นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าจากการที่กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ ได้ร่วมกันสำรวจผลผลิตข้าวนาปีของปี 2543/44 ใน 13 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2543 ปรากฎว่าภาวะการผลิตทั้ง 13 จังหวัดคือ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ผลผลิตข้าวหอมมะลิโดยรวมปีนี้ คาดว่าปริมาณจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้ว่าจะประสบภาวะภาวะน้ำท่วม จนทำให้หลายพื้นที่ซึ่งเป็นนาลุ่มได้รับความเสียหายบ้าง โดยพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เพาะปลูกข้าวเหนียว แต่พื้นที่นาดอนที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิกลับได้รับผลดีจากการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของข้าวหอมมะลิในทุกพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงขึ้นจากปีก่อน สำหรับคุณภาพข้าวของปีนี้ก็ดีขึ้น โดยเมื่อสีเป็นข้าวสารแล้วได้ต้นข้าวอยู่ในระดับร้อยละ 40-42 ในขณะที่ปีก่อนอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 40 เนื่องจากข้าวมีเมล็ดสมบูรณ์และมีความแกร่ง ประกอบกับเกษตรกรหันมานิยมใช้รถเกี่ยวนวดข้าวกันมากขึ้น
โดยเฉพาะในแถบทุ่งกุลาร้องไห้ และเขตอีสานตอนล่างที่ติดต่อกับเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ในระยะพลับพลึง(กำลังพอดี)ก่อนช่วงที่ข้าวจะสุกเกินไป โดยขณะนี้ได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วประมาณ ร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ซึ่งเร็วกว่าปีก่อนๆ และเกษตรกรก็ได้ทยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดบ้างแล้วแม้ว่าจะยังไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาข้าวอ่อนตัวบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามปีนี้ราคาข้าวยังคงสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาอยู่ที่ระดับ 6,800-7,200 บาทต่อตัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้าวหอมมะลิในปีนี้แม้จะมีปริมาณมากกว่าปีก่อน แต่ตลาดยังมีความต้องการข้าวหอมมะลิอีกเป็นจำนวนมาก สามารถรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ โดยเฉพาะตลาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิกันมาก และถ้าหากจีนสามารถเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกได้(ประมาณปลายปีหน้าน่าจะทราบผล) จะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องมุ่งเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ และรักษาเอกลักษณ์ที่ดีของข้าวหอมมะลิไว้ เพื่อรักษาและขยายตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานข้าวหอมมะลิ และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยภายใต้ชื่อว่า THAI HOM MALI RICE หรือ ข้าวหอมมะลิไทย พร้อมทั้งได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้ซื้อ โดยมุ่งหวังให้ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศ 24 พฤศจิกายน 2453--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2543--
-อน-
โดยเฉพาะในแถบทุ่งกุลาร้องไห้ และเขตอีสานตอนล่างที่ติดต่อกับเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ในระยะพลับพลึง(กำลังพอดี)ก่อนช่วงที่ข้าวจะสุกเกินไป โดยขณะนี้ได้มีการเก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วประมาณ ร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ซึ่งเร็วกว่าปีก่อนๆ และเกษตรกรก็ได้ทยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดบ้างแล้วแม้ว่าจะยังไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาข้าวอ่อนตัวบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามปีนี้ราคาข้าวยังคงสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาอยู่ที่ระดับ 6,800-7,200 บาทต่อตัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้าวหอมมะลิในปีนี้แม้จะมีปริมาณมากกว่าปีก่อน แต่ตลาดยังมีความต้องการข้าวหอมมะลิอีกเป็นจำนวนมาก สามารถรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ โดยเฉพาะตลาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิกันมาก และถ้าหากจีนสามารถเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกได้(ประมาณปลายปีหน้าน่าจะทราบผล) จะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องมุ่งเน้นการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ และรักษาเอกลักษณ์ที่ดีของข้าวหอมมะลิไว้ เพื่อรักษาและขยายตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานข้าวหอมมะลิ และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยภายใต้ชื่อว่า THAI HOM MALI RICE หรือ ข้าวหอมมะลิไทย พร้อมทั้งได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้ซื้อ โดยมุ่งหวังให้ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศ 24 พฤศจิกายน 2453--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2543--
-อน-