กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมมือกันต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเป็นระบบ ทั้งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้ สอดคล้องกัน การสืบสวนจับกุมและขยายผล การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ การสร้างเสริมขีดความสามารถ ขององค์กร และการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างกันใน ด้านการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้าสตรีและเด็ก โจรสลัด การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 (1st ANNUAL SENIOR OFFICIALS MEETING ON TRANSNATIONAL CRIME: SOMTC) ขึ้นที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2544 โดยมีกระทรวงการต่างประเทศให้การสนับสนุนในฐานะที่ปรึกษา
ในการประชุมครั้งนี้ ฯพณฯ ร.ต.อ. ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ซึ่งมี พล.ต.อ. พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง ยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ กรมศุลกากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯลฯ รวมทั้งหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน และรองเลขาธิการอาเซียนให้การต้อนรับ ที่ประชุมได้เลือกตั้ง พลตำรวจโท ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน และ DATO ’ ASEH BIN HJ. CHE MAT ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเลเซียเป็น รองประธาน ที่ประชุมได้หารือประเด็นต่างๆ ตามระเบียบวาระ ที่สำคัญ ได้แก่ การรับทราบมติ ที่ประชุมของกลไกอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเพื่อจะได้ประสานแนวทางและนโยบายในการดำเนินการต่อต้านอาชญากรรมไปในทิศทางเดียวกัน
การพิจารณาแผนงานการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเพื่อให้ความร่วมมือของ อาเซียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน องค์การระหว่างประเทศ และองค์การระดับภูมิภาคในด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การรับทราบการเปิดให้ลงนามของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมจัดตั้งข้ามชาติ และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง การต่อต้านโจรสลัดและการรับทราบการดำเนินการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้น ที่สิงคโปร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของคณะทำงานเกี่ยวกับข้อเสนอของฟิลิปปินส์ที่จะให้มีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียน ณ กรุงมะนิลา ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ที่สิงคโปร์พิจารณาต่อไป ผลที่เป็นรูปธรรมของการประชุมครั้งนี้ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงจะกระชับ ความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติระหว่างกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ
โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะนำแผนงานการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนยกร่างขึ้นพิจารณาและแจ้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการ ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวนี้ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใน 3 เดือน (มิถุนายน 2544) หลังจากนั้น สำนักเลขาธิการอาเซียนจะจัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ และนำเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 พิจารณาให้ความ เห็นชอบอีกครั้ง ที่ประชุมยังได้รับรองข้อเสนอของคณะผู้แทนไทยที่เสนอให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (WORKSHOP) ระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน--ของอาเซียนเพื่อหารือและวิเคราะห์ถึง แนวทางและความร่วมมือระหว่างกัน โดยให้มุ่งเน้นการเจาะลึกถึงปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติประเภทต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกประสบและมีความสนใจ อาทิ ปัญหายาเสพติด การค้าหญิงและเด็ก และโจรสลัดน่านน้ำ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิง ปฏิบัติการว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กในปี 2544 หรือ 2545 ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธาน การประชุม SOMTC
โดยประเทศไทยจะแจ้งรายละเอียดของการจัดประชุมฯ ให้ประเทศสมาชิก อาเซียนพิจารณาต่อไป ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนต่างยืนยันเจตนารมณ์ที่จะประสานและร่วมมืออย่าง ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อให้การต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติได้บรรลุความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ตระหนักถึงผลกระทบจากอาชญากรรมข้ามชาติที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและต่อประชาชนจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในกระแสโลกาภิวัฒน์ และความรุดหน้าของเทคโนโลยี การประชุมประจำปีเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่มาเลเซียในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมมือกันต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเป็นระบบ ทั้งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้ สอดคล้องกัน การสืบสวนจับกุมและขยายผล การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ การสร้างเสริมขีดความสามารถ ขององค์กร และการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างกันใน ด้านการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้าสตรีและเด็ก โจรสลัด การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 (1st ANNUAL SENIOR OFFICIALS MEETING ON TRANSNATIONAL CRIME: SOMTC) ขึ้นที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2544 โดยมีกระทรวงการต่างประเทศให้การสนับสนุนในฐานะที่ปรึกษา
ในการประชุมครั้งนี้ ฯพณฯ ร.ต.อ. ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ซึ่งมี พล.ต.อ. พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง ยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ กรมศุลกากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯลฯ รวมทั้งหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน และรองเลขาธิการอาเซียนให้การต้อนรับ ที่ประชุมได้เลือกตั้ง พลตำรวจโท ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธาน และ DATO ’ ASEH BIN HJ. CHE MAT ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเลเซียเป็น รองประธาน ที่ประชุมได้หารือประเด็นต่างๆ ตามระเบียบวาระ ที่สำคัญ ได้แก่ การรับทราบมติ ที่ประชุมของกลไกอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเพื่อจะได้ประสานแนวทางและนโยบายในการดำเนินการต่อต้านอาชญากรรมไปในทิศทางเดียวกัน
การพิจารณาแผนงานการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเพื่อให้ความร่วมมือของ อาเซียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน องค์การระหว่างประเทศ และองค์การระดับภูมิภาคในด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ การรับทราบการเปิดให้ลงนามของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมจัดตั้งข้ามชาติ และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง การต่อต้านโจรสลัดและการรับทราบการดำเนินการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้น ที่สิงคโปร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของคณะทำงานเกี่ยวกับข้อเสนอของฟิลิปปินส์ที่จะให้มีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียน ณ กรุงมะนิลา ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ที่สิงคโปร์พิจารณาต่อไป ผลที่เป็นรูปธรรมของการประชุมครั้งนี้ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงจะกระชับ ความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติระหว่างกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ
โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะนำแผนงานการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนยกร่างขึ้นพิจารณาและแจ้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการ ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวนี้ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใน 3 เดือน (มิถุนายน 2544) หลังจากนั้น สำนักเลขาธิการอาเซียนจะจัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ และนำเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 พิจารณาให้ความ เห็นชอบอีกครั้ง ที่ประชุมยังได้รับรองข้อเสนอของคณะผู้แทนไทยที่เสนอให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (WORKSHOP) ระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน--ของอาเซียนเพื่อหารือและวิเคราะห์ถึง แนวทางและความร่วมมือระหว่างกัน โดยให้มุ่งเน้นการเจาะลึกถึงปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติประเภทต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกประสบและมีความสนใจ อาทิ ปัญหายาเสพติด การค้าหญิงและเด็ก และโจรสลัดน่านน้ำ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิง ปฏิบัติการว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กในปี 2544 หรือ 2545 ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธาน การประชุม SOMTC
โดยประเทศไทยจะแจ้งรายละเอียดของการจัดประชุมฯ ให้ประเทศสมาชิก อาเซียนพิจารณาต่อไป ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนต่างยืนยันเจตนารมณ์ที่จะประสานและร่วมมืออย่าง ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อให้การต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติได้บรรลุความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ตระหนักถึงผลกระทบจากอาชญากรรมข้ามชาติที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและต่อประชาชนจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในกระแสโลกาภิวัฒน์ และความรุดหน้าของเทคโนโลยี การประชุมประจำปีเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่มาเลเซียในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-