ข่าวในประเทศ
1. ค่าเงินบาทอ่อนลงตามค่าเงินในภูมิภาค ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนลงในช่วงนี้ว่า เป็นไปตามปัจจัยภูมิภาค ซึ่งเกือบทั้งหมดอ่อนตัวลง โดยเฉพาะเงินยูโร แต่ปัจจัยหลัก คือ ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ได้แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไม่หดตัวรุนแรง และมีอัตราการเติบโตที่มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยเน้นให้เกิดเสถียรภาพเป็นหลักมากกว่ารักษาระดับราคา ขณะเดียวกันจากการที่ไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการและมีทุนสำรองทางการระดับหนึ่ง ดังนั้น ธปท.ยังสามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแทรกแซงหรือไม่ในระยะเวลาและสถานการณ์ต่างๆ แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในขณะนี้ถือว่ายอมรับได้ (ไทยโพสต์,ไทยรัฐ 15)
2. ธปท.ต้องการให้ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงในที่ประชุมสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ 13 ก.ย.43 ว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (สเปรด) ของ ธพ. ยังอยู่ในระดับสูง ดังนั้นการคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยสเปรดของ ธพ.ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 อาจอยู่ที่ร้อยละ 1.28 แต่ก็พร้อมจะเพิ่มเป็นร้อยละ 1.6-1.7 ในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ เมื่อมีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร ประมาณ 700,000 ล.บาท ไปไว้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่จัดตั้งแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ 15)
3. ธปท.ยกเลิกการกำหนดเป้าหมายสินเชื่อของ ธพ. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนลงวันที่ 12 ก.ย.43 กำหนดให้ ธพ.ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 เป็นต้นไป แต่ยังต้องส่งตัวเลขการปล่อยสินเชื่อจริงมาให้ ธปท.ติดตามดูแลยอดการปล่อยสินเชื่อไปยังภาคเศรษฐกิจจริง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มิใช่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่มีการเก็งกำไร ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศไม่ดี สินเชื่อของ ธพ.หลายแห่งต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการตัดหนี้สูญและฐานะลูกค้า ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ธปท.ทำได้เพียงดูแลมิให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ใหม่เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการปล่อยสินเชื่อของ ธพ. ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้น 28,000 ล.บาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 20,000 ล.บาท จากเดือน มิ.ย.43 ขณะที่การไหลออกของเงินทุนยังมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ (วัฏจักร 15)
4. ยอดการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ว่า มีมูลค่ารวม 44,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นร้อยละ 20 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยเฉพาะเดือน ส.ค. สามารถส่งออกได้มากกว่า 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้มั่นใจว่าแนวโน้มการส่งออกตลอดปี 43 จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 14-15 เพราะมั่นใจว่าในช่วงเวลาที่เหลืออีก 4 เดือน จะสามารถรักษาระดับการส่งออกในแต่ละเดือนได้ไม่ต่ำกว่า 5,600-6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับในช่วงนี้เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลดีต่อการกำหนดราคาส่งออก ช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น (เดลินิวส์ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)โดยรวมลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 เนื่องจากราคาพลังงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ราคาอาหารลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 0.7 จากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 และถ้าหากไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน PPI ที่เป็นแกนในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์เคยคาดไว้ว่า ทั้ง PPI โดยรวม และ PPI ที่เป็นแกนในเดือน ส.ค. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นกัน จากรายงานครั้งนี้ น่าจะยิ่งย้ำว่า ธ. กลางจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 3 ต.ค. 43 (รอยเตอร์ 14)
2. การขายปลีกโดยรวมของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายปลีกโดยรวม ที่ปรับตัวเลขฤดูกาล เ พิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 แต่หากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือน ส.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งในเดือน ส.ค.นี้ การขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือน ก.ค.43 อย่างไรก็ตาม การขายปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ. จับตามองตัวเลขการขายปลีกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกังวลว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจะสร้างความกดดันเรื่องเงินเฟ้อ ดังนั้น การที่การขายปลีกโดยรวมในเดือน ส.ค.43 เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ. กลางมีแนวโน้มจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าในวันที่ 3 ต.ค.43 (รอยเตอร์ 14)
3. บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 บริษัทวิจัยสินเชื่อ Teikoku Databank เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 อยู่ที่จำนวน 1,704 บริษัท นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และสูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ขณะเดียวกัน ยอดหนี้สินของบริษัทฯ ในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 อยู่ที่มูลค่า 1.38 ล้านล้านเยน ( 12.88 พัน ล. เยน) ทั้งนี้ การที่บริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธพ. เข้มงวดมากขึ้นในการให้สินเชื่อแก่บริษัทที่มีปัญหา ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและการปรับโครงสร้างภาคการเงินที่กำลังเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14ก.ย. 43 41.773 (41.615)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 14 ก.ย.43
ซื้อ 41.6111 (41.4171) ขาย 41.9038 (41.7222)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.63 (30.11)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ค่าเงินบาทอ่อนลงตามค่าเงินในภูมิภาค ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนลงในช่วงนี้ว่า เป็นไปตามปัจจัยภูมิภาค ซึ่งเกือบทั้งหมดอ่อนตัวลง โดยเฉพาะเงินยูโร แต่ปัจจัยหลัก คือ ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ได้แข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไม่หดตัวรุนแรง และมีอัตราการเติบโตที่มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยเน้นให้เกิดเสถียรภาพเป็นหลักมากกว่ารักษาระดับราคา ขณะเดียวกันจากการที่ไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการและมีทุนสำรองทางการระดับหนึ่ง ดังนั้น ธปท.ยังสามารถสงวนสิทธิ์ที่จะแทรกแซงหรือไม่ในระยะเวลาและสถานการณ์ต่างๆ แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในขณะนี้ถือว่ายอมรับได้ (ไทยโพสต์,ไทยรัฐ 15)
2. ธปท.ต้องการให้ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงในที่ประชุมสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ 13 ก.ย.43 ว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (สเปรด) ของ ธพ. ยังอยู่ในระดับสูง ดังนั้นการคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยสเปรดของ ธพ.ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 อาจอยู่ที่ร้อยละ 1.28 แต่ก็พร้อมจะเพิ่มเป็นร้อยละ 1.6-1.7 ในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ เมื่อมีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร ประมาณ 700,000 ล.บาท ไปไว้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่จัดตั้งแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ 15)
3. ธปท.ยกเลิกการกำหนดเป้าหมายสินเชื่อของ ธพ. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนลงวันที่ 12 ก.ย.43 กำหนดให้ ธพ.ยกเลิกการจัดทำเป้าหมายให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 เป็นต้นไป แต่ยังต้องส่งตัวเลขการปล่อยสินเชื่อจริงมาให้ ธปท.ติดตามดูแลยอดการปล่อยสินเชื่อไปยังภาคเศรษฐกิจจริง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มิใช่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่มีการเก็งกำไร ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศไม่ดี สินเชื่อของ ธพ.หลายแห่งต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการตัดหนี้สูญและฐานะลูกค้า ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ธปท.ทำได้เพียงดูแลมิให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ใหม่เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการปล่อยสินเชื่อของ ธพ. ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้น 28,000 ล.บาท เงินฝากเพิ่มขึ้น 20,000 ล.บาท จากเดือน มิ.ย.43 ขณะที่การไหลออกของเงินทุนยังมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ (วัฏจักร 15)
4. ยอดการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ว่า มีมูลค่ารวม 44,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นร้อยละ 20 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยเฉพาะเดือน ส.ค. สามารถส่งออกได้มากกว่า 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้มั่นใจว่าแนวโน้มการส่งออกตลอดปี 43 จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 14-15 เพราะมั่นใจว่าในช่วงเวลาที่เหลืออีก 4 เดือน จะสามารถรักษาระดับการส่งออกในแต่ละเดือนได้ไม่ต่ำกว่า 5,600-6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับในช่วงนี้เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลดีต่อการกำหนดราคาส่งออก ช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น (เดลินิวส์ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)โดยรวมลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 เนื่องจากราคาพลังงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ราคาอาหารลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 0.7 จากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 และถ้าหากไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน PPI ที่เป็นแกนในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์เคยคาดไว้ว่า ทั้ง PPI โดยรวม และ PPI ที่เป็นแกนในเดือน ส.ค. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นกัน จากรายงานครั้งนี้ น่าจะยิ่งย้ำว่า ธ. กลางจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 3 ต.ค. 43 (รอยเตอร์ 14)
2. การขายปลีกโดยรวมของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายปลีกโดยรวม ที่ปรับตัวเลขฤดูกาล เ พิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 แต่หากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือน ส.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งในเดือน ส.ค.นี้ การขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือน ก.ค.43 อย่างไรก็ตาม การขายปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ธ.กลาง สรอ. จับตามองตัวเลขการขายปลีกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกังวลว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจะสร้างความกดดันเรื่องเงินเฟ้อ ดังนั้น การที่การขายปลีกโดยรวมในเดือน ส.ค.43 เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ. กลางมีแนวโน้มจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าในวันที่ 3 ต.ค.43 (รอยเตอร์ 14)
3. บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 43 บริษัทวิจัยสินเชื่อ Teikoku Databank เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 อยู่ที่จำนวน 1,704 บริษัท นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และสูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ขณะเดียวกัน ยอดหนี้สินของบริษัทฯ ในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 อยู่ที่มูลค่า 1.38 ล้านล้านเยน ( 12.88 พัน ล. เยน) ทั้งนี้ การที่บริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ธพ. เข้มงวดมากขึ้นในการให้สินเชื่อแก่บริษัทที่มีปัญหา ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและการปรับโครงสร้างภาคการเงินที่กำลังเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14ก.ย. 43 41.773 (41.615)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 14 ก.ย.43
ซื้อ 41.6111 (41.4171) ขาย 41.9038 (41.7222)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.63 (30.11)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-