กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นับตั้งแต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UN Compensation Commission-UNCC) เมื่อปี 2534 เพื่อทำหน้าที่พิจารณาการเรียกร้องเงินชดเชยฯ ค่าเสียหายจากกรณีอิรักรุกรานและยึดครองคูเวต คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ ได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ โดยนำเงินที่ได้รับจากโครงการ oil-for-food ซึ่งเป็นเงินกองทุนพิเศษจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์จากยอดการขายน้ำมันของอิรัก ขณะนี้การพิจารณาจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลไทยด้วยการดำนเนการประสานงานระหว่างกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงการต่างประเทศ โดยคณะฑูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว่า และกรมองค์การระหว่างประเทศได้ร่วมกันดำเนินการเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายฯ จากคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ จนถึงปัจจุบันเพื่อจ่ายให้ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ เป็นจำนวน 959,222,058 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้โอนเงินชดเชยเพิ่มเติมให้รัฐบาลไทยอีก 2 งวด คือเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ให้แก่มีผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวมเป็นเงิน 4,009,122.08 ดอลล่าสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับเงินชดเชยฯ ที่จ่ายให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 25,000 ดอลล่าสหรัฐ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ จะทยอยโอนเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 9,662,236 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไป และงวดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 ได้โอนเงินชดเชยค่าเสียหายฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ จำนวนรวมเป็นเงิน 1,051,523.75 ดอลล่าห์สหรัฐ
โดยที่ข้อตัดสินใจที่ 18 ตามมติของคณะมนตรีประศาสน์การ UNCC กำหนดให้รัฐบาลดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับให้เสร็จสิ้นภายใน 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินจาก UNCC และให้จัดทำรายงานผลการจ่ายเงินดังกล่าวภายใน 3 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาของการจ่ายเงิน โดยรัฐบาลจะต้องคืนเงินและจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับเงินชดเชยฯ ที่ไม่มาติดต่อขอรับเงินดังกล่าวมาตามกำหนดเวลาส่งคืนให้ UNCC ภายในเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินชดเชยฯ ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยไว้แล้ว ตรวจสอบรายชื่อได้แต่เนิ่น ๆ ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการจ่ายเงินชดเชยฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป--จบ--
-อน-
นับตั้งแต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UN Compensation Commission-UNCC) เมื่อปี 2534 เพื่อทำหน้าที่พิจารณาการเรียกร้องเงินชดเชยฯ ค่าเสียหายจากกรณีอิรักรุกรานและยึดครองคูเวต คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ ได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ โดยนำเงินที่ได้รับจากโครงการ oil-for-food ซึ่งเป็นเงินกองทุนพิเศษจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์จากยอดการขายน้ำมันของอิรัก ขณะนี้การพิจารณาจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลไทยด้วยการดำนเนการประสานงานระหว่างกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงการต่างประเทศ โดยคณะฑูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว่า และกรมองค์การระหว่างประเทศได้ร่วมกันดำเนินการเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายฯ จากคณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ จนถึงปัจจุบันเพื่อจ่ายให้ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ เป็นจำนวน 959,222,058 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้โอนเงินชดเชยเพิ่มเติมให้รัฐบาลไทยอีก 2 งวด คือเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ให้แก่มีผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ รวมเป็นเงิน 4,009,122.08 ดอลล่าสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับเงินชดเชยฯ ที่จ่ายให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 25,000 ดอลล่าสหรัฐ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายฯ จะทยอยโอนเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 9,662,236 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไป และงวดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 ได้โอนเงินชดเชยค่าเสียหายฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยฯ จำนวนรวมเป็นเงิน 1,051,523.75 ดอลล่าห์สหรัฐ
โดยที่ข้อตัดสินใจที่ 18 ตามมติของคณะมนตรีประศาสน์การ UNCC กำหนดให้รัฐบาลดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายฯ ให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับให้เสร็จสิ้นภายใน 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินจาก UNCC และให้จัดทำรายงานผลการจ่ายเงินดังกล่าวภายใน 3 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาของการจ่ายเงิน โดยรัฐบาลจะต้องคืนเงินและจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับเงินชดเชยฯ ที่ไม่มาติดต่อขอรับเงินดังกล่าวมาตามกำหนดเวลาส่งคืนให้ UNCC ภายในเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินชดเชยฯ ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยไว้แล้ว ตรวจสอบรายชื่อได้แต่เนิ่น ๆ ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการจ่ายเงินชดเชยฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป--จบ--
-อน-