ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ปรับปรุงกฎเกณฑ์การบริหารสถาบันการเงินและการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 ว่า ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การบริหารสถาบันการเงินและการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม จากเดิมที่กำหนดให้ผู้บริหาร ธพ.เป็นกรรมการในบริษัทและสถาบันการเงินได้ไม่เกิน 3 แห่งนั้น ผ่อนคลายให้สามารถเป็นกรรมการในบริษัทอื่นได้เกิน 3 แห่ง ยกเว้นกรณีของการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ยังคงห้ามดำรงตำแหน่งเกิน 3 แห่งเช่นเดิม เนื่องจากไม่ต้องการให้มีส่วนได้เสียเกิดขึ้นกับ ธพ. นอกจากนี้ ธปท.ยังเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้บริหาร ธพ.และผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริษัทและกรรมการบริษัทที่ถือหุ้น ธพ. หรือ กรรมการ ธพ.ที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัดเกินร้อยละ 5 โดยจะกู้เงินจาก ธพ.ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ ธพ. หรือไม่เกินร้อยละ 50 ของส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือไม่เกินร้อยละ 25 ของหนี้สินรวมของบริษัทจำกัด โดยให้เลือกจากเพดานต่ำสุดเป็นหลัก (ไทยโพสต์, ไทยรัฐ 7)
2. การปล่อยสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินยังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.เอเชีย จำกัด ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งหลังของปียังมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นเดียวกับในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งปีแรก ธพ. เน้นการปล่อยสินเชื่อบุคคลมากขึ้น สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินอาจลดลงไม่มากนักเนื่องจากการโอนเอ็นพีแอลของ ธพ. ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บสท.) มีจำนวนไม่มาก ซึ่งอาจทำให้ ธพ. แต่ละแห่งมีเอ็นพีแอลลดลงประมาณร้อยละ 1-2 เท่านั้น โดยจะมีการโอนเอ็นพีแอลดังนี้ 1) ธ. กรุงเทพจำนวน 2.7 หมื่น ล.บาท จากเป้าหมายเดิมจำนวน 6 หมื่น ล.บาท 2) ธ.กสิกรไทย 8 พัน ล.บาท จาก 2.2 หมื่น ล.บาท 3) ธ.ไทยพาณิชย์ 1 หมื่น ล.บาท จาก 2.2 หมื่น ล.บาท 4) ธ.กรุงศรีอยุธยา 8 พัน ล.บาท จาก 1 หมื่น ล.บาท 5) ธ.ทหารไทย 8.9 พัน ล.บาท จาก 1.3 หมื่น ล.บาท 6) ธ.เอเชีย 6 พัน ล.บาท จาก 7 พัน ล.บาท และ 7) ธ.ดีบีเอสไทยทนุ 1 พัน ล.บาท จาก 500-1,000 ล.บาท รวมเป็นยอดเอ็นพีแอลที่โอนให้ บสท. จำนวน 6.89 หมื่น ล.บาท (ข่าวสด 7)
3. ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรเดือน ส.ค.44 และช่วง 11 เดือนของปี งปม.44 อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรประจำเดือน ส.ค.44 ว่า จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 67,935.68 ล.บาท สูงกว่าเดือน ส.ค.43 จำนวน 10,272.83 ล.บาท หรือร้อยละ 17.82 และสูงกว่าประมาณการจำนวน 1,813.44 ล.บาท หรือร้อยละ 2.74 ส่วนผลการจัดเก็บรายได้ช่วง 11 เดือนของปี งปม.44 (ต.ค.43-ส.ค.44) จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 465,711.05 ล.บาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 9,964.56 ล.บาท หรือร้อยละ 2.19 ทั้งนี้คาดว่าเดือน ก.ย.44 จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 490,210 ล.บาท ไม่น้อยกว่า 6,000 ล.บาท สำหรับปี งปม.45 กำหนดเป้าหมายจัดเก็บรายได้ไว้จำนวน 515,000 ล.บาท (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ก.ค.44 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยรวมหลังปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.4 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แต่ลดลงในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบที่ลดลงร้อยละ 2.4 ตามตัวเลขปรับใหม่ในเดือน มิ.ย.44 แต่ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 โดยเฉลี่ย โดยในเดือน ก.ค.นี้ คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย.44 คำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.2 ซึ่งตัวเลขคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่ลดลงในเดือน ก.ค. เป็นผลจากการลดลงในส่วนของคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ลดลงถึงร้อยละ 7.1 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ ตัวเลขตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ดังกล่าวเป็นการย้ำว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังไม่พ้นจากภาวะตกต่ำในปีนี้ แต่คาดว่าจะฟื้นตัวได้เป็นครั้งแรกในต้นปี 45 (รอยเตอร์ 6)
2. ญี่ปุ่นประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 7 ก.ย.44 Cabinet Office รายงานว่า ไตรมาสที่ 2 ปี ผลิตภัณฑ์ในประเทศตามราคาที่แท้จริง (real GDP) ของญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส และหดตัวร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี ซึ่งดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะหดตัวร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 การใช้จ่ายรวมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 การส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 การนำเข้าลดลงร้อยละ 2.5 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ของจีดีพี ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ส่วน GDP deflator ลดลงร้อยละ 1.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์ 7)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับดือนก่อนหน้า รายงานจาก Wiesbaden เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 แต่เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ CPI เทียบต่อปีในเดือน ส.ค.นี้ แสดงถึงความมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.44 ที่ CPI ในอัตราเทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ในอัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม คาดว่า CPI ในอัตราเทียบต่อปีจะลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 3.5 ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 6)
4. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 71.4 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Index) ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 71.4 เพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 เป็นเครื่องชี้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงเดือนที่กำลังมาถึง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่าวว่า หากไม่ได้รับการเกื้อหนุนจากปัจจัยพิเศษเช่น โครงการก่อสร้างสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนแล้ว ดัชนีฯ ในเดือน ก.ค. จะอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ทางด้าน Coincident Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยืนอยู่ที่ระดับ 12.5 และ Lagging Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 50 (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 44 44.487 (44.297)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 44ซื้อ 44.3095 (43.1065) ขาย 44.5795 (44.3987)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800(5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.09 (24.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับปรุงกฎเกณฑ์การบริหารสถาบันการเงินและการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 ว่า ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การบริหารสถาบันการเงินและการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม จากเดิมที่กำหนดให้ผู้บริหาร ธพ.เป็นกรรมการในบริษัทและสถาบันการเงินได้ไม่เกิน 3 แห่งนั้น ผ่อนคลายให้สามารถเป็นกรรมการในบริษัทอื่นได้เกิน 3 แห่ง ยกเว้นกรณีของการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ยังคงห้ามดำรงตำแหน่งเกิน 3 แห่งเช่นเดิม เนื่องจากไม่ต้องการให้มีส่วนได้เสียเกิดขึ้นกับ ธพ. นอกจากนี้ ธปท.ยังเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้บริหาร ธพ.และผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริษัทและกรรมการบริษัทที่ถือหุ้น ธพ. หรือ กรรมการ ธพ.ที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัดเกินร้อยละ 5 โดยจะกู้เงินจาก ธพ.ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ ธพ. หรือไม่เกินร้อยละ 50 ของส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือไม่เกินร้อยละ 25 ของหนี้สินรวมของบริษัทจำกัด โดยให้เลือกจากเพดานต่ำสุดเป็นหลัก (ไทยโพสต์, ไทยรัฐ 7)
2. การปล่อยสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินยังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.เอเชีย จำกัด ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินในช่วงครึ่งหลังของปียังมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นเดียวกับในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา โดยในช่วงครึ่งปีแรก ธพ. เน้นการปล่อยสินเชื่อบุคคลมากขึ้น สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินอาจลดลงไม่มากนักเนื่องจากการโอนเอ็นพีแอลของ ธพ. ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บสท.) มีจำนวนไม่มาก ซึ่งอาจทำให้ ธพ. แต่ละแห่งมีเอ็นพีแอลลดลงประมาณร้อยละ 1-2 เท่านั้น โดยจะมีการโอนเอ็นพีแอลดังนี้ 1) ธ. กรุงเทพจำนวน 2.7 หมื่น ล.บาท จากเป้าหมายเดิมจำนวน 6 หมื่น ล.บาท 2) ธ.กสิกรไทย 8 พัน ล.บาท จาก 2.2 หมื่น ล.บาท 3) ธ.ไทยพาณิชย์ 1 หมื่น ล.บาท จาก 2.2 หมื่น ล.บาท 4) ธ.กรุงศรีอยุธยา 8 พัน ล.บาท จาก 1 หมื่น ล.บาท 5) ธ.ทหารไทย 8.9 พัน ล.บาท จาก 1.3 หมื่น ล.บาท 6) ธ.เอเชีย 6 พัน ล.บาท จาก 7 พัน ล.บาท และ 7) ธ.ดีบีเอสไทยทนุ 1 พัน ล.บาท จาก 500-1,000 ล.บาท รวมเป็นยอดเอ็นพีแอลที่โอนให้ บสท. จำนวน 6.89 หมื่น ล.บาท (ข่าวสด 7)
3. ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรเดือน ส.ค.44 และช่วง 11 เดือนของปี งปม.44 อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรประจำเดือน ส.ค.44 ว่า จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 67,935.68 ล.บาท สูงกว่าเดือน ส.ค.43 จำนวน 10,272.83 ล.บาท หรือร้อยละ 17.82 และสูงกว่าประมาณการจำนวน 1,813.44 ล.บาท หรือร้อยละ 2.74 ส่วนผลการจัดเก็บรายได้ช่วง 11 เดือนของปี งปม.44 (ต.ค.43-ส.ค.44) จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 465,711.05 ล.บาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 9,964.56 ล.บาท หรือร้อยละ 2.19 ทั้งนี้คาดว่าเดือน ก.ย.44 จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 490,210 ล.บาท ไม่น้อยกว่า 6,000 ล.บาท สำหรับปี งปม.45 กำหนดเป้าหมายจัดเก็บรายได้ไว้จำนวน 515,000 ล.บาท (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ก.ค.44 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยรวมหลังปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 1.4 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แต่ลดลงในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบที่ลดลงร้อยละ 2.4 ตามตัวเลขปรับใหม่ในเดือน มิ.ย.44 แต่ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 โดยเฉลี่ย โดยในเดือน ก.ค.นี้ คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 4.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย.44 คำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.2 ซึ่งตัวเลขคำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศที่ลดลงในเดือน ก.ค. เป็นผลจากการลดลงในส่วนของคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ลดลงถึงร้อยละ 7.1 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ ตัวเลขตัวเลขคำสั่งซื้อฯ ดังกล่าวเป็นการย้ำว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังไม่พ้นจากภาวะตกต่ำในปีนี้ แต่คาดว่าจะฟื้นตัวได้เป็นครั้งแรกในต้นปี 45 (รอยเตอร์ 6)
2. ญี่ปุ่นประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 7 ก.ย.44 Cabinet Office รายงานว่า ไตรมาสที่ 2 ปี ผลิตภัณฑ์ในประเทศตามราคาที่แท้จริง (real GDP) ของญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส และหดตัวร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี ซึ่งดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะหดตัวร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 การใช้จ่ายรวมของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 การส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 การนำเข้าลดลงร้อยละ 2.5 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ของจีดีพี ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ส่วน GDP deflator ลดลงร้อยละ 1.1 เทียบต่อปี (รอยเตอร์ 7)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับดือนก่อนหน้า รายงานจาก Wiesbaden เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า เดือน ส.ค.44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 แต่เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ CPI เทียบต่อปีในเดือน ส.ค.นี้ แสดงถึงความมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.44 ที่ CPI ในอัตราเทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ในอัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม คาดว่า CPI ในอัตราเทียบต่อปีจะลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 3.5 ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์ 6)
4. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 71.4 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 6 ก.ย.44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Index) ซึ่งเป็นตัวเลขเบื้องต้นอยู่ที่ระดับ 71.4 เพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 เป็นเครื่องชี้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงเดือนที่กำลังมาถึง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่าวว่า หากไม่ได้รับการเกื้อหนุนจากปัจจัยพิเศษเช่น โครงการก่อสร้างสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนแล้ว ดัชนีฯ ในเดือน ก.ค. จะอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ทางด้าน Coincident Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ยืนอยู่ที่ระดับ 12.5 และ Lagging Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 50 (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 44 44.487 (44.297)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 44ซื้อ 44.3095 (43.1065) ขาย 44.5795 (44.3987)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800(5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.09 (24.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-