แท็ก
อสังหาริมทรัพย์
1. พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญที่แตกต่างจากกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินฉบับเก่า (ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286) ที่ยกเลิก คือ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตจัดสรร จนกว่าจะจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือมีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลอื่น รับโอนสินทรัพย์ดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดิน โดยการกระจายอำนาจการอนุญาตและควบคุมดูแลการจัดสรรที่ดินไปสู่ระดับจังหวัด และกำหนดเวลาในการพิจารณาอนุญาตที่แน่นอน ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวัน
2. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ ของคู่สัญญา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทั้งนี้ ในระบบดังกล่าว จะมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการรับชำระเงินงวดจากผู้ซื้อ และโอนเงินดังกล่าวให้ผู้ขายเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น ดังนั้น ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่ได้บังคับให้ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ทุกรายต้องใช้ระบบนี้ในการ ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
3. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการ ฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 ประการ คือ
1) ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ของราคาประเมิน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จากเดิมซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และขยายขอบข่ายการลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้รวมถึงการโอนที่ดินเปล่าที่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการโอนอาคารและ/หรือที่ดินโดยการเคหะแห่งชาติหรือหน่วยงาน ราชการที่มีอำนาจทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เพิ่มเติมจากเดิมที่ยกเว้นภาษีฯ ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นไม่เกิน 50,000 บาท และขยายสิทธิประโยชน์ข้างต้นให้ครอบคลุมถึงการซื้อ หรือเช่าซื้ออาคาร ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมใหม่เพื่อชดใช้เงินกู้ยืมเดิม (Refinance) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543
3) ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรทุกประเภท จากร้อยละ 3.3 เหลือ ร้อยละ 0.11 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
4. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ออกไปอีก 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดต้องจำหน่าย หรือวันที่ครบกำหนดผ่อนผัน โดยสถาบันการเงินจะต้องเสนอรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และแผนการปรับลดยอดอสังหาริมทรัพย์ที่รอการขายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณา ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อแล้ว โดยระยะเวลาของสัญญาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี และได้รับการชำระเงินแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันขยายระยะเวลาการถือครองไปถึงสิ้นสุดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น
5. การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 อนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวมีลักษณะสำคัญคือ
1) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง
2) สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ และลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่เป็น performing หรือ non-performing loan ซึ่งมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญที่แตกต่างจากกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินฉบับเก่า (ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286) ที่ยกเลิก คือ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตจัดสรร จนกว่าจะจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือมีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลอื่น รับโอนสินทรัพย์ดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดิน โดยการกระจายอำนาจการอนุญาตและควบคุมดูแลการจัดสรรที่ดินไปสู่ระดับจังหวัด และกำหนดเวลาในการพิจารณาอนุญาตที่แน่นอน ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวัน
2. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ ของคู่สัญญา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทั้งนี้ ในระบบดังกล่าว จะมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการรับชำระเงินงวดจากผู้ซื้อ และโอนเงินดังกล่าวให้ผู้ขายเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะทำให้ต้นทุนในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น ดังนั้น ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่ได้บังคับให้ผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ทุกรายต้องใช้ระบบนี้ในการ ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
3. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการ ฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 ประการ คือ
1) ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ของราคาประเมิน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จากเดิมซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และขยายขอบข่ายการลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้รวมถึงการโอนที่ดินเปล่าที่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการโอนอาคารและ/หรือที่ดินโดยการเคหะแห่งชาติหรือหน่วยงาน ราชการที่มีอำนาจทำการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เพิ่มเติมจากเดิมที่ยกเว้นภาษีฯ ให้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท เป็นไม่เกิน 50,000 บาท และขยายสิทธิประโยชน์ข้างต้นให้ครอบคลุมถึงการซื้อ หรือเช่าซื้ออาคาร ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมใหม่เพื่อชดใช้เงินกู้ยืมเดิม (Refinance) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543
3) ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรทุกประเภท จากร้อยละ 3.3 เหลือ ร้อยละ 0.11 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
4. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ออกไปอีก 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดต้องจำหน่าย หรือวันที่ครบกำหนดผ่อนผัน โดยสถาบันการเงินจะต้องเสนอรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และแผนการปรับลดยอดอสังหาริมทรัพย์ที่รอการขายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณา ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อแล้ว โดยระยะเวลาของสัญญาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี และได้รับการชำระเงินแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันขยายระยะเวลาการถือครองไปถึงสิ้นสุดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น
5. การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 อนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวมีลักษณะสำคัญคือ
1) ต้องลงทุนเพื่อให้ได้มาหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง
2) สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังสร้างไม่เสร็จ และลงทุนในสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่เป็น performing หรือ non-performing loan ซึ่งมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-