่งออกข้าวและแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยว่า ในเดือนธันวาคม 2542 คาดว่าสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 7.7 แสนตัน ซึ่งสูงกว่าสถิติการส่งออกรายเดือนสูงสุดเท่าที่เคยมีมา และปริมาณการส่งออกคาดว่าจะยังคงสูงต่อเนื่องถึงต้นปี 2543 จากการที่หลายประเทศซึ่งชะลอการนำเข้าได้หันมานำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา เนื่องจากข้าวฤดูใหม่กำลังสู่ตลาดมากขึ้นและราคาข้าวไทยจูงใจกว่าแหล่งส่งออกข้าวอื่น ๆ และเมื่อวันที่ 28-29 ธันวาคม 2542 รัฐบาลอิหร่านได้จัดส่งคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาทำสัญญาตกลงซื้อขายข้าวรัฐบาลต่อรัฐบาลเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 แสนตัน นอกเหนือจากการนำเข้าโดยปกติจากภาคเอกชนอยู่แล้ว ประกอบกับยังมีสัญญาข้าวที่ต้องส่งมอบอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง การส่งออกในช่วงเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2543 คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่า 4.5—5 แสนตัน/เดือน ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้จะยังอยู่ในเกณฑ์สูงและมีเสถียรภาพ
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-
1. อินโดนีเซีย 0.90 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 15 ของการส่งออกทั้งหมด)
2. อิหร่าน 0.61 ล้านตัน (10.3%)
3. ไนจีเรีย 0.59 ล้านตัน (10.0%)
4. เซเนกัล 0.31 ล้านตัน (5.2%)
5. แอฟริกาใต้ 0.30 ล้านตัน (5.0%)
6. มาเลเซีย 0.29 ล้านตัน (4.9%)
7. สิงคโปร์ 0.26 ล้านตัน (4.4%)
8. ฮ่องกง 0.23 ล้านตัน (3.9%)
9. สหรัฐ 0.22 ล้านตัน (3.7%)
10. โตโก 0.22 ล้านตัน (3.7%)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะการส่งออกข้าวและแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยว่า ในเดือนธันวาคม 2542 คาดว่าสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 7.7 แสนตัน ซึ่งสูงกว่าสถิติการส่งออกรายเดือนสูงสุดเท่าที่เคยมีมา และปริมาณการส่งออกคาดว่าจะยังคงสูงต่อเนื่องถึงต้นปี 2543 จากการที่หลายประเทศซึ่งชะลอการนำเข้าได้หันมานำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา เนื่องจากข้าวฤดูใหม่กำลังสู่ตลาดมากขึ้นและราคาข้าวไทยจูงใจกว่าแหล่งส่งออกข้าวอื่น ๆ และเมื่อวันที่ 28-29 ธันวาคม 2542 รัฐบาลอิหร่านได้จัดส่งคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาทำสัญญาตกลงซื้อขายข้าวรัฐบาลต่อรัฐบาลเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 แสนตัน นอกเหนือจากการนำเข้าโดยปกติจากภาคเอกชนอยู่แล้ว ประกอบกับยังมีสัญญาข้าวที่ต้องส่งมอบอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง การส่งออกในช่วงเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2543 คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่า 4.5—5 แสนตัน/เดือน ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้จะยังอยู่ในเกณฑ์สูงและมีเสถียรภาพ
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-