แท็ก
กรมประมง
1. สถานการณ์การผลิต เรือมุกมณีประสบความสำเร็จออกจับปลาทูน่าครั้งล่าสุดได้ 570 ตัน
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าว ภายหลังเป็นประธานต้อนรับเรือประมงอวนล้อมจับปลาทูน่า "เรือมุกมณี" ของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด ที่บริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ว่า หลังจากที่เรือมุกมณีได้ออกไปจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้เป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งหมด 9 เที่ยวนั้น การออกไปจับปลาครั้ง ล่าสุดประสบความสำเร็จมาก สามารถจับปลาทูน่าได้สูงกว่าทุกครั้งถึง 570 ตัน ทั้งนี้เพราะได้ไต๋เรือที่เป็นชาวญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องอวนล้อมจับปลาทูน่ามาประจำที่เรือ มุกมณี
อย่างไรก็ตาม แม้เรือมุกมณีจะประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น แต่น่าเสียดายที่ไทยมีเรืออวนล้อมจับปลาทูน่าเพียงลำเดียว ยังไม่สามารถที่จะจัดตั้งเป็นกองเรือทูน่าได้ ทำให้การออกไปจับปลาทูน่าในแต่ละครั้งต้องประสบปัญหามากมาย ทั้งไม่มีเรือช่วยในขณะอุปกรณ์เกิดความเสียหายและทำให้เสียเวลาในการหาแหล่งปลาทูน่า ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกไปทำประมงอวนล้อมจับทูน่าในมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น กรมประมงจึงมีโครงการที่จะจัดตั้งกองเรือทูน่าขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 28 มิย.-4 กค. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,438.79 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 641.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 797.39 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.85 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.54 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.94 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.86 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ความคืบหน้าการดำเนินงานของตลาดกลางกุ้งนครศรีธรรมราช
นายยุทธนา อรรถพร ประธานชมรมผู้ค้ากุ้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำ จังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานว่า ตั้งแต่เปิดซื้อขายกุ้ง อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ 22 เมย.2543 เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน นั้น ช่วงเริ่มต้นมีกุ้งเข้าประมูลจำหน่ายวันละ 20-25 ตัน หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 35-40 ตัน/วัน ช่วงเดือนที่ 2 มีกุ้งเข้าประมาณ 45-55 ตัน/วัน โดยเริ่มแรกมีโบรกเกอร์ (แพต่าง ๆ) จำนวน 7 ราย ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นเป็น 9 ราย ส่วนผู้ซื้อหรือห้องเย็น เริ่มต้นมี 22 ราย ปัจจุบันมี 32 รายที่มาจากหลาย ๆ พื้นที่ เช่น มหาชัย หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร (90% เป็นห้องเย็นมาจากภาคใต้)
ตลาดกลางกุ้งกุลาดำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตลาดกลางกุ้งกุลาดำ แห่งที่ 2 เป็นตลาดกลางดำเนินการโดยองค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนโดยกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัด นครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ลดลงค่าใช้จ่ายและเวลาในการขนส่งกุ้งไปขาย ทำให้กุ้งไม่บอบช้ำ คุณภาพดี และประมูลได้ราคาสูง ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.36 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 362.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 318.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 44.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 400.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 426.25 บาท ของสัปดาห์ 26.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.03 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.37 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 35.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.13 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 10-14 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 10-16 ก.ค. 2543--
-สส-
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าว ภายหลังเป็นประธานต้อนรับเรือประมงอวนล้อมจับปลาทูน่า "เรือมุกมณี" ของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด ที่บริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต ว่า หลังจากที่เรือมุกมณีได้ออกไปจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้เป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งหมด 9 เที่ยวนั้น การออกไปจับปลาครั้ง ล่าสุดประสบความสำเร็จมาก สามารถจับปลาทูน่าได้สูงกว่าทุกครั้งถึง 570 ตัน ทั้งนี้เพราะได้ไต๋เรือที่เป็นชาวญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องอวนล้อมจับปลาทูน่ามาประจำที่เรือ มุกมณี
อย่างไรก็ตาม แม้เรือมุกมณีจะประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น แต่น่าเสียดายที่ไทยมีเรืออวนล้อมจับปลาทูน่าเพียงลำเดียว ยังไม่สามารถที่จะจัดตั้งเป็นกองเรือทูน่าได้ ทำให้การออกไปจับปลาทูน่าในแต่ละครั้งต้องประสบปัญหามากมาย ทั้งไม่มีเรือช่วยในขณะอุปกรณ์เกิดความเสียหายและทำให้เสียเวลาในการหาแหล่งปลาทูน่า ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกไปทำประมงอวนล้อมจับทูน่าในมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น กรมประมงจึงมีโครงการที่จะจัดตั้งกองเรือทูน่าขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 28 มิย.-4 กค. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,438.79 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 641.40 ตัน สัตว์น้ำจืด 797.39 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.85 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.54 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 58.94 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.86 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ความคืบหน้าการดำเนินงานของตลาดกลางกุ้งนครศรีธรรมราช
นายยุทธนา อรรถพร ประธานชมรมผู้ค้ากุ้งตลาดกลางกุ้งกุลาดำ จังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานว่า ตั้งแต่เปิดซื้อขายกุ้ง อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ 22 เมย.2543 เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน นั้น ช่วงเริ่มต้นมีกุ้งเข้าประมูลจำหน่ายวันละ 20-25 ตัน หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 35-40 ตัน/วัน ช่วงเดือนที่ 2 มีกุ้งเข้าประมาณ 45-55 ตัน/วัน โดยเริ่มแรกมีโบรกเกอร์ (แพต่าง ๆ) จำนวน 7 ราย ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นเป็น 9 ราย ส่วนผู้ซื้อหรือห้องเย็น เริ่มต้นมี 22 ราย ปัจจุบันมี 32 รายที่มาจากหลาย ๆ พื้นที่ เช่น มหาชัย หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร (90% เป็นห้องเย็นมาจากภาคใต้)
ตลาดกลางกุ้งกุลาดำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตลาดกลางกุ้งกุลาดำ แห่งที่ 2 เป็นตลาดกลางดำเนินการโดยองค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนโดยกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัด นครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ลดลงค่าใช้จ่ายและเวลาในการขนส่งกุ้งไปขาย ทำให้กุ้งไม่บอบช้ำ คุณภาพดี และประมูลได้ราคาสูง ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.36 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 362.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 318.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 44.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 400.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 426.25 บาท ของสัปดาห์ 26.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.03 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.37 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 35.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.13 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 10-14 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 10-16 ก.ค. 2543--
-สส-