เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 สหรัฐอเมริกากับเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคี “The U.S.- Vietnam Bilateral Trade Agreement ” เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยยึดหลักสัมพันธภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าในสภาวะปกติ (Normal Trade Relations: NTR) หรือเดิมเรียกว่าการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment: MFN) ข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
การค้าสินค้า (Trade in Goods)
- หลักการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง สหรัฐฯ และเวียดนามจะปฏิบัติกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น การกำหนดภาษีนำเข้า บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับสหรัฐฯ หรือเวียดนาม
- หลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) สหรัฐฯ และเวียดนามจะใช้มาตรการทางการค้าต่างๆ อาทิ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า ฯลฯ ระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับสหรัฐฯ หรือเวียดนาม
- มาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษี (Tariff and Non-tariff Measures) รัฐบาลเวียดนามจะลดภาษีนำเข้าสินค้าประมาณ 250 รายการซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรภายในระยะเวลา 3-6 ปี และจะยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าทุกชนิดให้แก่สหรัฐฯ บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับเวียดนามภายในระยะเวลา 3-7 ปีนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- สิทธิในการทำการค้า (Trading Rights) รัฐบาลเวียดนามจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนท้องถิ่นและนักลงทุนอเมริกันจัดตั้งบริษัทนำเข้าส่งออกในเวียดนามได้ภายในระยะเวลา 3-6 ปีนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- การระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) รัฐบาลเวียดนามจะยอมรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามหลักสากล โดยการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เพื่อทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างกัน
นอกจากนี้ เวียดนามจะปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อคำนวณภาษีศุลกากร (Customs Valuation) และความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ด้วย
ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)
รัฐบาลเวียดนามจะยึดความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPs) ของ WTO ในการคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าภายในระยะเวลา 12 เดือน คุ้มครองลิขสิทธิ์และความลับทางการค้าภายในระยะเวลา 18 เดือน และคุ้มครองการ
ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite Signals) ภายในระยะเวลา 30 เดือนนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
การค้าบริการ (Trade in Services)
รัฐบาลเวียดนามจะยึดความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ของ WTO ในการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนอเมริกันที่เข้าไปลงทุนในสาขาบริการต่างๆ ในเวียดนาม อาทิ สาขาธนาคาร (Banking) โดยให้ธนาคารสัญชาติอเมริกันสามารถเปิดสาขาในเวียดนามได้ นอกจากนี้ยังสามารถร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในสัดส่วนระหว่าง 30-49% ของเงินทุนจดทะเบียนได้ แต่ในช่วง 8 ปีแรกที่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ธนาคารต่างชาติจะทำธุรกรรมได้ไม่ครบทุกประเภท เช่น ไม่อนุญาตให้รับเงินฝากสกุลท้องถิ่น ไม่สามารถให้บริการบัตรเครดิต และไม่ให้ติดตั้งเครื่อง ATM นอกที่ทำการ เป็นต้น แต่หลังจากปีที่ 8 แล้วสามารถให้บริการได้เหมือนกับธนาคารท้องถิ่น และหลังจากปีที่ 9 ธนาคารสัญชาติอเมริกันสามารถเป็นเจ้าของกิจการธนาคารในเวียดนามได้ 100% เป็นต้น
การลงทุน (Investment)
รัฐบาลเวียดนามตกลงจะผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนและการปฏิบัติต่อนักลงทุนอเมริกันตามหลักของ WTO (แม้ว่าเวียดนามจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ WTO ก็ตาม) ทั้งในเรื่องความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Agreement on Trade-Related Investment Measures: TRIMs) และ National Treatment เช่น
- การกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content Requirement) ต้อง ยกเลิกภายในระยะเวลา 5 ปี
- การกำหนดสัดส่วนการส่งออก (Export Requirement) ต้องยกเลิกภายในระยะเวลา 5 ปี ยกเว้นการกำหนดสัดส่วนการส่งออกของโครงการลงทุนผลิตสินค้าบางชนิด เช่น ซีเมนต์ เซรามิก รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยาสูบ แอลกอฮอล์ และกระดาษ ที่ส่งออกไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าการผลิตรวม ให้ยกเลิกภายใน 7 ปี
นอกจากนี้ เวียดนามต้องทยอยยกเลิกมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้าอื่นๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย ความโปร่งใสและสิทธิในการอุทธรณ์ (Transparency and Right to Appeal)
รัฐบาลเวียดนามจะเผยแพร่กฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ให้สาธารณชนรับทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารราชการหรือคณะกรรมการด้านกฎหมาย (Administrative or Judicial Tribunals) เพื่อทำหน้าที่ทบทวน แก้ไข และทำให้กระบวนการอุทธรณ์กฎระเบียบต่างๆ ง่ายขึ้น
ข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร (Congress) ของสหรัฐฯ และสภาแห่งชาติ (National Assembly) ของเวียดนามเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะต้องรอประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ นำเรื่องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในปี 2544 หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ อนุมัติแล้ว สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงจะอนุมัติข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลงนี้มีอายุ 3 ปีและหากไม่มีการแจ้งขอยกเลิกภายใน 30 วันก่อนวันครบกำหนด ข้อตกลงนี้จะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติไปอีก 3 ปี
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-
การค้าสินค้า (Trade in Goods)
- หลักการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง สหรัฐฯ และเวียดนามจะปฏิบัติกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น การกำหนดภาษีนำเข้า บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับสหรัฐฯ หรือเวียดนาม
- หลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) สหรัฐฯ และเวียดนามจะใช้มาตรการทางการค้าต่างๆ อาทิ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า ฯลฯ ระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับสหรัฐฯ หรือเวียดนาม
- มาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษี (Tariff and Non-tariff Measures) รัฐบาลเวียดนามจะลดภาษีนำเข้าสินค้าประมาณ 250 รายการซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรภายในระยะเวลา 3-6 ปี และจะยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าทุกชนิดให้แก่สหรัฐฯ บนมาตรฐานเดียวกันกับประเทศคู่ค้าอื่นที่มีพันธกรณีกับเวียดนามภายในระยะเวลา 3-7 ปีนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- สิทธิในการทำการค้า (Trading Rights) รัฐบาลเวียดนามจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนท้องถิ่นและนักลงทุนอเมริกันจัดตั้งบริษัทนำเข้าส่งออกในเวียดนามได้ภายในระยะเวลา 3-6 ปีนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- การระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) รัฐบาลเวียดนามจะยอมรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามหลักสากล โดยการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เพื่อทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างกัน
นอกจากนี้ เวียดนามจะปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อคำนวณภาษีศุลกากร (Customs Valuation) และความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ด้วย
ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)
รัฐบาลเวียดนามจะยึดความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPs) ของ WTO ในการคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าภายในระยะเวลา 12 เดือน คุ้มครองลิขสิทธิ์และความลับทางการค้าภายในระยะเวลา 18 เดือน และคุ้มครองการ
ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite Signals) ภายในระยะเวลา 30 เดือนนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
การค้าบริการ (Trade in Services)
รัฐบาลเวียดนามจะยึดความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ของ WTO ในการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนอเมริกันที่เข้าไปลงทุนในสาขาบริการต่างๆ ในเวียดนาม อาทิ สาขาธนาคาร (Banking) โดยให้ธนาคารสัญชาติอเมริกันสามารถเปิดสาขาในเวียดนามได้ นอกจากนี้ยังสามารถร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในสัดส่วนระหว่าง 30-49% ของเงินทุนจดทะเบียนได้ แต่ในช่วง 8 ปีแรกที่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ธนาคารต่างชาติจะทำธุรกรรมได้ไม่ครบทุกประเภท เช่น ไม่อนุญาตให้รับเงินฝากสกุลท้องถิ่น ไม่สามารถให้บริการบัตรเครดิต และไม่ให้ติดตั้งเครื่อง ATM นอกที่ทำการ เป็นต้น แต่หลังจากปีที่ 8 แล้วสามารถให้บริการได้เหมือนกับธนาคารท้องถิ่น และหลังจากปีที่ 9 ธนาคารสัญชาติอเมริกันสามารถเป็นเจ้าของกิจการธนาคารในเวียดนามได้ 100% เป็นต้น
การลงทุน (Investment)
รัฐบาลเวียดนามตกลงจะผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนและการปฏิบัติต่อนักลงทุนอเมริกันตามหลักของ WTO (แม้ว่าเวียดนามจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ WTO ก็ตาม) ทั้งในเรื่องความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Agreement on Trade-Related Investment Measures: TRIMs) และ National Treatment เช่น
- การกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content Requirement) ต้อง ยกเลิกภายในระยะเวลา 5 ปี
- การกำหนดสัดส่วนการส่งออก (Export Requirement) ต้องยกเลิกภายในระยะเวลา 5 ปี ยกเว้นการกำหนดสัดส่วนการส่งออกของโครงการลงทุนผลิตสินค้าบางชนิด เช่น ซีเมนต์ เซรามิก รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยาสูบ แอลกอฮอล์ และกระดาษ ที่ส่งออกไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าการผลิตรวม ให้ยกเลิกภายใน 7 ปี
นอกจากนี้ เวียดนามต้องทยอยยกเลิกมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้าอื่นๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย ความโปร่งใสและสิทธิในการอุทธรณ์ (Transparency and Right to Appeal)
รัฐบาลเวียดนามจะเผยแพร่กฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ให้สาธารณชนรับทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารราชการหรือคณะกรรมการด้านกฎหมาย (Administrative or Judicial Tribunals) เพื่อทำหน้าที่ทบทวน แก้ไข และทำให้กระบวนการอุทธรณ์กฎระเบียบต่างๆ ง่ายขึ้น
ข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร (Congress) ของสหรัฐฯ และสภาแห่งชาติ (National Assembly) ของเวียดนามเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะต้องรอประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ นำเรื่องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในปี 2544 หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ อนุมัติแล้ว สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงจะอนุมัติข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลงนี้มีอายุ 3 ปีและหากไม่มีการแจ้งขอยกเลิกภายใน 30 วันก่อนวันครบกำหนด ข้อตกลงนี้จะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติไปอีก 3 ปี
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-