กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจแผนงาน ความร่วมมือของเนเธอร์แลนด์สำหรับตลาดเกิดใหม่ (Memorandum of Understanding on Dutch Cooperation Programme for Emerging Markets) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2544 เวลาประมาณ 11.00 —11.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และ นาย Gerard Hohan Hendrik Christiaan Kramer เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ คือการกำหนดสาขาความร่วมมือระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ซึ่งได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะจัดสรรงบประมาณจำนวน 4,537,802.16 ยูโร (ประมาณ 181,512,086 บาท) ให้กับบริษัทของเนเธอร์แลนด์และบริษัทของไทยที่เข้าร่วมในแผนงานดังกล่าว
การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างชุมชนธุรกิจไทยและเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนธุรกิจไทยอีกด้วย แผนงานความร่วมมือของเนเธอร์แลนด์สำหรับตลาดเกิดใหม่ (Dutch Cooperation Programme for Emerging Market-PSOM) เป็นกลไกของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ในการกระตุ้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ระหว่างผู้ประกอบการในเนเธอร์แลนด์ และในประเทศที่อยู่ในข่ายเป็น emerging markets ซึ่งสำหรับประเทศในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน และไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างชุมชนธุรกิจของเนเธอร์แลนด์และประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืนในประเทศตลาดเกิดใหม่ดังกล่าว โครงการแต่ละโครงการภายใต้แรงงาน PSOM จะมีระยะเวลาดำเนินการ 1-2 ปี โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณจำนวน 2 ใน 3 หรือร้อยละ 66.6 ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ และบริษัทเนเธอร์แลนด์และบริษัทท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของโครงการจะรับภาระ ค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยในปี 2545 จะเป็นวาระครบรอบ 400 ปี ความสัมพันธ์ทางการค้า ซึ่งจะเริ่มจากการ ก่อตั้งบริษัท Dutch East India ที่เมืองปัตตานี ในปี 2145 และในปี 2547 จะเป็นวาระครบรอบ 400 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มจากการที่เนเธอร์แลนด์ได้ส่งคณะทูตเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกในปี 2147 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปอย่างใกล้ชิด โดยไทยและเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ มาโดยตลอด
ในด้านเศรษฐกิจ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการลงทุนและทำการค้ากับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย และเป็นอันดับ 2 ในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังอยู่ในระดับหนึ่งในห้าของประเทศในยุโรปที่มีการลงทุนมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีลู่ทางที่จะขยายและ ส่งเสริมความร่วมด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาค เอกชนของเนเธอร์แลนด์เข้ามาลงทุนในธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจแผนงาน ความร่วมมือของเนเธอร์แลนด์สำหรับตลาดเกิดใหม่ (Memorandum of Understanding on Dutch Cooperation Programme for Emerging Markets) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2544 เวลาประมาณ 11.00 —11.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี ฯพณฯ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และ นาย Gerard Hohan Hendrik Christiaan Kramer เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ คือการกำหนดสาขาความร่วมมือระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ซึ่งได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะจัดสรรงบประมาณจำนวน 4,537,802.16 ยูโร (ประมาณ 181,512,086 บาท) ให้กับบริษัทของเนเธอร์แลนด์และบริษัทของไทยที่เข้าร่วมในแผนงานดังกล่าว
การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างชุมชนธุรกิจไทยและเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนธุรกิจไทยอีกด้วย แผนงานความร่วมมือของเนเธอร์แลนด์สำหรับตลาดเกิดใหม่ (Dutch Cooperation Programme for Emerging Market-PSOM) เป็นกลไกของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ในการกระตุ้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ระหว่างผู้ประกอบการในเนเธอร์แลนด์ และในประเทศที่อยู่ในข่ายเป็น emerging markets ซึ่งสำหรับประเทศในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน และไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างชุมชนธุรกิจของเนเธอร์แลนด์และประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาแบบยั่งยืนในประเทศตลาดเกิดใหม่ดังกล่าว โครงการแต่ละโครงการภายใต้แรงงาน PSOM จะมีระยะเวลาดำเนินการ 1-2 ปี โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะให้ความสนับสนุนด้านงบประมาณจำนวน 2 ใน 3 หรือร้อยละ 66.6 ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ และบริษัทเนเธอร์แลนด์และบริษัทท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของโครงการจะรับภาระ ค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยในปี 2545 จะเป็นวาระครบรอบ 400 ปี ความสัมพันธ์ทางการค้า ซึ่งจะเริ่มจากการ ก่อตั้งบริษัท Dutch East India ที่เมืองปัตตานี ในปี 2145 และในปี 2547 จะเป็นวาระครบรอบ 400 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มจากการที่เนเธอร์แลนด์ได้ส่งคณะทูตเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกในปี 2147 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปอย่างใกล้ชิด โดยไทยและเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ มาโดยตลอด
ในด้านเศรษฐกิจ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีการลงทุนและทำการค้ากับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของไทย และเป็นอันดับ 2 ในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังอยู่ในระดับหนึ่งในห้าของประเทศในยุโรปที่มีการลงทุนมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีลู่ทางที่จะขยายและ ส่งเสริมความร่วมด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาค เอกชนของเนเธอร์แลนด์เข้ามาลงทุนในธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-