กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
จากการที่น้ำมันมีราคาสูงตลอดปี 2543 และคาดว่าจะต่อเนื่องจนถึงปี 2544 ไม่ได้ทำให้ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางร่ำรวยขึ้นเท่านั้น ประเทศที่ผลิตน้ำมันในแอฟริกาก็ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันนี้ด้วย โดยในปี 2543 ประเทศในทวีปแอฟริกามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่มีอัตราการขยายตัวเพียง 2.2 และคาดว่าในปี 2544 การขยายตัวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.4
แอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศนี้ค่อนข้างจะเปราะบาง โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวในปี 2543 จะอยู่ในอัตราร้อยละ 3.0 และจะขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2544 ในอัตราร้อยละ 4.0 เนื่องจากรัฐบาลได้ปฏิรูปภาคการเงินให้เข้มแข็งขึ้น ประกอบกับความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ส่วนเงินแรนด์ (rand) เริ่มอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความไม่สงบในซิมบับเว (Zimbabwe) แต่ผลผลิตของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้สามารถที่จะต้านทานอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ นอกจากนี้การเสื่อมค่าของเงินแรนด์ (rand) ยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รวมทั้งอุทกภัยและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะส่งผลต่อราคาสินค้าทั้งสิ้น ดังนั้นในระยะยาวรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การพัฒนาฝีมือแรงงานให้สามารถรองรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะมีส่วนเพิ่มผลผลิตของประเทศ ที่จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 5.0 ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาการว่างงานลงได้
แอลจีเรีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันและได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี 2533 ได้ขยายตัวอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มจากร้อยละ 3.3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 4.3 ในปี 2543 และยังคงขยายตัวในระดับที่น่าพอใจถึงร้อยละ 4.2 ในปี 2544 แต่อัตราการว่างงานก็มิได้ลดลงเพราะภาคการผลิตอื่นๆ ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร รัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะพัฒนาภาคการผลิตอื่นๆ ให้เข้มแข็งด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแปรรูปสาธารณูปโภคที่เป็นของรัฐ ปรับโครงสร้างภาคการธนาคารให้เข้มแข็งขึ้น ปฏิรูปที่ดินและลดการเข้าแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ
ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว คือ ทำให้อัตราการขยายตัวในปี 2543 สูงถึงร้อยละ 3.5 โดยเพิ่มจากปี 2542 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 และคาดว่าในปี 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 3.6 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการปราบปรามคอรัปชั่น ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมีนโยบายที่จะใช้จ่ายเงินรายได้ที่ได้มากขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในการเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจนของประชาชนด้วยการพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะรุนแรงถ้าน้ำมันมีราคาต่ำลง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นในแคเมอรูน กานา โมซัมบิก แทนซาเนีย และยูกานดา ซึ่งเป็นผลมาจากประเทศเหล่านี้ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สำหรับโมซัมบิกซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย แต่รัฐบาลได้วางแผนการบูรณะอย่างดี ประกอบกับได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในขณะที่แทนซาเนียและยูกานดา การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาลทำให้สามารถลดผลกระทบจากสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ฝ้ายและกาแฟ ที่มีราคาที่ต่ำลงได้ ส่วนแคเมอรูน และประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาที่ใช้เงินฟรังก์ของฝรั่งเศสได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินฟรังก์ซึ่งอิงอยู่กับค่าเงินยูโร
สำหรับการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศในทวีปแอฟริกา มูลค่าการค้ารวมของไทยกับกลุ่มประเทศแอฟริกาใน 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้ารวม 1,962.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่มีมูลค่าการค้ารวมกับไทยสูงสุด ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัลและกานา เป็นต้น โดยมีมูลค่า 634.6, 238.2, 138.9, 100.0 และ 68.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
การส่งออก ไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศในกลุ่มทวีปแอฟริกาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มูลค่า 1,206.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่ไทยส่งออกไปมากที่สุดได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัล และเบนิน เป็นต้น โดยมีมูลค่า 345.0, 209.8, 127.5, 97.4 และ 55.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญเช่น ข้าว ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
การนำเข้า ไทยนำสินค้าเข้าจากประเทศในกลุ่มทวีปแอฟริกาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มูลค่า 756.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คองโก แซมเบีย ซิมบับเว มาลีและโมร็อกโก เป็นต้น โดยมีมูลค่า 289.6, 52.5, 50.5, 41.0 และ 38.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ น้ำมันดิบ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก เป็นต้น
ดุลการค้า ไทยเกินดุลการค้ากับกลุ่มประเทศแอฟริกามาโดยตลอด ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยเกินดุลจำนวน 449.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่ไทยได้ดุลมากที่สุด คือ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัล สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และเบนิน ตามลำดับ เป็นต้น โดยได้ดุลมูลค่า 181.3, 116.2, 94.8, 55.4 และ 44.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และประเทศที่ไทยขาดดุลมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้แก่ แซมเบีย คองโก มาลี ซิมบับเว และโมร็อกโก เป็นต้น โดยมีมูลค่าที่ขาดดุล 47.7, 43.1, 37.8, 36.0 และ 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
ถึงแม้ประเทศในทวีปแอฟริกายังคงประสบปัญหาทางธรรมชาติทั้งอุทกภัยและความแห้งแล้ง แต่ภาพเศรษฐกิจโดยรวมของแอฟริกาในปี 2544 ขยายตัวดีขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าอำนาจซื้อของประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันคงจะมีมากขึ้น แต่การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10.7 ภาคเอกชนไทยควรจะฉกฉวยโอกาสที่จะขยายตลาดแอฟริกาก่อนที่ประเทศคู่แข่งจะเข้าสู่ตลาดดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการกระจายตลาดส่งออกของไทยไปยังตลาดใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
จากการที่น้ำมันมีราคาสูงตลอดปี 2543 และคาดว่าจะต่อเนื่องจนถึงปี 2544 ไม่ได้ทำให้ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางร่ำรวยขึ้นเท่านั้น ประเทศที่ผลิตน้ำมันในแอฟริกาก็ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันนี้ด้วย โดยในปี 2543 ประเทศในทวีปแอฟริกามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่มีอัตราการขยายตัวเพียง 2.2 และคาดว่าในปี 2544 การขยายตัวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.4
แอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศนี้ค่อนข้างจะเปราะบาง โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวในปี 2543 จะอยู่ในอัตราร้อยละ 3.0 และจะขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2544 ในอัตราร้อยละ 4.0 เนื่องจากรัฐบาลได้ปฏิรูปภาคการเงินให้เข้มแข็งขึ้น ประกอบกับความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ส่วนเงินแรนด์ (rand) เริ่มอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความไม่สงบในซิมบับเว (Zimbabwe) แต่ผลผลิตของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้สามารถที่จะต้านทานอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ นอกจากนี้การเสื่อมค่าของเงินแรนด์ (rand) ยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รวมทั้งอุทกภัยและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะส่งผลต่อราคาสินค้าทั้งสิ้น ดังนั้นในระยะยาวรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การพัฒนาฝีมือแรงงานให้สามารถรองรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะมีส่วนเพิ่มผลผลิตของประเทศ ที่จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 5.0 ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาการว่างงานลงได้
แอลจีเรีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันและได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี 2533 ได้ขยายตัวอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มจากร้อยละ 3.3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 4.3 ในปี 2543 และยังคงขยายตัวในระดับที่น่าพอใจถึงร้อยละ 4.2 ในปี 2544 แต่อัตราการว่างงานก็มิได้ลดลงเพราะภาคการผลิตอื่นๆ ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร รัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะพัฒนาภาคการผลิตอื่นๆ ให้เข้มแข็งด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแปรรูปสาธารณูปโภคที่เป็นของรัฐ ปรับโครงสร้างภาคการธนาคารให้เข้มแข็งขึ้น ปฏิรูปที่ดินและลดการเข้าแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ
ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว คือ ทำให้อัตราการขยายตัวในปี 2543 สูงถึงร้อยละ 3.5 โดยเพิ่มจากปี 2542 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 และคาดว่าในปี 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 3.6 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการปราบปรามคอรัปชั่น ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมีนโยบายที่จะใช้จ่ายเงินรายได้ที่ได้มากขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในการเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจนของประชาชนด้วยการพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะรุนแรงถ้าน้ำมันมีราคาต่ำลง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นในแคเมอรูน กานา โมซัมบิก แทนซาเนีย และยูกานดา ซึ่งเป็นผลมาจากประเทศเหล่านี้ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สำหรับโมซัมบิกซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย แต่รัฐบาลได้วางแผนการบูรณะอย่างดี ประกอบกับได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในขณะที่แทนซาเนียและยูกานดา การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาลทำให้สามารถลดผลกระทบจากสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ฝ้ายและกาแฟ ที่มีราคาที่ต่ำลงได้ ส่วนแคเมอรูน และประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาที่ใช้เงินฟรังก์ของฝรั่งเศสได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินฟรังก์ซึ่งอิงอยู่กับค่าเงินยูโร
สำหรับการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศในทวีปแอฟริกา มูลค่าการค้ารวมของไทยกับกลุ่มประเทศแอฟริกาใน 11 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้ารวม 1,962.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่มีมูลค่าการค้ารวมกับไทยสูงสุด ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัลและกานา เป็นต้น โดยมีมูลค่า 634.6, 238.2, 138.9, 100.0 และ 68.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
การส่งออก ไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศในกลุ่มทวีปแอฟริกาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มูลค่า 1,206.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่ไทยส่งออกไปมากที่สุดได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัล และเบนิน เป็นต้น โดยมีมูลค่า 345.0, 209.8, 127.5, 97.4 และ 55.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญเช่น ข้าว ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
การนำเข้า ไทยนำสินค้าเข้าจากประเทศในกลุ่มทวีปแอฟริกาในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 มูลค่า 756.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คองโก แซมเบีย ซิมบับเว มาลีและโมร็อกโก เป็นต้น โดยมีมูลค่า 289.6, 52.5, 50.5, 41.0 และ 38.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ น้ำมันดิบ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก เป็นต้น
ดุลการค้า ไทยเกินดุลการค้ากับกลุ่มประเทศแอฟริกามาโดยตลอด ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยเกินดุลจำนวน 449.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่ไทยได้ดุลมากที่สุด คือ ไนจีเรีย อียิปต์ เซเนกัล สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และเบนิน ตามลำดับ เป็นต้น โดยได้ดุลมูลค่า 181.3, 116.2, 94.8, 55.4 และ 44.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และประเทศที่ไทยขาดดุลมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้แก่ แซมเบีย คองโก มาลี ซิมบับเว และโมร็อกโก เป็นต้น โดยมีมูลค่าที่ขาดดุล 47.7, 43.1, 37.8, 36.0 และ 28.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
ถึงแม้ประเทศในทวีปแอฟริกายังคงประสบปัญหาทางธรรมชาติทั้งอุทกภัยและความแห้งแล้ง แต่ภาพเศรษฐกิจโดยรวมของแอฟริกาในปี 2544 ขยายตัวดีขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าอำนาจซื้อของประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตน้ำมันคงจะมีมากขึ้น แต่การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10.7 ภาคเอกชนไทยควรจะฉกฉวยโอกาสที่จะขยายตลาดแอฟริกาก่อนที่ประเทศคู่แข่งจะเข้าสู่ตลาดดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการกระจายตลาดส่งออกของไทยไปยังตลาดใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-