บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และ นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม
ก่อนเข้าระเบียบวาระกระทูถ้าม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ชี้แจงขอเปลี่ยนแปลงการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎรทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจากคลื่นความถี่ ๙๒.๕
เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ เอฟ.เอ็ม เป็นคลื่นความถี่ ๘๙๑ กิโลเฮิรตซ์ ในระบบ เอ.เอ็ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ
กระทู้ถาม ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นายวิทยา แก้วภราดัย เรื่อง ปัญหาการเลี้ยง
กุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด ถาม รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง การบุกรุกอุทยาน
แห่งชาติเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ได้รับมอบหมาย
ให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ เรื่อง การบินไทยงด
เที่ยวบินไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายสุวโรช พะลัง เรื่อง มาตรการแก้ปัญหา
ราคากาแฟตกต่ำแบบครบวงจร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายพูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ เรื่อง การขยาย
เขตไฟฟ้าหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ปัญหาน้ำท่วม
ขังในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถาม นายกรัฐมนตรี เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถาม
ไม่อยู่ในที่ประชุม ดังนั้น กระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๓๕
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ เรื่องการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขอปรึกษาที่ประชุม
ว่าสมควรจะให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากในขณะนี้มี
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพียง ๑ คน คือ นายพิเชต สุนทรพิพิธ ซึ่งตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ได้บัญญัติให้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภาจำนวนไม่เกิน ๓ คน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรจะให้มีผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะได้ดำเนินการตาม มาตรา ๗
ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นควรให้มีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดย
ขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗, ๘, ๙, ๑๐ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ... ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่ง นายไพศาล จันทรภักดี และนายบัวสอน ประชามอญ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
เมื่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควร
แล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ
พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบ
ด้วย
๑. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ๒. นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์
๓. นายจารุพล เรืองเกตุ ๔. รองศาสตราจารย์สากล สถิตวิทยานันท์
๕. นายชนินทร์ โทณวณกิ ๖. นายไพศาล จันทรภักดี
๗. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๘. นางมยุรา มนะสิการ
๙. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๐. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท
๑๑. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๒. นายประสิทธิ์ จันทาทอง
๑๓. นายอำพล วิโรจน์เวชภัณฑ์ ๑๔. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๑๕. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ๑๖. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์
๑๗. นางกรรณิกา ธรรมเกษร ๑๘. นายอรรถพล มามะ
๑๙. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ๒๐. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๒๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๒๒. นายไชยยงค์ เจริญเมือง
๒๓. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ ๒๔. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์
๒๗. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๘. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล
๒๙. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม ๓๐. นายสรศักดิ์ สร้อยสนธิ์
๓๑. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ๓๒. นายธีระชัย ศิริขันธ์
๓๓. นายสมเจตน์ ลิมปะพันะธุ์ ๓๔. นายธรรมนูญ ประจวบเหมาะ
๓๕. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๕๕ นาฬิกา
(นายศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๓๐, ๓๒๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(รวมผู้เสนอ ๓ ฉบับ)
******************
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และ นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม
ก่อนเข้าระเบียบวาระกระทูถ้าม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ชี้แจงขอเปลี่ยนแปลงการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎรทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจากคลื่นความถี่ ๙๒.๕
เมกะเฮิรตซ์ ในระบบ เอฟ.เอ็ม เป็นคลื่นความถี่ ๘๙๑ กิโลเฮิรตซ์ ในระบบ เอ.เอ็ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ
กระทู้ถาม ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นายวิทยา แก้วภราดัย เรื่อง ปัญหาการเลี้ยง
กุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด ถาม รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง การบุกรุกอุทยาน
แห่งชาติเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) ได้รับมอบหมาย
ให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ เรื่อง การบินไทยงด
เที่ยวบินไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายสุวโรช พะลัง เรื่อง มาตรการแก้ปัญหา
ราคากาแฟตกต่ำแบบครบวงจร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายพูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ เรื่อง การขยาย
เขตไฟฟ้าหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ปัญหาน้ำท่วม
ขังในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถาม นายกรัฐมนตรี เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถาม
ไม่อยู่ในที่ประชุม ดังนั้น กระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตามข้อบังคับการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๓๕
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ เรื่องการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขอปรึกษาที่ประชุม
ว่าสมควรจะให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากในขณะนี้มี
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพียง ๑ คน คือ นายพิเชต สุนทรพิพิธ ซึ่งตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๖ ได้บัญญัติให้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภาจำนวนไม่เกิน ๓ คน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรจะให้มีผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะได้ดำเนินการตาม มาตรา ๗
ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นควรให้มีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดย
ขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗, ๘, ๙, ๑๐ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ... ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่ง นายไพศาล จันทรภักดี และนายบัวสอน ประชามอญ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
เมื่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควร
แล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ
พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบ
ด้วย
๑. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ๒. นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์
๓. นายจารุพล เรืองเกตุ ๔. รองศาสตราจารย์สากล สถิตวิทยานันท์
๕. นายชนินทร์ โทณวณกิ ๖. นายไพศาล จันทรภักดี
๗. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๘. นางมยุรา มนะสิการ
๙. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๐. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท
๑๑. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๒. นายประสิทธิ์ จันทาทอง
๑๓. นายอำพล วิโรจน์เวชภัณฑ์ ๑๔. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๑๕. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ๑๖. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์
๑๗. นางกรรณิกา ธรรมเกษร ๑๘. นายอรรถพล มามะ
๑๙. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ๒๐. นายนิทัศน์ ศรีนนท์
๒๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๒๒. นายไชยยงค์ เจริญเมือง
๒๓. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ ๒๔. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์
๒๗. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๘. นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล
๒๙. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม ๓๐. นายสรศักดิ์ สร้อยสนธิ์
๓๑. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ๓๒. นายธีระชัย ศิริขันธ์
๓๓. นายสมเจตน์ ลิมปะพันะธุ์ ๓๔. นายธรรมนูญ ประจวบเหมาะ
๓๕. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๕๕ นาฬิกา
(นายศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๓๐, ๓๒๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(รวมผู้เสนอ ๓ ฉบับ)
******************