ข่าวในประเทศ
1. การสร้างเสถียรภาพให้แก่ค่าเงินบาทคือการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงถึงระดับ 43 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ว่า เป็นไปตามปัจจัยของภูมิภาค การสร้างเสถียรภาพที่ดีที่สุดให้แก่ค่าเงินบาท คือ สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง จากการติดตามสถานการณ์ในตลาดเงินยังไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ โดย ธปท.พยายามพัฒนาเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ให้สามารถติดตามภาวะการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ สำหรับนโยบายดอกเบี้ยต่ำในขณะนี้ถือว่าเหมาะสมแล้ว หากใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขณะที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง อัตราการใช้กำลังการผลิตยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อาจทำให้นักลงทุนต่างประเทศคาดหมายว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มเกิดปัญหา (วัฏจักร 12)
2. วุฒิสมาชิกเห็นว่า ธปท.ได้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องสถาบันการเงินอย่างถูกต้อง ประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา กล่าวภายหลังเข้าพบผู้ว่าการ ธปท.เมื่อ 11 ต.ค.43 ว่า ได้มารับฟังบรรยายสรุปภาพรวมการเงิน การคลังของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหา ธ.นครหลวงไทย ซึ่งได้รับคำอธิบายว่า ได้ดำเนินการเกือบเรียบร้อยแล้ว ส่วนของพนักงานสถาบันการเงินที่มีประมาณ 4,800 คน นั้นต้องใช้ความรอบคอบในการแก้ไขเพื่อมิให้เกิดผลกระทบ นอกจากนั้น ยังเห็นว่าที่ผ่านมา ธปท.แก้ไขปัญหาสถาบันการเงินมาด้วยดีอย่างต่อเนื่อง และผู้บริหาร ธปท.มีความเข้มแข็ง (กรุงเทพธุรกิจ 12)
3. ก.คลังศึกษาผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม นายชาญชัย มุสิกนิศากร ในฐานะโฆษก ก.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังได้ศึกษาผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเน้นที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน พบว่าการลดลงร้อยละ 1 ทำให้เงินหายไปจากมือประชาชนเป็นจำนวน 41,000 ล.บาท โดยเงินในส่วนนี้จะไปลดต้นทุนแก่ ธพ. แต่จะทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 4,000 ล.บาท หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณร้อยละ 1 จะไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากนัก และ ธพ.สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ซึ่ง ธพ.ควรปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สำหรับความกังวลที่ว่าภาวะเศรษฐกิจมีปัญหาหลายด้านและอาจนำไปสู่วิกฤติรอบที่ 2 นั้น ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ข้อมูลทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดี ทั้งด้านการผลิต, การลงทุน, การบริโภค, การส่งออก, ดุลการค้า, ดุลการชำระเงิน, สถานการณ์ของสถาบันการเงินและบริษัทจดทะเบียน การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ-การคลัง แม้อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน แต่เกิดจากปัจจัยด้านจิตวิทยาเท่านั้น (มติชน 12)
4. ผลการจัดเก็บภาษีของ ก.คลัง รมว.คลังเปิดเผยว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 43 ก.คลังสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนของกรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรสามิต ได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,694 ล.บาท โดยจัดเก็บได้จำนวน 717,494 ล.บาท จากประมาณการใหม่จำนวน 714,800 ล.บาท โดยในส่วนของกรมสรรพากรสามารถจัดเก็บได้รวม 461,420 ล.บาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 6,420 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.41 (กรุงเทพธุรกิจ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดสินค้าคงคลัง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 326.35 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจเตรียมพร้อมรองรับกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนต่อไป ขณะเดียวกัน ยอดขายสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อยู่ที่มูลค่า 250.10 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ค. 43 สำหรับอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขาย ในเดือน ส.ค. 43 อยู่ที่ระดับ 1.3 เดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 11)
2. ยอดการเกินดุลการค้าของเยอรมนีลดลงในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดเกินดุลการค้า ลดลงอยู่ที่มูลค่า 4 พัน ล. มาร์ก จากที่เกินดุลมูลค่า 10.3 พัน ล. มาร์ก และ 5.9 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ค. 43 และ ส.ค. 42 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและค่าเงินยูโรอ่อนลง ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น และผลักดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 43 ขาดดุลเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 12.1 พัน ล. มาร์ก จากที่ขาดดุลมูลค่า 6.5 พัน ล. มาร์ก และ 8.9 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ค. 43 และ ส.ค. 42 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า ในเดือน ส.ค. 43 ยอดเกินดุลการค้า จะมีมูลค่า 8.9 พัน ล. มาร์ก และยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะอยู่ที่มูลค่า 6.7 พัน ล. มาร์ก สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงอยู่ที่มูลค่า 72.0 พัน ล. มาร์ก จากที่เกินดุลมูลค่า 80.9 พัน ล. มาร์ก และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 34.3 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 20.7 พัน ล. มาร์กในระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 11)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และร้อยละ 5.7 ในเดือน ก.ค. 43 ตามลำดับ และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบต่อเดือนและเทียบต่อปีตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเยอรมนียังคงขยายตัว แต่เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ผลผลิตฯที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และผลผลิตของอุตสาหกรรมก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 Hans-Juergen Meltzer จาก Deutsche Bank Research กล่าวว่า จากรายงานดังกล่าวคาดว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 (รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11ต.ค. 43 43.073 (42.764)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 ต.ค. 43
ซื้อ 42.8612 (42.5024) ขาย 43.1688 (42.8113)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (30.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การสร้างเสถียรภาพให้แก่ค่าเงินบาทคือการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงถึงระดับ 43 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ว่า เป็นไปตามปัจจัยของภูมิภาค การสร้างเสถียรภาพที่ดีที่สุดให้แก่ค่าเงินบาท คือ สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง จากการติดตามสถานการณ์ในตลาดเงินยังไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ โดย ธปท.พยายามพัฒนาเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ให้สามารถติดตามภาวะการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ สำหรับนโยบายดอกเบี้ยต่ำในขณะนี้ถือว่าเหมาะสมแล้ว หากใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขณะที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง อัตราการใช้กำลังการผลิตยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อาจทำให้นักลงทุนต่างประเทศคาดหมายว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มเกิดปัญหา (วัฏจักร 12)
2. วุฒิสมาชิกเห็นว่า ธปท.ได้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องสถาบันการเงินอย่างถูกต้อง ประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา กล่าวภายหลังเข้าพบผู้ว่าการ ธปท.เมื่อ 11 ต.ค.43 ว่า ได้มารับฟังบรรยายสรุปภาพรวมการเงิน การคลังของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหา ธ.นครหลวงไทย ซึ่งได้รับคำอธิบายว่า ได้ดำเนินการเกือบเรียบร้อยแล้ว ส่วนของพนักงานสถาบันการเงินที่มีประมาณ 4,800 คน นั้นต้องใช้ความรอบคอบในการแก้ไขเพื่อมิให้เกิดผลกระทบ นอกจากนั้น ยังเห็นว่าที่ผ่านมา ธปท.แก้ไขปัญหาสถาบันการเงินมาด้วยดีอย่างต่อเนื่อง และผู้บริหาร ธปท.มีความเข้มแข็ง (กรุงเทพธุรกิจ 12)
3. ก.คลังศึกษาผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม นายชาญชัย มุสิกนิศากร ในฐานะโฆษก ก.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังได้ศึกษาผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเน้นที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน พบว่าการลดลงร้อยละ 1 ทำให้เงินหายไปจากมือประชาชนเป็นจำนวน 41,000 ล.บาท โดยเงินในส่วนนี้จะไปลดต้นทุนแก่ ธพ. แต่จะทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 4,000 ล.บาท หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณร้อยละ 1 จะไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากนัก และ ธพ.สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ซึ่ง ธพ.ควรปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สำหรับความกังวลที่ว่าภาวะเศรษฐกิจมีปัญหาหลายด้านและอาจนำไปสู่วิกฤติรอบที่ 2 นั้น ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ข้อมูลทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดี ทั้งด้านการผลิต, การลงทุน, การบริโภค, การส่งออก, ดุลการค้า, ดุลการชำระเงิน, สถานการณ์ของสถาบันการเงินและบริษัทจดทะเบียน การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ-การคลัง แม้อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน แต่เกิดจากปัจจัยด้านจิตวิทยาเท่านั้น (มติชน 12)
4. ผลการจัดเก็บภาษีของ ก.คลัง รมว.คลังเปิดเผยว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 43 ก.คลังสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนของกรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรสามิต ได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,694 ล.บาท โดยจัดเก็บได้จำนวน 717,494 ล.บาท จากประมาณการใหม่จำนวน 714,800 ล.บาท โดยในส่วนของกรมสรรพากรสามารถจัดเก็บได้รวม 461,420 ล.บาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 6,420 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.41 (กรุงเทพธุรกิจ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดสินค้าคงคลัง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 326.35 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจเตรียมพร้อมรองรับกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนต่อไป ขณะเดียวกัน ยอดขายสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อยู่ที่มูลค่า 250.10 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ค. 43 สำหรับอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขาย ในเดือน ส.ค. 43 อยู่ที่ระดับ 1.3 เดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 11)
2. ยอดการเกินดุลการค้าของเยอรมนีลดลงในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดเกินดุลการค้า ลดลงอยู่ที่มูลค่า 4 พัน ล. มาร์ก จากที่เกินดุลมูลค่า 10.3 พัน ล. มาร์ก และ 5.9 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ค. 43 และ ส.ค. 42 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นและค่าเงินยูโรอ่อนลง ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น และผลักดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค. 43 ขาดดุลเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 12.1 พัน ล. มาร์ก จากที่ขาดดุลมูลค่า 6.5 พัน ล. มาร์ก และ 8.9 พัน ล. มาร์ก ในเดือน ก.ค. 43 และ ส.ค. 42 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า ในเดือน ส.ค. 43 ยอดเกินดุลการค้า จะมีมูลค่า 8.9 พัน ล. มาร์ก และยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะอยู่ที่มูลค่า 6.7 พัน ล. มาร์ก สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงอยู่ที่มูลค่า 72.0 พัน ล. มาร์ก จากที่เกินดุลมูลค่า 80.9 พัน ล. มาร์ก และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 34.3 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 20.7 พัน ล. มาร์กในระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 11)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 43 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และร้อยละ 5.7 ในเดือน ก.ค. 43 ตามลำดับ และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบต่อเดือนและเทียบต่อปีตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเยอรมนียังคงขยายตัว แต่เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ผลผลิตฯที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และผลผลิตของอุตสาหกรรมก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 Hans-Juergen Meltzer จาก Deutsche Bank Research กล่าวว่า จากรายงานดังกล่าวคาดว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 (รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11ต.ค. 43 43.073 (42.764)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 ต.ค. 43
ซื้อ 42.8612 (42.5024) ขาย 43.1688 (42.8113)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (30.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-