ข่าวในประเทศ
1. ธปท. กำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. กำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ใน สรอ. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของ สรอ. ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวินาศกรรม รวมทั้งกำลังติดตามตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 3 เพื่อเตรียมประเมินภาวะเศรษฐกิจในช่วงต่อไป …….(ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ 3)
2. สศช. เตรียมจัดทำแนวทางการทำแผนใช้งบฉุกเฉิน 5.8 หมื่น ล.บาท โฆษกรัฐบาลแถลงว่า สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมจัดทำแนวทางการทำแผนงานและโครงการสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองหรืองบฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.8 หมื่น ล.บาท เพื่อชี้แจงให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าแผนงานส่วนใหญ่ที่ส่งมายังไม่เข้าหลักเกณฑ์ โดยแผนงานที่เข้าหลักเกณฑ์จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์คือเป็นแผนที่สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการจ้างงาน สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก หรือช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาและรวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีหลักการชัดเจน โดยจะกำหนดกรอบแผนงานในสาขาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องถึงประชาชนโดยตรง (ไทยรัฐ 3)
3. บสท.เตรียมการรับโอนหนี้จาก ธพ. กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า บสท.ได้จัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหนี้ของ ธพ.มายัง บสท. ให้ ธพ.รับทราบ และในวันที่ 12 ต.ค.44 จะมีการลงนามในสัญญาการบริหารหนี้ระหว่าง บสท.และ ธพ.ที่ตกลงเข้าร่วมโครงการ โดยจะเริ่มโอนหนี้เป็นลำดับ คือ ในวันที่ 15 ต.ค.44 โอนหนี้ของธนาคารรัฐที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 50 ล.บาทขึ้นไป ซึ่งมีลูกหนี้อยู่ประมาณ 1,700 ราย มีมูลหนี้รวมประมาณ 400,000 ล.บาท วันที่ 30 ต.ค.44 โอนหนี้ของ ธพ.เอกชนที่เป็นรายใหญ่จำนวน 300 ราย และในช่วงปลายเดือน พ.ย.44 โอนหนี้ของ ธพ.เอกชนที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 ราย ซึ่งมีประมาณ 4,000-5,000 ราย ส่วนลูกหนี้รายย่อยทั้งของธนาคารรัฐและ ธพ.เอกชนจะมีการโอนเป็นลำดับสุดท้าย สำหรับการบริหารหนี้ในกรณีที่มีเจ้าหนี้หลายรายและไม่สามารถหาแกนนำในการปล่อยกู้ได้ เจ้าหนี้สามารถร้องขอให้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่ บสท.แต่งตั้งเข้ามาช่วยได้ ซึ่งขณะนี้ บสท.อยู่ในขั้นตอนของการสรรหาบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (โลกวันนี้ 3)
4. รมช.คลังเปิดเผยยอดการเบิกจ่าย งปม. ณ สิ้นเดือน ก.ย.44 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน งปม.ปี 44 ว่าเป็นมาตรการหนึ่งของรัฐบาลในการกระตุ้นให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.44 มีการเบิกจ่าย งปม.ไปแล้ว 812,203 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 89.25 ของวงเงิน งปม.จำนวน 910,000 ล.บาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 665,074 ล.บาท หรือร้อยละ 96.28 ของวงเงิน งปม.รายจ่ายประจำจำนวน 690,789 ล.บาท และรายจ่ายลงทุน 147,129 ล.บาท หรือร้อยละ 67.12 ของวงเงิน งปม.รายจ่ายลงทุนจำนวน 219,211 ล.บาท ซึ่งอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุดในรอบ 5 ปี (แนวหน้า 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 ต.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal funds rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 0.5 ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีเคนเนดี้ และได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงในอัตราร้อยละ 0.5 เช่นกัน เหลือร้อยละ 2 การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 9 ในปี 44 และส่งผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวมีอัตราต่ำที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี นอกจากนี้ ธ. กลางพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก เพื่อขจัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังจากที่เกิดวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา (รอยเตอร์2)
2. มาเลเซียเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 2 ต.ค. 44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า มาเลเซียเกินดุลการค้าจำนวน 5.9 พัน ล. ริงกิต ในเดือน ส.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากจำนวน 4.2 พัน ล. ริงกิตในเดือน ก.ค. 44 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 43 ที่มีจำนวน 4.8 พัน ล. ริงกิต ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. 44 การนำเข้าลดลงเหลือจำนวน 22 พัน ล. ริงกิต นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลดการสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต เนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 (รอยเตอร์2)
3. มาเลเซียปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 2 ต.ค.44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของมาเลเซีย เปิดเผยว่า สถาบันฯ จะปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปี 44 เป็นขยายตัวร้อยละ 2.2 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 4.0 และต่ำกว่าการพยากรณ์ของรอยเตอร์ที่ระดับร้อยละ 3.6 โดยเฉลี่ย อนึ่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีปี 44 เป็นร้อยละ 1.0-2.0 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 5.0-6.0 (รอยเตอร์ 2)
4. ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของสิงคโปร์ลดลงในเดือน ก.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 2 ต.ค.44 Institute of Purchasing & Materials Management รายงานว่า เดือน ก.ย.44 Purching Managers' Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะการผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมอยู่ที่ระดับ 45.6 ลดลงจากระดับ 47.8 ในเดือน ส.ค.44 โดยส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ PMI โดยรวมลดลงได้แก่ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ดัชนีฯ ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.2 จากระดับ 50.1 ดัชนีการผลิตอยู่ที่ระดับ 43.3 ลดลงจากระดับ 48.7 ส่วนประกอบของดัชนีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.7 จากระดับ 49.0 หลังจากที่ดัชนีดังกล่าวหดตัวในเดือน ส.ค. สำหรับภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.2 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค.44 44.671 (44.504)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 44ซื้อ 44.4447 (44.2888) ขาย 44.7339 (44.5901)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,050 (6,050) 6,150 (6,150)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 20.04 (20.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. กำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. กำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ใน สรอ. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของ สรอ. ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวินาศกรรม รวมทั้งกำลังติดตามตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 3 เพื่อเตรียมประเมินภาวะเศรษฐกิจในช่วงต่อไป …….(ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ 3)
2. สศช. เตรียมจัดทำแนวทางการทำแผนใช้งบฉุกเฉิน 5.8 หมื่น ล.บาท โฆษกรัฐบาลแถลงว่า สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมจัดทำแนวทางการทำแผนงานและโครงการสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองหรืองบฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.8 หมื่น ล.บาท เพื่อชี้แจงให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าแผนงานส่วนใหญ่ที่ส่งมายังไม่เข้าหลักเกณฑ์ โดยแผนงานที่เข้าหลักเกณฑ์จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์คือเป็นแผนที่สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการจ้างงาน สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก หรือช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาและรวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีหลักการชัดเจน โดยจะกำหนดกรอบแผนงานในสาขาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องถึงประชาชนโดยตรง (ไทยรัฐ 3)
3. บสท.เตรียมการรับโอนหนี้จาก ธพ. กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า บสท.ได้จัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหนี้ของ ธพ.มายัง บสท. ให้ ธพ.รับทราบ และในวันที่ 12 ต.ค.44 จะมีการลงนามในสัญญาการบริหารหนี้ระหว่าง บสท.และ ธพ.ที่ตกลงเข้าร่วมโครงการ โดยจะเริ่มโอนหนี้เป็นลำดับ คือ ในวันที่ 15 ต.ค.44 โอนหนี้ของธนาคารรัฐที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 50 ล.บาทขึ้นไป ซึ่งมีลูกหนี้อยู่ประมาณ 1,700 ราย มีมูลหนี้รวมประมาณ 400,000 ล.บาท วันที่ 30 ต.ค.44 โอนหนี้ของ ธพ.เอกชนที่เป็นรายใหญ่จำนวน 300 ราย และในช่วงปลายเดือน พ.ย.44 โอนหนี้ของ ธพ.เอกชนที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 ราย ซึ่งมีประมาณ 4,000-5,000 ราย ส่วนลูกหนี้รายย่อยทั้งของธนาคารรัฐและ ธพ.เอกชนจะมีการโอนเป็นลำดับสุดท้าย สำหรับการบริหารหนี้ในกรณีที่มีเจ้าหนี้หลายรายและไม่สามารถหาแกนนำในการปล่อยกู้ได้ เจ้าหนี้สามารถร้องขอให้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่ บสท.แต่งตั้งเข้ามาช่วยได้ ซึ่งขณะนี้ บสท.อยู่ในขั้นตอนของการสรรหาบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (โลกวันนี้ 3)
4. รมช.คลังเปิดเผยยอดการเบิกจ่าย งปม. ณ สิ้นเดือน ก.ย.44 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน งปม.ปี 44 ว่าเป็นมาตรการหนึ่งของรัฐบาลในการกระตุ้นให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.44 มีการเบิกจ่าย งปม.ไปแล้ว 812,203 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 89.25 ของวงเงิน งปม.จำนวน 910,000 ล.บาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 665,074 ล.บาท หรือร้อยละ 96.28 ของวงเงิน งปม.รายจ่ายประจำจำนวน 690,789 ล.บาท และรายจ่ายลงทุน 147,129 ล.บาท หรือร้อยละ 67.12 ของวงเงิน งปม.รายจ่ายลงทุนจำนวน 219,211 ล.บาท ซึ่งอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุดในรอบ 5 ปี (แนวหน้า 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 ต.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal funds rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.5 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 0.5 ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีเคนเนดี้ และได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงในอัตราร้อยละ 0.5 เช่นกัน เหลือร้อยละ 2 การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 9 ในปี 44 และส่งผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวมีอัตราต่ำที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี นอกจากนี้ ธ. กลางพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก เพื่อขจัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังจากที่เกิดวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา (รอยเตอร์2)
2. มาเลเซียเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 2 ต.ค. 44 สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า มาเลเซียเกินดุลการค้าจำนวน 5.9 พัน ล. ริงกิต ในเดือน ส.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากจำนวน 4.2 พัน ล. ริงกิตในเดือน ก.ค. 44 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 43 ที่มีจำนวน 4.8 พัน ล. ริงกิต ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. 44 การนำเข้าลดลงเหลือจำนวน 22 พัน ล. ริงกิต นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลดการสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต เนื่องจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 (รอยเตอร์2)
3. มาเลเซียปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 2 ต.ค.44 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของมาเลเซีย เปิดเผยว่า สถาบันฯ จะปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปี 44 เป็นขยายตัวร้อยละ 2.2 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 4.0 และต่ำกว่าการพยากรณ์ของรอยเตอร์ที่ระดับร้อยละ 3.6 โดยเฉลี่ย อนึ่ง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีปี 44 เป็นร้อยละ 1.0-2.0 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 5.0-6.0 (รอยเตอร์ 2)
4. ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของสิงคโปร์ลดลงในเดือน ก.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 2 ต.ค.44 Institute of Purchasing & Materials Management รายงานว่า เดือน ก.ย.44 Purching Managers' Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะการผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมอยู่ที่ระดับ 45.6 ลดลงจากระดับ 47.8 ในเดือน ส.ค.44 โดยส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ PMI โดยรวมลดลงได้แก่ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ดัชนีฯ ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.2 จากระดับ 50.1 ดัชนีการผลิตอยู่ที่ระดับ 43.3 ลดลงจากระดับ 48.7 ส่วนประกอบของดัชนีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.7 จากระดับ 49.0 หลังจากที่ดัชนีดังกล่าวหดตัวในเดือน ส.ค. สำหรับภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.2 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค.44 44.671 (44.504)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 44ซื้อ 44.4447 (44.2888) ขาย 44.7339 (44.5901)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,050 (6,050) 6,150 (6,150)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 20.04 (20.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.69 (15.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-