แท็ก
จังหวัดสุโขทัย
เศรษฐกิจจังหวัดสุโขทัย ปี 2542 เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ชะลอตัวลงในปีก่อน ทั้งนี้เพราะการผลิต ภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำที่มากเพียงพอและการขยายพื้นที่การเพาะปลูก ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตร ปรากฏว่าภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นตามการผลิตหินปูน ภาคบริการเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่วนการใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนยังซบเซา การก่อสร้าง ได้รับผลดีจากการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย ภาคการเงิน เงินฝากและเงินให้สินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจของราคาปีก่อน และปริมาณน้ำฝน ที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เป็น 294,977 เมตริกตัน ข้าวนาปรังและถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 และร้อยละ 2.6 เป็น 68,412 เมตริกตัน และ 46,931 เมตริกตัน ตามลำดับ ใบยาเบอร์เลย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เป็น 21,526 เมตริกตัน สำหรับ อ้อย ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 1,326,724 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียวผิวมัน ลดลงร้อยละ 1.9 และร้อยละ 2.9 เหลือจำนวน 28,018 เมตริกตัน และ 45,605 เมตริกตัน ตามลำดับ จากราคาพืชผลการเกษตรที่ต่ำลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 15.8
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นตามความต้องการเพื่อการก่อสร้าง กว่า 5 เท่าตัว เป็น 689,730 เมตริกตัน ขณะที่การผลิตหินอ่อนลดลงร้อยละ 42.3 เหลือ 28,440 เมตริกตัน การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากยอดการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 1.7 และร้อยละ 18.7 เหลือเพียง 800 คัน และ 4,280 คัน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 60.2 ปีก่อน และ ร้อยละ 44.4 ปีก่อน ตามลำดับ และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากปีก่อนเป็น 12,529 คน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.8 เหลือ 89 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.9 ปีก่อน สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 786 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.4 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการชำระหนี้คืน ภาคบริการ ขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวที่อุทยานประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง ยังซบเซาไม่มี ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน และไม่มีการขอเปิดโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างกลับเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงเมื่อปีก่อน โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวเป็น 15,484 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 55.5 ปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 13,664 ตารางเมตร ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ยอดคงค้างทั้งสิ้น 547 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 24.2 ปีก่อน
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดสุโขทัย) มีจำนวนทั้งสิ้น 22,690 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 แต่ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 4.6 ขณะที่เงินเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 โดยเพิ่มขึ้นมากช่วงเดือน ธันวาคมเป็นสำคัญ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 10,054 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน เงินฝากบริเวณอำเภอเมืองลดลงร้อยละ 7.2 จากการลดลงของธุรกรรมต่างๆ และมีการถอนเงินเพื่อชำระหนี้ แต่สำหรับบริเวณอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 7.4 ลดลงมากจากการถอนเงินฝากช่วงเดือนธันวาคม เนื่องจากประชาชนเกรงปัญหา Y2K โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะปลูกเช่น อำเภอสวรรคโลก และ ศรีสำโรง ทางด้าน สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,970 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.9 ปีก่อน โดยลดลงมากจากสินเชื่อเพื่อการบริการ และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดย สินเชื่อบริเวณอำเภอเมืองลดลงร้อยละ 19.0 ส่วน บริเวณรอบนอกลดลงร้อยละ 4.5 ทางด้าน ปริมาณการ ใช้เช็ค เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 119,544 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 18.2 เหลือ 8,168.2 ล้านบาท ทางด้านเช็คคืนมีจำนวน 1,742 ฉบับ มูลค่า 94.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0 และ 10.9 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.1
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,125 ราย วงเงิน 1,878.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,114 ราย วงเงิน 798.8 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 70 ราย วงเงิน 160.8 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,055 ราย เป็นเงิน 1,718.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,893 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 4,016 ล้านบาทปีก่อน โดยรายได้ลดลงร้อยละ 8.2 เหลือ 412 ล้านบาท ลดลงมากจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทเงินได้จากดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ส่วนรายจ่ายลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 4,305 ล้านบาท เมื่อรวมเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 3,113 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสด 780 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่เกินดุล 838 ล้านบาท สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดสุโขทัยได้รับอนุมัติ 330 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 296 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการ สร้างงานเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจของราคาปีก่อน และปริมาณน้ำฝน ที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะ ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เป็น 294,977 เมตริกตัน ข้าวนาปรังและถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 และร้อยละ 2.6 เป็น 68,412 เมตริกตัน และ 46,931 เมตริกตัน ตามลำดับ ใบยาเบอร์เลย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เป็น 21,526 เมตริกตัน สำหรับ อ้อย ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 1,326,724 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียวผิวมัน ลดลงร้อยละ 1.9 และร้อยละ 2.9 เหลือจำนวน 28,018 เมตริกตัน และ 45,605 เมตริกตัน ตามลำดับ จากราคาพืชผลการเกษตรที่ต่ำลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 15.8
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นตามความต้องการเพื่อการก่อสร้าง กว่า 5 เท่าตัว เป็น 689,730 เมตริกตัน ขณะที่การผลิตหินอ่อนลดลงร้อยละ 42.3 เหลือ 28,440 เมตริกตัน การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากยอดการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 1.7 และร้อยละ 18.7 เหลือเพียง 800 คัน และ 4,280 คัน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 60.2 ปีก่อน และ ร้อยละ 44.4 ปีก่อน ตามลำดับ และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากปีก่อนเป็น 12,529 คน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.8 เหลือ 89 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.9 ปีก่อน สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดคงค้างทั้งสิ้น 786 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.4 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการชำระหนี้คืน ภาคบริการ ขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวที่อุทยานประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง ยังซบเซาไม่มี ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน และไม่มีการขอเปิดโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างกลับเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงเมื่อปีก่อน โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวเป็น 15,484 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 55.5 ปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 13,664 ตารางเมตร ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ยอดคงค้างทั้งสิ้น 547 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 24.2 ปีก่อน
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดสุโขทัย) มีจำนวนทั้งสิ้น 22,690 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 แต่ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 4.6 ขณะที่เงินเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 โดยเพิ่มขึ้นมากช่วงเดือน ธันวาคมเป็นสำคัญ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 10,054 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน เงินฝากบริเวณอำเภอเมืองลดลงร้อยละ 7.2 จากการลดลงของธุรกรรมต่างๆ และมีการถอนเงินเพื่อชำระหนี้ แต่สำหรับบริเวณอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 7.4 ลดลงมากจากการถอนเงินฝากช่วงเดือนธันวาคม เนื่องจากประชาชนเกรงปัญหา Y2K โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะปลูกเช่น อำเภอสวรรคโลก และ ศรีสำโรง ทางด้าน สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,970 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.9 ปีก่อน โดยลดลงมากจากสินเชื่อเพื่อการบริการ และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดย สินเชื่อบริเวณอำเภอเมืองลดลงร้อยละ 19.0 ส่วน บริเวณรอบนอกลดลงร้อยละ 4.5 ทางด้าน ปริมาณการ ใช้เช็ค เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 119,544 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 18.2 เหลือ 8,168.2 ล้านบาท ทางด้านเช็คคืนมีจำนวน 1,742 ฉบับ มูลค่า 94.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0 และ 10.9 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.1
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,125 ราย วงเงิน 1,878.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,114 ราย วงเงิน 798.8 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 70 ราย วงเงิน 160.8 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,055 ราย เป็นเงิน 1,718.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,893 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 4,016 ล้านบาทปีก่อน โดยรายได้ลดลงร้อยละ 8.2 เหลือ 412 ล้านบาท ลดลงมากจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทเงินได้จากดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ส่วนรายจ่ายลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 4,305 ล้านบาท เมื่อรวมเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 3,113 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสด 780 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่เกินดุล 838 ล้านบาท สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดสุโขทัยได้รับอนุมัติ 330 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 296 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการ สร้างงานเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-