กรุงเทพฯ--19 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2543 ระหว่างเวลา 9.00 - 11.30 น. ณ ห้อง Dusit Thani Hall โรงแรมดุสิตธานี ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Senior Officials Meeting : ASEAN+3 SOM) ที่ Dusit Thani Hall โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Foreign Ministers Meeting) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประจำปี สมัยที่ 33
2. สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ผู้นำทั้ง 13 ประเทศ (สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กับ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ได้รับรองแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) ซึ่งนับเป็นเอกสารฉบับแรกที่ออกในนาม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้มีการระบุสาขาของความร่วมมือที่อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐ เกาหลีประสงค์จะร่วมกันพัฒนา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และวิชาการ ด้านสังคมและสารสนเทศ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การเมืองและความมั่นคง และด้านประเด็นข้ามชาติ ที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ยังได้มีมติให้จัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อทบทวน ความคืบหน้าของการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมฯ และรายงานผลให้ผู้นำอาเซียน+3 ซึ่งจะพบกันที่สิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ทราบ
3. สำหรับการประชุม ASEAN+3 SOM ครั้งนี้ จะได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานของความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 ที่เชียงใหม่ เมื่อ 6 พฤษภาคม 2543 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน+3 ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ 2 พฤษภาคม 2543 การประชุมของกลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก(East Asia Vision Group - EAVG) ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อ 20-21 เมษายน 2543 พิจารณาแนวทางในการประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ยังไม่มีกลไก ประสานงาน และพิจารณาร่างระเบียบวาระของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3
4. หัววหน้าคณะผู้แทนของฝ่ายอาเซียน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับจีน คือ นาย Yang Wenchang รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น คือ นาย Makita Kunihiko อธิบดีกรมกิจการเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศ และ สาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ นาย Jan Jai Ryong รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทยทำหน้าที่ประธานการประชุม
5. อาเซียน+3 เป็นกลไกใหม่ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 เมื่ออาเซียนได้เชิญผู้นำจาก 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมหารือพร้อมกันเป็นครั้งแรกระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการปลายปี 2540 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และทั้งสามประเทศได้ให้ความช่วยเหลือ แก่อาเซียน โดยเฉพาะประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาจากวิกฤตการณ์ ผู้นำอาเซียน+3 ได้พบกันเป็นครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอยในปีต่อมา และได้หารือใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค และความร่วมมือสู่ศตวรรษที่ 21 ในการรักษาและส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และการพัฒนา และล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ผู้นำอาเซียน+3 ได้รับรองแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกดังกล่าว
6. อนึ่ง นับได้ว่าความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เป็นความพยายามร่วมกันที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีอยู่เดิมในกรอบอาเซียน+1 และขยายความร่วมมือให้กว้างขวางในหลายสาขา อันจะเป็นปัจจัย เสริมสร้างและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคโดยรวม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (18 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2543 ระหว่างเวลา 9.00 - 11.30 น. ณ ห้อง Dusit Thani Hall โรงแรมดุสิตธานี ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Senior Officials Meeting : ASEAN+3 SOM) ที่ Dusit Thani Hall โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Foreign Ministers Meeting) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประจำปี สมัยที่ 33
2. สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 3 ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ผู้นำทั้ง 13 ประเทศ (สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กับ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ได้รับรองแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) ซึ่งนับเป็นเอกสารฉบับแรกที่ออกในนาม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้มีการระบุสาขาของความร่วมมือที่อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐ เกาหลีประสงค์จะร่วมกันพัฒนา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และวิชาการ ด้านสังคมและสารสนเทศ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การเมืองและความมั่นคง และด้านประเด็นข้ามชาติ ที่ประชุมผู้นำอาเซียน+3 ยังได้มีมติให้จัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อทบทวน ความคืบหน้าของการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมฯ และรายงานผลให้ผู้นำอาเซียน+3 ซึ่งจะพบกันที่สิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ทราบ
3. สำหรับการประชุม ASEAN+3 SOM ครั้งนี้ จะได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานของความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 ที่เชียงใหม่ เมื่อ 6 พฤษภาคม 2543 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน+3 ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ 2 พฤษภาคม 2543 การประชุมของกลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก(East Asia Vision Group - EAVG) ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อ 20-21 เมษายน 2543 พิจารณาแนวทางในการประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ยังไม่มีกลไก ประสานงาน และพิจารณาร่างระเบียบวาระของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3
4. หัววหน้าคณะผู้แทนของฝ่ายอาเซียน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับจีน คือ นาย Yang Wenchang รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น คือ นาย Makita Kunihiko อธิบดีกรมกิจการเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศ และ สาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ นาย Jan Jai Ryong รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทยทำหน้าที่ประธานการประชุม
5. อาเซียน+3 เป็นกลไกใหม่ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 เมื่ออาเซียนได้เชิญผู้นำจาก 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมหารือพร้อมกันเป็นครั้งแรกระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการปลายปี 2540 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และทั้งสามประเทศได้ให้ความช่วยเหลือ แก่อาเซียน โดยเฉพาะประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาจากวิกฤตการณ์ ผู้นำอาเซียน+3 ได้พบกันเป็นครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอยในปีต่อมา และได้หารือใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค และความร่วมมือสู่ศตวรรษที่ 21 ในการรักษาและส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และการพัฒนา และล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ผู้นำอาเซียน+3 ได้รับรองแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกดังกล่าว
6. อนึ่ง นับได้ว่าความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เป็นความพยายามร่วมกันที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีอยู่เดิมในกรอบอาเซียน+1 และขยายความร่วมมือให้กว้างขวางในหลายสาขา อันจะเป็นปัจจัย เสริมสร้างและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคโดยรวม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-