1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าทีมีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
อาหารสัตว์ : นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหาร เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 ที่ประชุมมีมติคงนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ไว้เช่นเดียวกับปี 2543 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ดังนี้ 1. กากถั่วเหลือง
1.1 การนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO
- นำเข้าได้เสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า ภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 5 นอกโควตาร้อยละ 119
- ผู้มีสิทธินำเข้าในโควตาเดิมประกอบด้วย 5 สมาคม ได้แก่ (1) สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย (2) สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก (3) สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก (4) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (5) สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์
- อนุมัติเพิ่มเติมผู้นำเข้ากากถั่วเหลืองในโควตา 1 ราย คือ สมาคมปศุสัตว์ไทย
- กำหนดเงื่อนไขผู้นำเข้า ต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมด ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืชตลาด กทม. และผู้นำเข้าต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.2 การนำเข้าจากประเทศไม่ใช่สมาชิก WTO
- นำเข้าได้เสรีไม่จำกัดจำนวนและช่วงเวลานำเข้าภาษีนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท 2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2.1 การนำเข้าในโควตาจากประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก WTO ปริมาณ นำเข้ารวมกันไม่เกิน 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 และกำหนดระยะเวลานำเข้า ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544
2.2 การนำเข้านอกโควตา นำเข้าเสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า โดยการนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท และการนำเข้าจากประเทศไม่ใช่สมาชิก WTO อากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (อัตราอากรนำเข้าและค่าอากรพิเศษเมื่อรวมกันแล้วใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท 3. ปลาป่น
3.1 กำหนดให้นำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ได้โดยเสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า ภาษีนำเข้าร้อยละ 15
3.2 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ภาษีนำเข้าร้อยละ 5 และต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศภาคีอาเซียน ผลกระทบจากการทำการเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องการแก้ไขปัญหาจากภาคการเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งเอเซีย ระหว่างวันที่ 6-13 กันยายน 2543 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
การประชุมสัมมนา กล่าวถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคการเกษตรของประเทศในเอเซีย มีสาเหตุจากการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมา และการเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง ส่งผลให้สัดส่วนทรัพยากรธรรมชาติของคนเอเซียลดลง การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรจนเกินขีดความสามารถในการสร้างทดแทนตามธรรมชาติ อาทิ การขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยบุกรุกทำลายป่า ทำให้ดินชะล้างพังทะลายและสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ การเกษตรระบบพืชเดียวเชิงการค้า ที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษในดินและแหล่งน้ำ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผลิตภาพของภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง
จากปัญหาดังกล่าวหลายประเทศมีความพยายามปรับทิศทางการพัฒนาการเกษตร ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อบรรเทา ผลกระทบจากภาคเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่น ลดการใช้สารเคมีการเกษตร ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ สนับสนุนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
อนึ่ง ปัจจุบันผู้บริโภคมีความตื่นตัวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษจนผลิตใม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้สินค้ามีราคาสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการยกระดับรายได้ของเกษตรกร และสนับสนุนการเกษตรเชิงอนุรักษ์ให้มีความเป็นไปได้สูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 25 ก.ย.- 1 ต.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าทีมีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
อาหารสัตว์ : นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหาร เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 ที่ประชุมมีมติคงนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ไว้เช่นเดียวกับปี 2543 เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ดังนี้ 1. กากถั่วเหลือง
1.1 การนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO
- นำเข้าได้เสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า ภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 5 นอกโควตาร้อยละ 119
- ผู้มีสิทธินำเข้าในโควตาเดิมประกอบด้วย 5 สมาคม ได้แก่ (1) สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย (2) สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก (3) สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก (4) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (5) สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์
- อนุมัติเพิ่มเติมผู้นำเข้ากากถั่วเหลืองในโควตา 1 ราย คือ สมาคมปศุสัตว์ไทย
- กำหนดเงื่อนไขผู้นำเข้า ต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมด ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืชตลาด กทม. และผู้นำเข้าต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.2 การนำเข้าจากประเทศไม่ใช่สมาชิก WTO
- นำเข้าได้เสรีไม่จำกัดจำนวนและช่วงเวลานำเข้าภาษีนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท 2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2.1 การนำเข้าในโควตาจากประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก WTO ปริมาณ นำเข้ารวมกันไม่เกิน 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 และกำหนดระยะเวลานำเข้า ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544
2.2 การนำเข้านอกโควตา นำเข้าเสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า โดยการนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท และการนำเข้าจากประเทศไม่ใช่สมาชิก WTO อากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (อัตราอากรนำเข้าและค่าอากรพิเศษเมื่อรวมกันแล้วใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท 3. ปลาป่น
3.1 กำหนดให้นำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ได้โดยเสรีไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า ภาษีนำเข้าร้อยละ 15
3.2 การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ภาษีนำเข้าร้อยละ 5 และต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศภาคีอาเซียน ผลกระทบจากการทำการเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องการแก้ไขปัญหาจากภาคการเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งเอเซีย ระหว่างวันที่ 6-13 กันยายน 2543 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
การประชุมสัมมนา กล่าวถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคการเกษตรของประเทศในเอเซีย มีสาเหตุจากการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมา และการเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง ส่งผลให้สัดส่วนทรัพยากรธรรมชาติของคนเอเซียลดลง การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรจนเกินขีดความสามารถในการสร้างทดแทนตามธรรมชาติ อาทิ การขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยบุกรุกทำลายป่า ทำให้ดินชะล้างพังทะลายและสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ การเกษตรระบบพืชเดียวเชิงการค้า ที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลพิษในดินและแหล่งน้ำ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผลิตภาพของภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง
จากปัญหาดังกล่าวหลายประเทศมีความพยายามปรับทิศทางการพัฒนาการเกษตร ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อบรรเทา ผลกระทบจากภาคเกษตรต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่น ลดการใช้สารเคมีการเกษตร ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ สนับสนุนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
อนึ่ง ปัจจุบันผู้บริโภคมีความตื่นตัวกับสินค้าเกษตรปลอดสารพิษจนผลิตใม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้สินค้ามีราคาสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการยกระดับรายได้ของเกษตรกร และสนับสนุนการเกษตรเชิงอนุรักษ์ให้มีความเป็นไปได้สูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 25 ก.ย.- 1 ต.ค. 2543--
-สส-