ภาวะสินค้าเกษตรเดือนกรกฎาคม
การผลิตพืชผล เดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเขียว และผลไม้ เนื่องจากเป็น ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นแรกของปี 2543/44 เช่นเดียวกับที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันฤดูใหม่ และผลไม้ของทางภาคใต้ออกสู่ตลาด ราคาพืชผลในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3 ราคาพืชผลที่ลดลงมาก ได้แก่ ข้าวโพด (-18.8%) มันสำปะหลัง (-11.4%) และ ผลไม้ (-39.6%) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำลดลงต่อเนื่อง จากเดือนก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วงครึ่งแรกของปีลดลงร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการทำประมงเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง เนื่องจากราคา กุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง ทั้งนี้สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยคาดว่าในปี 2543 จะมีผลผลิตกุ้งกุลาดำประมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 13.0 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 อยู่ที่ 49,732 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75.2 ของความจุรวม จากอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และ การทำประมง ได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (21 กรกฎาคม 2543) มีพื้นที่ การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 1,630,511 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ส่วนปศุสัตว์เสียหายรวม 286,733 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ด และโค และบ่อปลา เสียหายรวม 7,934 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ ในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลาอาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์ จังหวัด ที่ได้รับความเสียหายรวม 17 จังหวัด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคตะวันออก 2 จังหวัด) รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.4 ซึ่งเป็นผลจากราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ในเดือนนี้ลดลง (-13.3%) ขณะที่ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตพืชผล เดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเขียว และผลไม้ เนื่องจากเป็น ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นแรกของปี 2543/44 เช่นเดียวกับที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันฤดูใหม่ และผลไม้ของทางภาคใต้ออกสู่ตลาด ราคาพืชผลในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.3 ราคาพืชผลที่ลดลงมาก ได้แก่ ข้าวโพด (-18.8%) มันสำปะหลัง (-11.4%) และ ผลไม้ (-39.6%) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำลดลงต่อเนื่อง จากเดือนก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วงครึ่งแรกของปีลดลงร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการทำประมงเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง เนื่องจากราคา กุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง ทั้งนี้สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยคาดว่าในปี 2543 จะมีผลผลิตกุ้งกุลาดำประมาณ 260,000 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 13.0 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 อยู่ที่ 49,732 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75.2 ของความจุรวม จากอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และ การทำประมง ได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (21 กรกฎาคม 2543) มีพื้นที่ การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 1,630,511 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ส่วนปศุสัตว์เสียหายรวม 286,733 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ด และโค และบ่อปลา เสียหายรวม 7,934 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ ในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลาอาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์ จังหวัด ที่ได้รับความเสียหายรวม 17 จังหวัด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ภาคเหนือ 4 จังหวัด และภาคตะวันออก 2 จังหวัด) รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.4 ซึ่งเป็นผลจากราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ในเดือนนี้ลดลง (-13.3%) ขณะที่ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-