กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
1. ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2543 ณ เมืองบานฟ์ประเทศแคนาดา เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
2. ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ ได้เชิญ ดร. ฟรานส์ ฟิชเลอร์ (Franz Fischler) กรรมมาธิการเกษตรของสหภาพยุโรป และ ดร. โยเซฟ บูโตรส กาลี (Youssef Boutros Ghali) รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอียิปต์ ในฐานะผู้แทนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้นำเข้าอาหารสุทธิ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและความสัมพันธ์ในเรื่องการเจรจาการค้าสินค้าเกษตร
3. ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปจะมีท่าทีมาโดยตลอดว่า ไม่สนับสนุนให้มีการเจรจาเปิดการค้าสินค้าเกษตร แต่ในการประชุมกับรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ครั้งนี้ ดร. ฟิชเลอร์ได้กล่าวว่า สหภาพยุโรปจะร่วมมือในการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรใน WTO ที่นครเจนีวา และ สหภาพยุโรปไม่ปฏิเสธที่จะเปิดตลาดและลดการอุดหนุนภายใน และ การอุดหนุนส่งออก ภายใต้เงื่อนไขว่า ทุกประเทศจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปดังกล่าว และสหภาพยุโรปจะยังคงให้ความช่วยเหลือเพื่อการปฏิรูปภาคเกษตรตามความต้องการของสังคมต่อไปได้ และจะต้องมีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแข่งขันส่งออกที่บิดเบือนการค้า (เช่น การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก) ที่เท่าเทียมกันการลด/ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกด้วย แต่สหภาพยุโรปจะไม่ยอมรับให้มีกฎเกณฑ์ในเรื่องเกษตร เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมได้
4. ดร. บรูโตรส กาลี รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของอียิปต์ได้กล่าวให้การสนับสนุนการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรว่า จะต้องมีการลดภาษีลงอย่างมาก โดยเฉพาะให้กับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อย เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีในขณะนี้ยังมีอัตราสูงและมีการใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อปิดตลาดอยู่มาก นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้มีการลดการอุดหนุนส่งออกอย่างมากโดยเร็ว ถึงแม้ว่าอียิปต์จะเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิ และต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารก็ตาม แต่เห็นว่าการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวควรให้แก่ผู้บริโภค มิใช่ให้การอุดหนุนส่งออก ที่มีผลต่อการบิดเบือนความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อียิปต์อาจเป็นผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรก็ได้ หากไม่มีการอุดหนุนส่งออกโดยประเทศต่างๆ
5. รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้หารือระหว่างประเทศสมาชิก 18 ประเทศ เพื่อวางกลยุทธ์ของกลุ่มในการผลักดันการเจรจาสินค้าเกษตรและได้มีท่าทีตอบรับการเจรจาสินค้าเกษตรที่เริ่มขบวนการใน WTO ตั้งแต่ต้นปี 2543 แต่เห็นว่าสมาชิก WTO จะต้องเร่งการเจรจาดังกล่าวให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อให้ประชากรโลก มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจะต้องปรับปรุงและแก้ไขกฎเกณฑ์ความตกลงเกษตร เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกีดกันและการบิดเบือนการค้าสินค้าเกษตรต่อไป
6. รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ยืนยันว่า จะต้องทำให้เกิดระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมให้ได้ และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก WTO เข้าร่วมเจรจาโดยยื่นข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งเตรียมตัวเพื่อการเจรจาอย่างจริงจังในเดือน มีนาคม 2544 ต่อไป
7. รัฐมนตรีฯ เห็นพ้องกันว่าการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรที่แท้จริงและรวดเร็ว จะมีความสำคัญยิ่งต่อระบบการค้าพหุภาคี เนื่องจากจะช่วยลดข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันได้ ทั้งนี้หากการเจรจาจะต้องล่าช้าไปกว่าปี 2546 (หลังจากข้อยกเว้นในการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน หรือ Peace Clause หมดอายุลง) ก็จะต้องเกิดข้อพิพาททางการค้ามากขึ้นได้
8. รัฐมนตรีฯ เห็นว่า การที่ประเทศสมาชิกบางประเทศใช้มาตรการต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นมาตรการที่ไม่เกี่ยวกับการค้า (non-trade concerns) แต่มาตรการดังกล่าวกลับมีผลเสียหายต่อประเทศอื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ การใช้มาตรการ non-trade concerns จะต้องไม่มีผลบิดเบือนการค้า หรือ ใช้มาตรการดังกล่าว จะเป็นการกีดกันทางการค้าโดยแอบแฝง
9. นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้แสดงความยินดีที่ประเทศมีบทบาทในการเจรจาสินค้าเกษตรมากขึ้น (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ยื่นข้อเสนอเจรจาสินค้าเกษตร 3 ฉบับ) และเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนามีความจำเป็นต่อประเทศกำลังพัฒนา และย้ำว่าการให้เงินช่วยเหลือไม่ใช่สิ่งที่ทดแทนการค้าได้ แต่การที่ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้กับประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นพัฒนาประเทศต่อไปได้ ดังนั้นการเจรจาเพื่อปฏิรูปและการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา จึงจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาชนบท และความมั่นคงด้านอาหารได้
10. ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้เสนอกลยุทธ์ของกลุ่มเคร์นส์ ในการผลักดันการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร ในประเด็นสำคัญดังนี้
1). กลุ่มเคร์นส์ควรจัดทำข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อชี้ประเด็น ผลดี ผลเสีย ในเรื่องต่างๆ ในการเจรจาเปิดตลาด การอุดหนุนภายในและ การอุดหนุนส่งออก เพื่อเป็นพื้นฐานในการโน้มน้าวสมาชิกอื่นๆให้การสนับสนุนกลุ่มเคร์นส์
2). กลุ่มเคร์นส์ ควรจัดทำข้อเสนอรูปแบบ วิธีการเจรจา สินค้าเกษตรทั้ง 3 ด้าน คือ การเปิดตลาด การลดอุดหนุนภายใน และ ส่งออก เพื่อให้การเจรจาทั้ง 3 เรื่องมีความคืบหน้าไป พร้อมๆกันและดึงให้ประเทศที่มีปัญหาในด้านหนึ่ง แต่ได้รับประโยชน์ในอีกด้านหนึ่ง เข้าร่วมเจรจาด้วย
3). หาแนวร่วมกลุ่มเพิ่มขึ้น โครงสร้างความสัมพันธ์ผ่าน "อังค์แทด" เพื่อโน้มน้าวประเทศกำลังพัฒนาให้การสนับสนุนการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ทั้งนี้อาจประสานกับ "อังค์แทด" เพื่อศึกษา ผลประโยชน์ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับ เป็นต้น
4). ควรมอบหมายให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มเคร์นส์ สร้างเครือข่ายประสานประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคของตน เพื่อทำความเข้าใจและโน้มน้าว ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มเคร์นส์ให้การสนับสนุนท่าทีกลุ่ม
5). จัดหาเอกสารทางวิชาการ และ เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณะชน ในเรื่องผลกระทบของบทบาทที่หลากหลายในเรื่องเกษตร (multifunctionality) ในแง่มุมที่แตกต่างจากกลุ่มที่ปกป้องภาคเกษตร เพื่อให้สาธารณชนและประเทศที่เป็นกลางได้เข้าใจข้อเท็จจริง และ มีมุมมองที่ถูกต้อง
6). ประสานงานกับนอกกลุ่ม อาทิ นักการเมือง นักวิชาการ และประเทศที่เป็นกลางให้มากขึ้น
11. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ เอกอัครราชทูตกลุ่มเคร์นส์ ณ นครเจนวา ดำเนินการจัดทำรายชื่อประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อมอบหมายหน้าที่ในการประสานงานและโน้มน้าวประเทศนอกกลุ่มต่อไป และให้ดำเนินการเพื่อเตรียมผลักดันให้มีการประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษในเดือน กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อเตรียมการเจรจาที่แท้จริงในขบวนการเจรจาช่วงที่ 2 ต่อไป
12. ขณะนี้กลุ่มเคร์นส์ ได้ยื่นข้อเสนอการเจรจาสินค้าเกษตร ไปแล้ว 2 เรื่อง คือ การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก และ การอุดหนุนภายใน และ จะยื่นข้อเสนอเรื่อง การเปิดตลาดในเดือน พฤศจิกายน ศกนี้
13. กลุ่มเคร์นส์ เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลาง ประกอบด้วย 18 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย ดอสตาริกา ฟิจิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปินส์ ไทย แอฟริกาใต้ และ อุรุกวัย
14. นอกจากนี้ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ยังได้หารือสองฝ่ายกับ อียิปต์ เพื่อแก้ไขปัญหาการห้ามนำเข้า ปลาทูนา จากไทย และพบกับ อาร์เจนตินา บราซิล และ แคนาดา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจรจาสินค้าเกษตร และ การเจรจาสินค้ารอบใหม่ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1. ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2543 ณ เมืองบานฟ์ประเทศแคนาดา เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
2. ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ ได้เชิญ ดร. ฟรานส์ ฟิชเลอร์ (Franz Fischler) กรรมมาธิการเกษตรของสหภาพยุโรป และ ดร. โยเซฟ บูโตรส กาลี (Youssef Boutros Ghali) รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอียิปต์ ในฐานะผู้แทนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้นำเข้าอาหารสุทธิ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและความสัมพันธ์ในเรื่องการเจรจาการค้าสินค้าเกษตร
3. ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปจะมีท่าทีมาโดยตลอดว่า ไม่สนับสนุนให้มีการเจรจาเปิดการค้าสินค้าเกษตร แต่ในการประชุมกับรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ครั้งนี้ ดร. ฟิชเลอร์ได้กล่าวว่า สหภาพยุโรปจะร่วมมือในการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรใน WTO ที่นครเจนีวา และ สหภาพยุโรปไม่ปฏิเสธที่จะเปิดตลาดและลดการอุดหนุนภายใน และ การอุดหนุนส่งออก ภายใต้เงื่อนไขว่า ทุกประเทศจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปดังกล่าว และสหภาพยุโรปจะยังคงให้ความช่วยเหลือเพื่อการปฏิรูปภาคเกษตรตามความต้องการของสังคมต่อไปได้ และจะต้องมีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแข่งขันส่งออกที่บิดเบือนการค้า (เช่น การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก) ที่เท่าเทียมกันการลด/ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกด้วย แต่สหภาพยุโรปจะไม่ยอมรับให้มีกฎเกณฑ์ในเรื่องเกษตร เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมได้
4. ดร. บรูโตรส กาลี รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของอียิปต์ได้กล่าวให้การสนับสนุนการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรว่า จะต้องมีการลดภาษีลงอย่างมาก โดยเฉพาะให้กับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อย เนื่องจากเห็นว่าอัตราภาษีในขณะนี้ยังมีอัตราสูงและมีการใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อปิดตลาดอยู่มาก นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้มีการลดการอุดหนุนส่งออกอย่างมากโดยเร็ว ถึงแม้ว่าอียิปต์จะเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิ และต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารก็ตาม แต่เห็นว่าการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวควรให้แก่ผู้บริโภค มิใช่ให้การอุดหนุนส่งออก ที่มีผลต่อการบิดเบือนความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อียิปต์อาจเป็นผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรก็ได้ หากไม่มีการอุดหนุนส่งออกโดยประเทศต่างๆ
5. รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้หารือระหว่างประเทศสมาชิก 18 ประเทศ เพื่อวางกลยุทธ์ของกลุ่มในการผลักดันการเจรจาสินค้าเกษตรและได้มีท่าทีตอบรับการเจรจาสินค้าเกษตรที่เริ่มขบวนการใน WTO ตั้งแต่ต้นปี 2543 แต่เห็นว่าสมาชิก WTO จะต้องเร่งการเจรจาดังกล่าวให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อให้ประชากรโลก มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจะต้องปรับปรุงและแก้ไขกฎเกณฑ์ความตกลงเกษตร เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกีดกันและการบิดเบือนการค้าสินค้าเกษตรต่อไป
6. รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ยืนยันว่า จะต้องทำให้เกิดระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมให้ได้ และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก WTO เข้าร่วมเจรจาโดยยื่นข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งเตรียมตัวเพื่อการเจรจาอย่างจริงจังในเดือน มีนาคม 2544 ต่อไป
7. รัฐมนตรีฯ เห็นพ้องกันว่าการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรที่แท้จริงและรวดเร็ว จะมีความสำคัญยิ่งต่อระบบการค้าพหุภาคี เนื่องจากจะช่วยลดข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันได้ ทั้งนี้หากการเจรจาจะต้องล่าช้าไปกว่าปี 2546 (หลังจากข้อยกเว้นในการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน หรือ Peace Clause หมดอายุลง) ก็จะต้องเกิดข้อพิพาททางการค้ามากขึ้นได้
8. รัฐมนตรีฯ เห็นว่า การที่ประเทศสมาชิกบางประเทศใช้มาตรการต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นมาตรการที่ไม่เกี่ยวกับการค้า (non-trade concerns) แต่มาตรการดังกล่าวกลับมีผลเสียหายต่อประเทศอื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ การใช้มาตรการ non-trade concerns จะต้องไม่มีผลบิดเบือนการค้า หรือ ใช้มาตรการดังกล่าว จะเป็นการกีดกันทางการค้าโดยแอบแฝง
9. นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้แสดงความยินดีที่ประเทศมีบทบาทในการเจรจาสินค้าเกษตรมากขึ้น (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ยื่นข้อเสนอเจรจาสินค้าเกษตร 3 ฉบับ) และเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนามีความจำเป็นต่อประเทศกำลังพัฒนา และย้ำว่าการให้เงินช่วยเหลือไม่ใช่สิ่งที่ทดแทนการค้าได้ แต่การที่ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดให้กับประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้ประเทศเหล่านั้นพัฒนาประเทศต่อไปได้ ดังนั้นการเจรจาเพื่อปฏิรูปและการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา จึงจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาชนบท และความมั่นคงด้านอาหารได้
10. ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้เสนอกลยุทธ์ของกลุ่มเคร์นส์ ในการผลักดันการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร ในประเด็นสำคัญดังนี้
1). กลุ่มเคร์นส์ควรจัดทำข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อชี้ประเด็น ผลดี ผลเสีย ในเรื่องต่างๆ ในการเจรจาเปิดตลาด การอุดหนุนภายในและ การอุดหนุนส่งออก เพื่อเป็นพื้นฐานในการโน้มน้าวสมาชิกอื่นๆให้การสนับสนุนกลุ่มเคร์นส์
2). กลุ่มเคร์นส์ ควรจัดทำข้อเสนอรูปแบบ วิธีการเจรจา สินค้าเกษตรทั้ง 3 ด้าน คือ การเปิดตลาด การลดอุดหนุนภายใน และ ส่งออก เพื่อให้การเจรจาทั้ง 3 เรื่องมีความคืบหน้าไป พร้อมๆกันและดึงให้ประเทศที่มีปัญหาในด้านหนึ่ง แต่ได้รับประโยชน์ในอีกด้านหนึ่ง เข้าร่วมเจรจาด้วย
3). หาแนวร่วมกลุ่มเพิ่มขึ้น โครงสร้างความสัมพันธ์ผ่าน "อังค์แทด" เพื่อโน้มน้าวประเทศกำลังพัฒนาให้การสนับสนุนการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ทั้งนี้อาจประสานกับ "อังค์แทด" เพื่อศึกษา ผลประโยชน์ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับ เป็นต้น
4). ควรมอบหมายให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มเคร์นส์ สร้างเครือข่ายประสานประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคของตน เพื่อทำความเข้าใจและโน้มน้าว ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มเคร์นส์ให้การสนับสนุนท่าทีกลุ่ม
5). จัดหาเอกสารทางวิชาการ และ เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณะชน ในเรื่องผลกระทบของบทบาทที่หลากหลายในเรื่องเกษตร (multifunctionality) ในแง่มุมที่แตกต่างจากกลุ่มที่ปกป้องภาคเกษตร เพื่อให้สาธารณชนและประเทศที่เป็นกลางได้เข้าใจข้อเท็จจริง และ มีมุมมองที่ถูกต้อง
6). ประสานงานกับนอกกลุ่ม อาทิ นักการเมือง นักวิชาการ และประเทศที่เป็นกลางให้มากขึ้น
11. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ เอกอัครราชทูตกลุ่มเคร์นส์ ณ นครเจนวา ดำเนินการจัดทำรายชื่อประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อมอบหมายหน้าที่ในการประสานงานและโน้มน้าวประเทศนอกกลุ่มต่อไป และให้ดำเนินการเพื่อเตรียมผลักดันให้มีการประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษในเดือน กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อเตรียมการเจรจาที่แท้จริงในขบวนการเจรจาช่วงที่ 2 ต่อไป
12. ขณะนี้กลุ่มเคร์นส์ ได้ยื่นข้อเสนอการเจรจาสินค้าเกษตร ไปแล้ว 2 เรื่อง คือ การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก และ การอุดหนุนภายใน และ จะยื่นข้อเสนอเรื่อง การเปิดตลาดในเดือน พฤศจิกายน ศกนี้
13. กลุ่มเคร์นส์ เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลาง ประกอบด้วย 18 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย ดอสตาริกา ฟิจิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปินส์ ไทย แอฟริกาใต้ และ อุรุกวัย
14. นอกจากนี้ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ยังได้หารือสองฝ่ายกับ อียิปต์ เพื่อแก้ไขปัญหาการห้ามนำเข้า ปลาทูนา จากไทย และพบกับ อาร์เจนตินา บราซิล และ แคนาดา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจรจาสินค้าเกษตร และ การเจรจาสินค้ารอบใหม่ด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-