นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าตามนโยบายการค้าชายแดนของรัฐบาลในปัจจุบันนี้ มีนโยบายที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้า (Gate Way) กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน โดยให้มีการพัฒนาการติดต่อทางการค้าทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการค้าชายแดน มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธาน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ(คต.)เป็นเลขานุการ และมีผู้แทนภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการ ทำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย และการพัฒนาการส่งเสริมการค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยว รวมทั้งการปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
คต.ได้ดำเนินโครงการการพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 ได้ร่วมกับหอการค้าภาคใต้ (เขต 18) จัดการสัมมนาการจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Duty Free Zone) อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ณ โรงแรม เจ.บี. หาดใหญ่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ โดยอธิบดี คต.เป็นประธานพิธีเปิดสัมมนา และได้เชิญวิทยากรและผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาจำนวนกว่า 200 คน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Duty Free Zone) ดังกล่าว ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนภาคใต้ ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา อีกทั้งยังเป็นการรองรับโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม KOTA PERDANA ที่มีการลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการส่งออกของมาเลเซีย โดยใช้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามด่านสะเดาของไทย
ผลการสัมมนา หน่วยงานภาครัฐมีความเห็นพ้องต้องกันถึงการสนับสนุนให้มีการพัฒนาการค้าชายแดนภาคใต้ และสนับสนุนให้ภาคเอกชน หอการค้าภาคใต้ ดำเนินการศึกษารายละเอียดของโครงการการจัดตั้งเขตปลอดภาษี หรือ Free Zone รูปแบบอื่นที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละจังหวัด เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาการค้าชายแดนตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
นายธรรมนูญฯ กล่าวต่อไปว่าการจัดสัมมนาการจัดตั้งเขตพื้นที่ปลอดภาษีภาคใต้ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการพัฒนาจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ให้พ่อค้านักธุรกิจทั้งสองประเทศได้ติดต่อค้าขายกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประเภทสินค้า การขนส่งสินค้า การกำหนดระยะเวลาการผ่านด่าน เข้า-ออก รวมทั้งการเจรจาแลกเปลี่ยนความเห็นกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) เพื่อการจัดระเบียบการค้าชายแดนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย เพิ่มขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย
การค้าระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย ในปี 2543 มีมูลค่าส่งออกรวม 113,412.7ล้านบาท มูลค่าส่งออกชายแดน 67,834.9 ล้านบาท เป็นสัดส่วนร้อยละ 59.8 ของมูลค่าการส่งออกออกทั้งหมด และในปี 2544 (มค.-ตค.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 92,350.1 ล้านบาท มูลค่าส่งออกชายแดน 50,098.0 ล้านบาท มีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปี 2543
อนึ่ง คต. มีความเห็นว่าการจัดสัมมนาการจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ จะเสมือนเป็นการจุดประกายโอกาสการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้นสำหรับการดำเนินโครงการต่อไปก็ต่อเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนมีความเห็นพ้องและร่วมหารือกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ เดือนธันวาคม 2544--
-อน-
คต.ได้ดำเนินโครงการการพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 ได้ร่วมกับหอการค้าภาคใต้ (เขต 18) จัดการสัมมนาการจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Duty Free Zone) อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ณ โรงแรม เจ.บี. หาดใหญ่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ โดยอธิบดี คต.เป็นประธานพิธีเปิดสัมมนา และได้เชิญวิทยากรและผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาจำนวนกว่า 200 คน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Duty Free Zone) ดังกล่าว ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดนภาคใต้ ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา อีกทั้งยังเป็นการรองรับโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม KOTA PERDANA ที่มีการลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการส่งออกของมาเลเซีย โดยใช้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามด่านสะเดาของไทย
ผลการสัมมนา หน่วยงานภาครัฐมีความเห็นพ้องต้องกันถึงการสนับสนุนให้มีการพัฒนาการค้าชายแดนภาคใต้ และสนับสนุนให้ภาคเอกชน หอการค้าภาคใต้ ดำเนินการศึกษารายละเอียดของโครงการการจัดตั้งเขตปลอดภาษี หรือ Free Zone รูปแบบอื่นที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละจังหวัด เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาการค้าชายแดนตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
นายธรรมนูญฯ กล่าวต่อไปว่าการจัดสัมมนาการจัดตั้งเขตพื้นที่ปลอดภาษีภาคใต้ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการพัฒนาจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน ให้พ่อค้านักธุรกิจทั้งสองประเทศได้ติดต่อค้าขายกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประเภทสินค้า การขนส่งสินค้า การกำหนดระยะเวลาการผ่านด่าน เข้า-ออก รวมทั้งการเจรจาแลกเปลี่ยนความเห็นกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย) เพื่อการจัดระเบียบการค้าชายแดนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย เพิ่มขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย
การค้าระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย ในปี 2543 มีมูลค่าส่งออกรวม 113,412.7ล้านบาท มูลค่าส่งออกชายแดน 67,834.9 ล้านบาท เป็นสัดส่วนร้อยละ 59.8 ของมูลค่าการส่งออกออกทั้งหมด และในปี 2544 (มค.-ตค.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 92,350.1 ล้านบาท มูลค่าส่งออกชายแดน 50,098.0 ล้านบาท มีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปี 2543
อนึ่ง คต. มีความเห็นว่าการจัดสัมมนาการจัดระเบียบการค้าชายแดนภาคใต้ จะเสมือนเป็นการจุดประกายโอกาสการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้นสำหรับการดำเนินโครงการต่อไปก็ต่อเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนมีความเห็นพ้องและร่วมหารือกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าชายแดนให้เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ เดือนธันวาคม 2544--
-อน-