กรุงเทพฯ--13 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2544) เวลา 16.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญอู ลา หม่อง เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยเข้าพบเพื่อยื่นบันทึกช่วยจำ สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 17.00 น. ทหารพม่าจำนวน 500 คน ได้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทยที่บริเวณบ้านปางหนุน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และได้เข้าควบคุมฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963
2. เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 ฝ่ายไทยได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างสันติ โดยผ่านผู้ช่วยทูตทหารไทยที่กรุงย่างกุ้ง และผู้ช่วยทูตทหารพม่าที่กรุงเทพฯ และได้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่าส่วนท้องถิ่น หรือ TBC ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งผลการประชุมได้ข้อยุติว่า ทหารพม่าจะถอนกำลังออกจากฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963 ภายในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 อย่างไรก็ตาม ทหารพม่ามิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง
3. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 05.45 น. ฝ่ายไทยจึงได้ส่งกำลังเข้ายึดฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963 และสามารถผลักดันกองกำลังทหารพม่าออกจากพื้นที่ประเทศไทย รวมทั้งบริเวณสำนักสงฆ์กูเต็งนาโยง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งทหารพม่าได้เข้ามายึดครองตั้งแต่ธันวาคม 2543
4. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่าง 12.00-14.00 น. ทหารพม่าได้ยิงกระสุนปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิดเข้ามาตกในดินแดนไทยในหลายพื้นที่ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย คือ วัดถ้ำผาจม วัดเวียงพาน บ้านป่าเหมือด หลังโรงพยาบาลแม่สาย และหลังวัดพระธาตุดอยวาว เป็นผลให้ราษฎรไทยเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 8 คน และทหารไทยได้รับบาดเจ็บอีก 9 คน อีกทั้งบ้านเรือนหลายหลังและรถยนต์อีก 1 คัน ได้รับความเสียหาย
ในการนี้ รัฐบาลไทยถือว่า การกระทำดังกล่าวของทหารพม่าเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่า และรัฐบาลไทยขอเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าดำเนินการดังต่อไปนี้
- ยุติการดำเนินการที่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และยับยั้งการกระทำใดๆ ที่เป็นการยั่วยุในอนาคต
- ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ราษฎรไทยที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ตลอดจน ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของราษฎรไทย
- เรียกร้องให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-พม่า (Regional Border Committee : RBC) ครั้งที่ 18 โดยเร็ว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาชายแดนให้ลุล่วงไปด้วยดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2544) เวลา 16.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญอู ลา หม่อง เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยเข้าพบเพื่อยื่นบันทึกช่วยจำ สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 17.00 น. ทหารพม่าจำนวน 500 คน ได้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทยที่บริเวณบ้านปางหนุน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และได้เข้าควบคุมฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963
2. เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 ฝ่ายไทยได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างสันติ โดยผ่านผู้ช่วยทูตทหารไทยที่กรุงย่างกุ้ง และผู้ช่วยทูตทหารพม่าที่กรุงเทพฯ และได้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่าส่วนท้องถิ่น หรือ TBC ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งผลการประชุมได้ข้อยุติว่า ทหารพม่าจะถอนกำลังออกจากฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963 ภายในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 อย่างไรก็ตาม ทหารพม่ามิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง
3. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 05.45 น. ฝ่ายไทยจึงได้ส่งกำลังเข้ายึดฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 963 และสามารถผลักดันกองกำลังทหารพม่าออกจากพื้นที่ประเทศไทย รวมทั้งบริเวณสำนักสงฆ์กูเต็งนาโยง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งทหารพม่าได้เข้ามายึดครองตั้งแต่ธันวาคม 2543
4. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่าง 12.00-14.00 น. ทหารพม่าได้ยิงกระสุนปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิดเข้ามาตกในดินแดนไทยในหลายพื้นที่ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย คือ วัดถ้ำผาจม วัดเวียงพาน บ้านป่าเหมือด หลังโรงพยาบาลแม่สาย และหลังวัดพระธาตุดอยวาว เป็นผลให้ราษฎรไทยเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 8 คน และทหารไทยได้รับบาดเจ็บอีก 9 คน อีกทั้งบ้านเรือนหลายหลังและรถยนต์อีก 1 คัน ได้รับความเสียหาย
ในการนี้ รัฐบาลไทยถือว่า การกระทำดังกล่าวของทหารพม่าเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่า และรัฐบาลไทยขอเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าดำเนินการดังต่อไปนี้
- ยุติการดำเนินการที่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และยับยั้งการกระทำใดๆ ที่เป็นการยั่วยุในอนาคต
- ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ราษฎรไทยที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ตลอดจน ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของราษฎรไทย
- เรียกร้องให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-พม่า (Regional Border Committee : RBC) ครั้งที่ 18 โดยเร็ว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาชายแดนให้ลุล่วงไปด้วยดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-