แท็ก
กรมประมง
1. สถานการณ์การผลิต กรมประมงห้ามจับปูมีไข่นอกกระดอง ช่วง ตค.-ธค. ของทุกปี
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวถึง ผลการประชุมโครงการวิจัยเพาะเลี้ยงปูทะเล ซึ่งพบว่า มีผู้ลักลอบทำการประมงปูมีไข่นอกกระดองจำนวนมากทำให้เกิดผลกระทบต่อพันธุ์ปูทะเลของไทยหลายชนิดจนน่าเป็นห่วงว่าใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น กรมประมงได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดชายทะเลทุกจังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดกวดขันเรื่องการห้ามทำการประมงปูมีไข่นอกกระดองตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2526 อย่างเคร่งครัด โดยประกาศกฎกระทรวงดังกล่าวมีใจความว่า ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงปูในทะเล ไม่ว่าด้วยวิธีใดแก่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ระหว่างเดือน ตค.-ธค. ของทุกปี ได้แก่ ปูทะเล ปูม้า และปูลาย ยกเว้นเจ้าหน้าที่ผู้ทำการประมง เพื่อการทดลองค้นคว้าทางวิชาการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-29 กพ. 43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,256.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 571.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 685.08 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.84 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.10 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด กองเรือประมงปลาทูน่านิยมใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มากขึ้น
รายงานข่าวจากท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต แจ้งว่าขณะนี้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีกองเรือประมงปลาทูน่าของต่างชาตินิยมเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ โดยเฉพาะเรือประมงทูน่าเบ็ดราว การที่เรือประมงเหล่านี้มาใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต เพราะเป็นท่าเทียบเรือที่ใกล้กับแหล่งทำประมง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกในการนำสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสนามบิน ที่มีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก และกองเรือต่างประเทศเหล่านั้นมั่นใจในความปลอดภัยของภูเก็ตที่เป็นเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ปีที่ผ่านมา กองเรือทูน่าหันมาใช้บริการท่าเรือของภูเก็ตมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียประสบปัญหาภายในประเทศ จึงมีการย้ายฐานมาที่ภูเก็ต โดยขณะนี้โบรกเกอร์ที่รับดำเนินการจัดหาตลาดในการส่งทูน่าไปยังต่างประเทศจากเดิม ซึ่งมีเพียง 2 ราย เพิ่มเป็น 7 ราย อย่างไรก็ตามปัญหาที่กำลังประสบขณะนี้ เป็นเรื่องพื้นที่ ซึ่งให้บริการไม่เพียงพอ เพราะเรือประมงไทยก็มีจำนวนมาก ทำให้ท่าเทียบเรือดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับจำนวนเรือที่เพิ่มมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.24 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 356.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 347.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 386.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 371.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.76 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 19.53 บาท สูงขึ้นจาก 18.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 22.38 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 28 กพ.- 3 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 28 ก.พ - 5 มี.ค.2543--
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวถึง ผลการประชุมโครงการวิจัยเพาะเลี้ยงปูทะเล ซึ่งพบว่า มีผู้ลักลอบทำการประมงปูมีไข่นอกกระดองจำนวนมากทำให้เกิดผลกระทบต่อพันธุ์ปูทะเลของไทยหลายชนิดจนน่าเป็นห่วงว่าใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น กรมประมงได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดชายทะเลทุกจังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดกวดขันเรื่องการห้ามทำการประมงปูมีไข่นอกกระดองตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2526 อย่างเคร่งครัด โดยประกาศกฎกระทรวงดังกล่าวมีใจความว่า ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงปูในทะเล ไม่ว่าด้วยวิธีใดแก่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ระหว่างเดือน ตค.-ธค. ของทุกปี ได้แก่ ปูทะเล ปูม้า และปูลาย ยกเว้นเจ้าหน้าที่ผู้ทำการประมง เพื่อการทดลองค้นคว้าทางวิชาการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-29 กพ. 43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,256.52 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 571.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 685.08 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.14 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.84 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.10 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด กองเรือประมงปลาทูน่านิยมใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มากขึ้น
รายงานข่าวจากท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต แจ้งว่าขณะนี้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีกองเรือประมงปลาทูน่าของต่างชาตินิยมเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ โดยเฉพาะเรือประมงทูน่าเบ็ดราว การที่เรือประมงเหล่านี้มาใช้บริการที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต เพราะเป็นท่าเทียบเรือที่ใกล้กับแหล่งทำประมง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกในการนำสินค้าส่งออก โดยเฉพาะสนามบิน ที่มีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก และกองเรือต่างประเทศเหล่านั้นมั่นใจในความปลอดภัยของภูเก็ตที่เป็นเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ปีที่ผ่านมา กองเรือทูน่าหันมาใช้บริการท่าเรือของภูเก็ตมากขึ้น เนื่องจากอินโดนีเซียประสบปัญหาภายในประเทศ จึงมีการย้ายฐานมาที่ภูเก็ต โดยขณะนี้โบรกเกอร์ที่รับดำเนินการจัดหาตลาดในการส่งทูน่าไปยังต่างประเทศจากเดิม ซึ่งมีเพียง 2 ราย เพิ่มเป็น 7 ราย อย่างไรก็ตามปัญหาที่กำลังประสบขณะนี้ เป็นเรื่องพื้นที่ ซึ่งให้บริการไม่เพียงพอ เพราะเรือประมงไทยก็มีจำนวนมาก ทำให้ท่าเทียบเรือดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับจำนวนเรือที่เพิ่มมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.24 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 356.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 347.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 386.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 371.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.76 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 19.53 บาท สูงขึ้นจาก 18.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.33 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 22.38 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 28 กพ.- 3 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 28 ก.พ - 5 มี.ค.2543--