กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2544 ณ อาคารวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศนั้น
ในการประชุมเช้าวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2544 ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมากล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมดังกล่าวและได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการและเป็นผู้นำการบรรยายในหัวข้อ "นโยบายหลักของรัฐบาลปัจจุบัน" โดยมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีจากกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห้นกับเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ด้วย ดังสรุปสาระสำคัญของการประชุมเชิงปฏิบัติการได้ดังนี้
1. บทบาทที่เหมาะสมของเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ในปัจจุบัน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขโดยเร่งด่วน คือ การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น บทบาทหลักที่สำคัญของเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ในปัจจุบันจึงต้องเน้นที่บทบาททางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นที่เอกอัครราชฑูตฯ จะต้องรู้เขา-รู้เรา และจะต้องคิดยุทธศาสตร์เป็น การกำหนดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจำเป็นจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กระทรวงที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องร่วมกันคิดยุทธศาสตร์และร่วมกันทำงานเป็นทีม โดยกระทรวงการต่างประเทศต้องเป็นหลักในเรื่องทีมประเทศไทยต่อไป นอกจากการร่วมกันทำงานอาจจะต้องมีการคิดเรื่องการรวมสำนักงาน เพื่อการประหยัดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. นโยบายหลักของรัฐบาล
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ประเทศไทยยังคงยึดถือระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy) ในการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลจะดำเนินการ 2 ส่วนไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
2.1 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า เพื่อแก้ปัญหาคนยากจนได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค นโยบายแก้ปัยหายาเสพติด นโยบายขยายโอกาสให้คนจนเข้าหาแหล่งเงินและแหล่ง ความรู้นโยบายสนับสนุนธุรกิจ SME
2.2 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจส่วนบน เพื่อรองรับการเปิดเสรี เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการศึกษานโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว
- ในส่วนของประเด็นเรื่องการจัดตั้งผู้แทนทางการค้า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งผู้แทนทางการค้าขึ้นมา 3 ท่าน คือ ฯพณฯ นายประจวบ ไชยศาสน์ ฯพณฯ ดร.ทนง พิริยะ และ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล โดยมอบให้ดูแลการค้าทางด้านอาเซียนและแอฟริกา กับประเทศญี่ปุ่น และกับสหรัฐอเมริกา และยุโรป ตามลำดับ
- ประเด็นเรื่องการจัดทำความตกลงทางการค้าเสรี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าในขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศ ได้ในส่วนนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวเสริมว่า แนวโน้มการค้าระหว่างประเทศต่อไปจะเป็นการค้าเสรี เพราะฉะนั้น ในการทำความตกลงการค้าเสรีไทยจะต้องดูว่าไทยมีความพร้อมเพียงไรทำแล้วได้ประโยชน์และเสียประโยชน์หรือมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศจะต้องหารือกันอย่างใกล้ชิด
- ประเด็นปัญหาความขัดแย้งกับประเทศพม่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องความไม่เข้าใจหรือหวาดระแวงระหว่างกัน ซึ่งปัญหาทุกอย่างน่าจะเรียบร้อยลงไปได้เมื่อ ฯพณฯ ได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนพม่า ซึ่งขณะนี้ กำลังรอโอกาสที่เหมาะสมอยู่
- ประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอให้เอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย โดยในปีนี้ได้ตั้งเป้าในการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวขึ้นไปอีก 5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีรายได้ 280,000 หมื่นล้านบาท
อนึ่ง ในการประชุมได้มีการเสนอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จัดคณะเดินทางไปทำ Road Show ในต่างประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เห็นความจำเป็นและพร้อมที่จะดำเนินการในโอกาสนที่เหมาะสมต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลกขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2544 ณ อาคารวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศนั้น
ในการประชุมเช้าวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2544 ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมากล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมดังกล่าวและได้เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการและเป็นผู้นำการบรรยายในหัวข้อ "นโยบายหลักของรัฐบาลปัจจุบัน" โดยมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีจากกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห้นกับเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ด้วย ดังสรุปสาระสำคัญของการประชุมเชิงปฏิบัติการได้ดังนี้
1. บทบาทที่เหมาะสมของเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ในปัจจุบัน
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขโดยเร่งด่วน คือ การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น บทบาทหลักที่สำคัญของเอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ในปัจจุบันจึงต้องเน้นที่บทบาททางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นที่เอกอัครราชฑูตฯ จะต้องรู้เขา-รู้เรา และจะต้องคิดยุทธศาสตร์เป็น การกำหนดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจำเป็นจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กระทรวงที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องร่วมกันคิดยุทธศาสตร์และร่วมกันทำงานเป็นทีม โดยกระทรวงการต่างประเทศต้องเป็นหลักในเรื่องทีมประเทศไทยต่อไป นอกจากการร่วมกันทำงานอาจจะต้องมีการคิดเรื่องการรวมสำนักงาน เพื่อการประหยัดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. นโยบายหลักของรัฐบาล
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ประเทศไทยยังคงยึดถือระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy) ในการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลจะดำเนินการ 2 ส่วนไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
2.1 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า เพื่อแก้ปัญหาคนยากจนได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค นโยบายแก้ปัยหายาเสพติด นโยบายขยายโอกาสให้คนจนเข้าหาแหล่งเงินและแหล่ง ความรู้นโยบายสนับสนุนธุรกิจ SME
2.2 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจส่วนบน เพื่อรองรับการเปิดเสรี เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการศึกษานโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว
- ในส่วนของประเด็นเรื่องการจัดตั้งผู้แทนทางการค้า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งผู้แทนทางการค้าขึ้นมา 3 ท่าน คือ ฯพณฯ นายประจวบ ไชยศาสน์ ฯพณฯ ดร.ทนง พิริยะ และ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล โดยมอบให้ดูแลการค้าทางด้านอาเซียนและแอฟริกา กับประเทศญี่ปุ่น และกับสหรัฐอเมริกา และยุโรป ตามลำดับ
- ประเด็นเรื่องการจัดทำความตกลงทางการค้าเสรี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าในขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศ ได้ในส่วนนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวเสริมว่า แนวโน้มการค้าระหว่างประเทศต่อไปจะเป็นการค้าเสรี เพราะฉะนั้น ในการทำความตกลงการค้าเสรีไทยจะต้องดูว่าไทยมีความพร้อมเพียงไรทำแล้วได้ประโยชน์และเสียประโยชน์หรือมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศจะต้องหารือกันอย่างใกล้ชิด
- ประเด็นปัญหาความขัดแย้งกับประเทศพม่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องความไม่เข้าใจหรือหวาดระแวงระหว่างกัน ซึ่งปัญหาทุกอย่างน่าจะเรียบร้อยลงไปได้เมื่อ ฯพณฯ ได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนพม่า ซึ่งขณะนี้ กำลังรอโอกาสที่เหมาะสมอยู่
- ประเด็นเรื่องการท่องเที่ยว นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอให้เอกอัครราชฑูตและกงสุลใหญ่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย โดยในปีนี้ได้ตั้งเป้าในการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวขึ้นไปอีก 5 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีรายได้ 280,000 หมื่นล้านบาท
อนึ่ง ในการประชุมได้มีการเสนอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จัดคณะเดินทางไปทำ Road Show ในต่างประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เห็นความจำเป็นและพร้อมที่จะดำเนินการในโอกาสนที่เหมาะสมต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-