บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ไม่สามารถพิจารณาให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ภายใน
กำหนดเวลา ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๙๕ เนื่องจาก
ร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน
๗ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย
คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วน
ของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขและ
กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายชัย ชิดชอบ และนายศักดิ์ชัย จินตะเวช เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายชัย ชิดชอบ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติธนาคารสหกรณ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ และนายธีรโชต กองทอง เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช
บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติ
อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอ ได้แถลงหลักการ
และเหตุผลตามลำดับ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่หนึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้
ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา
ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพรชัย อัศววัฒนาพร ๒. นางธารทิพย์ จงจักรพันธ์
๓. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ๔. นางสาวอรวรรณ คุณเงิน
๕ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๖. นายเจริญ จรรย์โกมล
๗. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๘. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ
๙. นายไพศาล จันทรภักดี ๑๐. นายชาญชัย ปทุมารักษ์
๑๑. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๒. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๑๓. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ๑๔. นายสัญชัย วงษ์สุนทร
๑๕. นายสากล ม่วงศิริ ๑๖. นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์
๑๗. นายชูชัย มุ่งเจริญพร ๑๘. นายบุญถึง ผลพานิชย์
๑๙. นายสฤต สันติเมทนีดล ๒๐. นายสุทิน คลังแสง
๒๑. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๒๒. นายวรวุฒิ ทวาทศิน
๒๓. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๔. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๕. นายเจือ ราชสีห์ ๒๖. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๒๗. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๘. นายนคร มาฉิม
๒๙. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๐. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๑. นายประจักษ์ พุทธิสมบัติ ๓๒. นายประชุม ทองมี
๓๓. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ๓๔. นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
๓๕. นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบ
วาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม (ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการ
พิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง ๒. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์
๓. นายเสถียร รัตนโชติ ๔. นายทวีเกียรติ สิทธิเวช
๕. นางสาวสิริพันธ์ พลรบ ๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๗. นายทองหล่อ พลโคตร ๘. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
๙. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ๑๐. นายถวิล ฤกษ์หร่าย
๑๑. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ๑๒. นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
๑๓. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๑๔. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๑๕. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๑๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๑๗. นายอำพล วิโรจน์เวชภัณฑ์ ๑๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๑๙. นายกริช กงเพชร ๒๐. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๒๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๒. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๓. นายชุมพล กาญจนะ ๒๔. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล
๒๗. นายสุวรรณ กู้สุจริต ๒๘. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์
๒๙. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร ๓๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๑. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๓๒. ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม
๓๓. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๓๔. นางอารีรัตน์ เลาหพล
๓๕. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลท่าม่วง
ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน
ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม
ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายสันติ สมบูรณ์วิบูลย์ ๒. นายบัณฑูร ชื่นกุล
๓. นางรัชฎา จันทร์ทร ๔. นางดุษฎี หันตรา
๕. นายเขมวัฒน์ นิปัจการ ๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๗. นายทองดี มนิสสาร ๘. นายนิพนธ์ คนขยัน
๙. นายกิตติ สมทรัพย์ ๑๐. นายประทวน เขียวฤทธิ์
๑๑. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๔. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๑๕. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๖. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๑๗. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ๑๘. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๙. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ๒๐. นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
๒๑. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๒. นายประชา โพธิพิพิธ
๒๓. นายเรวัต สิรินุกุล ๒๔. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
๒๕. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ๒๖. นายเกษม ปานอุดมลักษณ์
๒๗. นายยงยุทธ สุวภาพ ๒๘. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๒๙. นางอรดี สุทธศรี ๓๐. นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ
๓๑. พลตรี ศรชัย มนตริวัต ๓๒. นายแก้ว บัวสุวรรณ
๓๓. นางกอบกุล นพอมรบดี ๓๔. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร
๓๕. นายเอกภาพ พลซื่อ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา ตามลำดับ
คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ใน
ระเบียบวาระที่ ๕.๑)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ไปพิจารณาก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน
ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ใน
ระเบียบวาระที่ ๕.๒)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการ
โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติอนุมัติ
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๒๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลท่าม่วง ตำบลทุ่งทอง
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน
ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ….
**************************
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ไม่สามารถพิจารณาให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ภายใน
กำหนดเวลา ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๙๕ เนื่องจาก
ร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน
๗ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย
คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วน
ของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขและ
กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายชัย ชิดชอบ และนายศักดิ์ชัย จินตะเวช เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง นายชัย ชิดชอบ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติธนาคารสหกรณ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ และนายธีรโชต กองทอง เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช
บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติ
อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอ ได้แถลงหลักการ
และเหตุผลตามลำดับ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่หนึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้
ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา
ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพรชัย อัศววัฒนาพร ๒. นางธารทิพย์ จงจักรพันธ์
๓. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ๔. นางสาวอรวรรณ คุณเงิน
๕ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๖. นายเจริญ จรรย์โกมล
๗. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ ๘. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ
๙. นายไพศาล จันทรภักดี ๑๐. นายชาญชัย ปทุมารักษ์
๑๑. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๒. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๑๓. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ๑๔. นายสัญชัย วงษ์สุนทร
๑๕. นายสากล ม่วงศิริ ๑๖. นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์
๑๗. นายชูชัย มุ่งเจริญพร ๑๘. นายบุญถึง ผลพานิชย์
๑๙. นายสฤต สันติเมทนีดล ๒๐. นายสุทิน คลังแสง
๒๑. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๒๒. นายวรวุฒิ ทวาทศิน
๒๓. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๔. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๕. นายเจือ ราชสีห์ ๒๖. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๒๗. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๘. นายนคร มาฉิม
๒๙. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๐. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๑. นายประจักษ์ พุทธิสมบัติ ๓๒. นายประชุม ทองมี
๓๓. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ๓๔. นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
๓๕. นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบ
วาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม (ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่าง
พระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการ
พิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง ๒. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์
๓. นายเสถียร รัตนโชติ ๔. นายทวีเกียรติ สิทธิเวช
๕. นางสาวสิริพันธ์ พลรบ ๖. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๗. นายทองหล่อ พลโคตร ๘. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
๙. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ๑๐. นายถวิล ฤกษ์หร่าย
๑๑. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ๑๒. นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
๑๓. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๑๔. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๑๕. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๑๖. นายประจวบ อึ๊งภากรณ์
๑๗. นายอำพล วิโรจน์เวชภัณฑ์ ๑๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๑๙. นายกริช กงเพชร ๒๐. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๒๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๒. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๓. นายชุมพล กาญจนะ ๒๔. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล
๒๗. นายสุวรรณ กู้สุจริต ๒๘. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์
๒๙. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร ๓๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๑. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๓๒. ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม
๓๓. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๓๔. นางอารีรัตน์ เลาหพล
๓๕. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลท่าม่วง
ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน
ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม
ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายสันติ สมบูรณ์วิบูลย์ ๒. นายบัณฑูร ชื่นกุล
๓. นางรัชฎา จันทร์ทร ๔. นางดุษฎี หันตรา
๕. นายเขมวัฒน์ นิปัจการ ๖. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๗. นายทองดี มนิสสาร ๘. นายนิพนธ์ คนขยัน
๙. นายกิตติ สมทรัพย์ ๑๐. นายประทวน เขียวฤทธิ์
๑๑. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๔. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๑๕. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๖. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๑๗. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ๑๘. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๙. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ๒๐. นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
๒๑. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๒. นายประชา โพธิพิพิธ
๒๓. นายเรวัต สิรินุกุล ๒๔. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
๒๕. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ๒๖. นายเกษม ปานอุดมลักษณ์
๒๗. นายยงยุทธ สุวภาพ ๒๘. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๒๙. นางอรดี สุทธศรี ๓๐. นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ
๓๑. พลตรี ศรชัย มนตริวัต ๓๒. นายแก้ว บัวสุวรรณ
๓๓. นางกอบกุล นพอมรบดี ๓๔. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร
๓๕. นายเอกภาพ พลซื่อ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา ตามลำดับ
คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ใน
ระเบียบวาระที่ ๕.๑)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ไปพิจารณาก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน
ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ใน
ระเบียบวาระที่ ๕.๒)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการ
โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติอนุมัติ
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๒๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลท่าม่วง ตำบลทุ่งทอง
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน
ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ….
**************************