ข้อมูลพื้นฐานระนอง
ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เศรษฐกิจของจังหวัดระนองโดยทั่วไปชะลอตัวลง เนื่องจากประมงซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญชะลอตัวลง เป็นผลจากการปิดสัมปทานการประมงของพม่า อย่างไรก็ตามจากการที่ การค้ากระเตื้องขึ้นและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดชะลอลงไม่มากนัก
ภาคการเกษตร
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดไม่มาก เนื่องจากในช่วงมกราคมถึงเมษายนเป็นฤดูกาลยางผลัดใบ และในเดือน พฤษภาคม ซึ่งเริ่มเปิดหน้ายางและกรีดยางในฤดูกาลใหม่ สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้เกษตรกรมีวันกรีดยางน้อย ส่วนเดือนมิถุนายนเป็นผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ทางด้านตลาดมีความต้องการมากขึ้น ส่งผลให้ราคายางในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 20.74 บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.4
ประมง การทำประมงอยู่ในภาวะชะลอตัวหลังจากพม่าได้ปิดสัมปทานการประมงตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณ สัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาลดน้อยลง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 14,670 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.5 แต่มูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.4 เป็น 1,101.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสัตว์น้ำสูงขึ้น เกือบทุกประเภท ตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนโรงงานปลาป่นน้อยลง จะเห็นได้จากปริมาณปลาเป็ดที่นำขึ้น ท่าเทียบเรือประมงของ องค์การสะพานปลามีจำนวน 904 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 85.2 ทำให้ต้องมีการซื้อวัตถุดิบจากฝั่งอันดามัน ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ทางด้านกุ้งกุลาดำ ในช่วงไตรมาสแรกผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยและมีปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตามในช่วง พฤษภาคม ถึงมิถุนายน ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็ก
นอกภาคการเกษตร
สาขาการค้า กระเตื้องขึ้นมากทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้า โดยในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีมูลค่า ส่งออก 1,990.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.1 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเครื่องดื่มให้พลังงาน นมข้นหวาน น้ำตาลทราย น้ำมันพืช เหล็ก น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเชื้อเพลิง และเวชภัณฑ์ยา ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 98.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 สินค้าที่นำเข้า ส่วนใหญ่ได้แก่ สินแร่ดีบุก ถ่านไม้ป่าชายเลน และเม็ดละหุ่ง
ขณะเดียวกันการค้ารถภายในจังหวัดกระเตื้องขึ้นมาก โดยรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียนรถใหม่ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด 72 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 222 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ส่วนรถจักรยานยนต์ 458 คัน ลดลงร้อยละ 7.1
สาขาการลงทุน ยังคงซบเซา พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 4,993 ตารางเมตร ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ร้อยละ 57.6 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันมีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ 16 ราย ทุนจดทะเบียน 12.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และ 62.8 ตามลำดับ
สาขาการคลัง ส่วนราชการในจังหวัดระนองได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปทั้งสิ้น 821.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตามนโยบาย เร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2543 ของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 111.1 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 22.3 เนื่องจากมีการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ทำให้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 100.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.6
สาขาการเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในจังหวัดในช่วงครึ่งแรกนี้ไม่คึกคัก เนื่องจากการประมงซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจ สำคัญอยู่ในภาวะชะลอลง จากการที่ประเทศพม่าปิดสัมปทาน ราคาน้ำมันสูงขึ้นและพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินสดของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยไทยลดลง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,339.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.4 และนำฝาก 2,345.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 ทางด้านการใช้เช็คก็มีจำนวนลดลงเช่นกัน โดยเช็คซึ่งผ่าน สำนักหักบัญชีในจังหวัดระนองมีจำนวน 83,292 ฉบับ มูลค่า 7,222.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 และ 31.3 ตามลำดับ
ทางด้านสาขาธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เนื่องจากสภาพคล่องล้นระบบธนาคารพาณิชย์ ไม่จูงใจ ให้ประชาชนนำเงินมาฝาก ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอลง ส่งผลให้เงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 9,861.5 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ส่วนเงินให้สินเชื่อลดลงเช่นกัน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มี การระมัดระวังในการ ให้สินเชื่อมากขึ้น โดยมียอดคงค้าง 4,703.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในจังหวัดระนอง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ 1,121 ราย จำนวนเงิน 123 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 131 ราย จำนวนเงิน 371 ล้านบาท
สำหรับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อกับกิจการในจังหวัดระนองจำนวน 3 ราย เงินกู้ 43.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.0 และ 40.1 ตามลำดับ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดระนอง ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2543
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 การประมงในน่านน้ำพม่ายังคงมีปัญหา เนื่องจากพม่ายังไม่มีการเปิดสัมปทานประมงให้ ซึ่งส่งผลกระทบ อุตสาหกรรม ที่ต่อเนื่องจากการทำประมง เช่น แพปลา โรงงาน ปลาป่น ห้องเย็น และโรงน้ำแข็ง ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตามการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนมากขึ้น และทำให้การ ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินมีความคืบหน้ามากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เศรษฐกิจของจังหวัดระนองโดยทั่วไปชะลอตัวลง เนื่องจากประมงซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญชะลอตัวลง เป็นผลจากการปิดสัมปทานการประมงของพม่า อย่างไรก็ตามจากการที่ การค้ากระเตื้องขึ้นและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสูงขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดชะลอลงไม่มากนัก
ภาคการเกษตร
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดไม่มาก เนื่องจากในช่วงมกราคมถึงเมษายนเป็นฤดูกาลยางผลัดใบ และในเดือน พฤษภาคม ซึ่งเริ่มเปิดหน้ายางและกรีดยางในฤดูกาลใหม่ สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้เกษตรกรมีวันกรีดยางน้อย ส่วนเดือนมิถุนายนเป็นผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ทางด้านตลาดมีความต้องการมากขึ้น ส่งผลให้ราคายางในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 20.74 บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.4
ประมง การทำประมงอยู่ในภาวะชะลอตัวหลังจากพม่าได้ปิดสัมปทานการประมงตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2542 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณ สัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาลดน้อยลง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 14,670 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.5 แต่มูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.4 เป็น 1,101.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสัตว์น้ำสูงขึ้น เกือบทุกประเภท ตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง
ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนโรงงานปลาป่นน้อยลง จะเห็นได้จากปริมาณปลาเป็ดที่นำขึ้น ท่าเทียบเรือประมงของ องค์การสะพานปลามีจำนวน 904 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 85.2 ทำให้ต้องมีการซื้อวัตถุดิบจากฝั่งอันดามัน ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ทางด้านกุ้งกุลาดำ ในช่วงไตรมาสแรกผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยและมีปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตามในช่วง พฤษภาคม ถึงมิถุนายน ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็ก
นอกภาคการเกษตร
สาขาการค้า กระเตื้องขึ้นมากทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้า โดยในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีมูลค่า ส่งออก 1,990.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.1 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเครื่องดื่มให้พลังงาน นมข้นหวาน น้ำตาลทราย น้ำมันพืช เหล็ก น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเชื้อเพลิง และเวชภัณฑ์ยา ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 98.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 สินค้าที่นำเข้า ส่วนใหญ่ได้แก่ สินแร่ดีบุก ถ่านไม้ป่าชายเลน และเม็ดละหุ่ง
ขณะเดียวกันการค้ารถภายในจังหวัดกระเตื้องขึ้นมาก โดยรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียนรถใหม่ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด 72 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 222 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ส่วนรถจักรยานยนต์ 458 คัน ลดลงร้อยละ 7.1
สาขาการลงทุน ยังคงซบเซา พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 4,993 ตารางเมตร ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ร้อยละ 57.6 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันมีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ 16 ราย ทุนจดทะเบียน 12.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และ 62.8 ตามลำดับ
สาขาการคลัง ส่วนราชการในจังหวัดระนองได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปทั้งสิ้น 821.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตามนโยบาย เร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2543 ของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 111.1 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 22.3 เนื่องจากมีการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ทำให้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 100.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.6
สาขาการเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในจังหวัดในช่วงครึ่งแรกนี้ไม่คึกคัก เนื่องจากการประมงซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจ สำคัญอยู่ในภาวะชะลอลง จากการที่ประเทศพม่าปิดสัมปทาน ราคาน้ำมันสูงขึ้นและพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินสดของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยไทยลดลง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,339.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.4 และนำฝาก 2,345.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 ทางด้านการใช้เช็คก็มีจำนวนลดลงเช่นกัน โดยเช็คซึ่งผ่าน สำนักหักบัญชีในจังหวัดระนองมีจำนวน 83,292 ฉบับ มูลค่า 7,222.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 และ 31.3 ตามลำดับ
ทางด้านสาขาธนาคารพาณิชย์ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เนื่องจากสภาพคล่องล้นระบบธนาคารพาณิชย์ ไม่จูงใจ ให้ประชาชนนำเงินมาฝาก ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอลง ส่งผลให้เงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 9,861.5 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ส่วนเงินให้สินเชื่อลดลงเช่นกัน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มี การระมัดระวังในการ ให้สินเชื่อมากขึ้น โดยมียอดคงค้าง 4,703.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในจังหวัดระนอง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ 1,121 ราย จำนวนเงิน 123 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 131 ราย จำนวนเงิน 371 ล้านบาท
สำหรับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อกับกิจการในจังหวัดระนองจำนวน 3 ราย เงินกู้ 43.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.0 และ 40.1 ตามลำดับ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดระนอง ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2543
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 การประมงในน่านน้ำพม่ายังคงมีปัญหา เนื่องจากพม่ายังไม่มีการเปิดสัมปทานประมงให้ ซึ่งส่งผลกระทบ อุตสาหกรรม ที่ต่อเนื่องจากการทำประมง เช่น แพปลา โรงงาน ปลาป่น ห้องเย็น และโรงน้ำแข็ง ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตามการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนมากขึ้น และทำให้การ ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินมีความคืบหน้ามากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-