ความเป็นมา
1) Phthalates เป็นสารเคมีที่ใช้เพิ่มความอ่อน (Softener) ในของเล่นเด็กเล็กที่ทำด้วย PVC เช่น ห่วงยางกัดสำหรับเด็กอ่อน (Teething Ring), Dummies, Rattles ฯลฯ โดยสารอาหารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
2) คณะกรรมาธิการ EU ได้ออก Recommendation เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1998 ให้ประเทศสมาชิก EU ติดตาม (Monitor) เกี่ยวกับการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็ก (โดยเฉพาะของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเด็กอาจใส่เข้าปาก) แต่ยังมิได้ประกาศห้ามการใช้สารดังกล่าว
3) อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมาได้มีประเทศสมาชิก EU 8 ประเทศ (ออสเตรีย เดนมาร์ค ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมนี กรีก อิตาลี และสวีเดน) ประกาศห้ามการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็กแล้ว
4) เนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ได้ดำเนินวิธีการตรวจสอบสารดังกล่าวแต่ Scientific Committee of Toxicity, Ecotoxicity and Environment (SCTEE) ของ EC ได้เสนอข้อคิดเห็นเมื่อเดือนกันยายนศกนี้ว่า วิธีการทดสอบในห้องทดลองเพื่อตรวจเช็ดระดับของสาร Phthalate ที่อาจรั่วไหลออกจากของเด็กเล่นนั้น ไม่อาจที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็กไว้ รวมทั้งไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าของเล่นใดปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
สถานะปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1999 คณะกรรมาธิการ EU ได้มีมติเห็นชอบร่างข้อเสนอระเบียบเกี่ยวกับการใช้สาร Phthalate ในของเล่น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ห้ามการใช้สารดังกล่าว โดยดำเนินการเป็นสองขั้นตอน คือ
(1) ห้ามการใช้โดยทันที (Emergency Ban) โดยอาศัยที่ระเบียบที่ 92/59 เกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าทั่วไป ซึ่งจะมีผลใช้บังคับภายใน 10 วันนับตั้งแต่คณะกรรมาการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Committee) ของ EU (ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิก) ลงมติเห็นชอบ
(2) ห้ามการใช้โดยถาวร (Permanent Ban) ซึ่งจะต้องแก้ไขระเบียบที่ 76/769 เกี่ยวกับการจำหน่ายวัตถุอันตราย (Marketing of Dangerous Substances) โดยจะห้ามการใช้ Phthalates ทั้ง 6 ประเภท (ได้แก่ Phthalates DINP, DEHP, DBP, DIDP, DNOP และ BBP) ทั้งนี้จะต้องผ่านการเห็นชอบจากสภายุโรป ซึ่งคาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีจึงจะสามารถประกาศห้ามใช้โดยถาวรได้
2) ของเด็กเล่นที่อยู่ในข่ายการห้ามใช้สาร Phthalates ได้แก่ ของเล่นที่ทำด้วย PVC สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กใส่เข้าปาก เช่น Teething Rings, Dummie, Rattles เป็นต้น
3) สำหรับของเด็กเล่นอื่นที่ไม่ใช่สำหรับให้เด็กใส่เข้าปาก แต่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวจะต้องระบุคำเตือนที่ฉลากว่า "ระวังไม่ให้เด็กนำเข้าปาก"
ความเห็นและท่าทีของฝ่ายต่าง ๆ
1) กลุ่ม Greepeace เห็นด้วยกับการห้ามใช้สารดังกล่าว แต่วิจารณ์ระเบียบที่จะประกาศดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และพยายามที่จะผลักดันให้คณะกรรมาธิการฯ ห้ามการใช้ในของเล่นเด็กทุกชนิด ไม่เพียงเฉพาะบางชนิดที่ระบุในระเบียบฯ นี้เท่านั้น
2) ภาคอุตสาหกรรมเคมีและของเด็กเล่นในยุโรป ไม่เห็นด้วยกับการห้ามใช้สารดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าปัจจุบันสามารถหาสารอื่นทดแทนและมีอันตรายน้อยกว่า Phthalates ได้ นอกจากนั้นเห็นว่าสารดังกล่าวได้ถูกใช้มาเป็นเวลานานถีง 40 ปีแล้ว และที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกอย่างช้ดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้สารดังกล่าวในของเด็กเล่น European Council for Platicisers and Intermediates (ECPI) ได้อ้างถึงผลการศึกษาในสหรัฐฯ เมื่อปี 1998 ซึ่งสรุปว่าไม่มีอันตรายในการใช้สาร Phathalates ในของเล่นเด็ก
3) สำหรับในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็มีแนวโน้มว่าจะลดการใช้สารดังกล่าว เช่น บริษัท Daimler-Benz ได้เลิกการใช้ PVC ในวัสดุตกแต่งภายในรถยนต์ตั้งแต่ปี 1995, บริษัทรถยนต์ GM ของสหรัฐฯ ได้เริ่มดำเนินการเช่นเดียวกัน สำหรับบริษัท HONDA ได้ประกาศแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้วัสดุปลอด PVC และ Recycle ได้ 100% ภายในปี 2010 เป็นต้น
ข้อคิดเห็น
1) ภาคอุตสาหกรรมของเล่นเด็กของไทย ควรรวบรวมศึกษาข้อมูลว่า ปัจจุบันไทยมีการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็กหรือไม่ และในของเล่นเด็กประเภทใดบ้าง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การห้ามใช้โดยทันทีและการใช้โดยถาวรในตลาด EU
2) แม้ว่าระเบียบที่จะประกาศใช้ดังกล่าวจะห้ามการใช้สาร Phthalates ในของเด็กเล่นเพียงบางชนิด แต่คาดว่าในระยะยาวคงจะครอบคลุมไปถึงของเด็กเล่นอื่น ๆ ทั้งหมด รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--
1) Phthalates เป็นสารเคมีที่ใช้เพิ่มความอ่อน (Softener) ในของเล่นเด็กเล็กที่ทำด้วย PVC เช่น ห่วงยางกัดสำหรับเด็กอ่อน (Teething Ring), Dummies, Rattles ฯลฯ โดยสารอาหารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
2) คณะกรรมาธิการ EU ได้ออก Recommendation เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1998 ให้ประเทศสมาชิก EU ติดตาม (Monitor) เกี่ยวกับการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็ก (โดยเฉพาะของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเด็กอาจใส่เข้าปาก) แต่ยังมิได้ประกาศห้ามการใช้สารดังกล่าว
3) อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมาได้มีประเทศสมาชิก EU 8 ประเทศ (ออสเตรีย เดนมาร์ค ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมนี กรีก อิตาลี และสวีเดน) ประกาศห้ามการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็กแล้ว
4) เนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ได้ดำเนินวิธีการตรวจสอบสารดังกล่าวแต่ Scientific Committee of Toxicity, Ecotoxicity and Environment (SCTEE) ของ EC ได้เสนอข้อคิดเห็นเมื่อเดือนกันยายนศกนี้ว่า วิธีการทดสอบในห้องทดลองเพื่อตรวจเช็ดระดับของสาร Phthalate ที่อาจรั่วไหลออกจากของเด็กเล่นนั้น ไม่อาจที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็กไว้ รวมทั้งไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าของเล่นใดปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
สถานะปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1999 คณะกรรมาธิการ EU ได้มีมติเห็นชอบร่างข้อเสนอระเบียบเกี่ยวกับการใช้สาร Phthalate ในของเล่น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ห้ามการใช้สารดังกล่าว โดยดำเนินการเป็นสองขั้นตอน คือ
(1) ห้ามการใช้โดยทันที (Emergency Ban) โดยอาศัยที่ระเบียบที่ 92/59 เกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าทั่วไป ซึ่งจะมีผลใช้บังคับภายใน 10 วันนับตั้งแต่คณะกรรมาการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Committee) ของ EU (ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิก) ลงมติเห็นชอบ
(2) ห้ามการใช้โดยถาวร (Permanent Ban) ซึ่งจะต้องแก้ไขระเบียบที่ 76/769 เกี่ยวกับการจำหน่ายวัตถุอันตราย (Marketing of Dangerous Substances) โดยจะห้ามการใช้ Phthalates ทั้ง 6 ประเภท (ได้แก่ Phthalates DINP, DEHP, DBP, DIDP, DNOP และ BBP) ทั้งนี้จะต้องผ่านการเห็นชอบจากสภายุโรป ซึ่งคาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีจึงจะสามารถประกาศห้ามใช้โดยถาวรได้
2) ของเด็กเล่นที่อยู่ในข่ายการห้ามใช้สาร Phthalates ได้แก่ ของเล่นที่ทำด้วย PVC สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นของเล่นที่เด็กใส่เข้าปาก เช่น Teething Rings, Dummie, Rattles เป็นต้น
3) สำหรับของเด็กเล่นอื่นที่ไม่ใช่สำหรับให้เด็กใส่เข้าปาก แต่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวจะต้องระบุคำเตือนที่ฉลากว่า "ระวังไม่ให้เด็กนำเข้าปาก"
ความเห็นและท่าทีของฝ่ายต่าง ๆ
1) กลุ่ม Greepeace เห็นด้วยกับการห้ามใช้สารดังกล่าว แต่วิจารณ์ระเบียบที่จะประกาศดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และพยายามที่จะผลักดันให้คณะกรรมาธิการฯ ห้ามการใช้ในของเล่นเด็กทุกชนิด ไม่เพียงเฉพาะบางชนิดที่ระบุในระเบียบฯ นี้เท่านั้น
2) ภาคอุตสาหกรรมเคมีและของเด็กเล่นในยุโรป ไม่เห็นด้วยกับการห้ามใช้สารดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าปัจจุบันสามารถหาสารอื่นทดแทนและมีอันตรายน้อยกว่า Phthalates ได้ นอกจากนั้นเห็นว่าสารดังกล่าวได้ถูกใช้มาเป็นเวลานานถีง 40 ปีแล้ว และที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกอย่างช้ดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้สารดังกล่าวในของเด็กเล่น European Council for Platicisers and Intermediates (ECPI) ได้อ้างถึงผลการศึกษาในสหรัฐฯ เมื่อปี 1998 ซึ่งสรุปว่าไม่มีอันตรายในการใช้สาร Phathalates ในของเล่นเด็ก
3) สำหรับในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็มีแนวโน้มว่าจะลดการใช้สารดังกล่าว เช่น บริษัท Daimler-Benz ได้เลิกการใช้ PVC ในวัสดุตกแต่งภายในรถยนต์ตั้งแต่ปี 1995, บริษัทรถยนต์ GM ของสหรัฐฯ ได้เริ่มดำเนินการเช่นเดียวกัน สำหรับบริษัท HONDA ได้ประกาศแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้วัสดุปลอด PVC และ Recycle ได้ 100% ภายในปี 2010 เป็นต้น
ข้อคิดเห็น
1) ภาคอุตสาหกรรมของเล่นเด็กของไทย ควรรวบรวมศึกษาข้อมูลว่า ปัจจุบันไทยมีการใช้สารดังกล่าวในของเล่นเด็กหรือไม่ และในของเล่นเด็กประเภทใดบ้าง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การห้ามใช้โดยทันทีและการใช้โดยถาวรในตลาด EU
2) แม้ว่าระเบียบที่จะประกาศใช้ดังกล่าวจะห้ามการใช้สาร Phthalates ในของเด็กเล่นเพียงบางชนิด แต่คาดว่าในระยะยาวคงจะครอบคลุมไปถึงของเด็กเล่นอื่น ๆ ทั้งหมด รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--