ข้อมูลทั่วไป
ทำเลที่ตั้ง
ลักษณะเป็นพื้นที่ยาวและแคบ ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ คิดเป็นระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของภาคมีความกว้างประมาณ 220 กิโลเมตร จากฝั่งตะวันออกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อำเภอปากพนังมาถึงฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงา ที่อำเภอท้ายเหมือง ส่วนที่แคบที่สุดคือบริเวณ “คอคอดกระ” ในจังหวัดระนอง จากฝั่งกระบุรีถึงฝั่งด้านตะวันออกมีความกว้าง 64 กิโลเมตร
อาณาเขต ด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสหภาพพม่า ทิศใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออกติดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดอ่าวเบงกอลในทะเลอันดามันและสหภาพพม่า
พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44.2 ล้านไร่ หรือ 70,715.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 14 จังหวัด สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 8.1 ล้านไร่ และภูเก็ตเล็กสุด มีพื้นที่ประมาณ 0.3 ล้านไร่ พื้นที่ภาคใต้ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ด้าน โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเลรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,643 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นเนินเขาหรือภูเขาร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งภาค มีเทือกเขาที่สำคัญ 2 แนว คือ ทางตอนบนฝั่งตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรี แถวชุมพร ระนอง ต่อลงมาเป็นเทือกเขาภูเก็ต ครอบคลุมจังหวัดพังงาและกระบี่ และทางฝั่งตะวันออกเป็นเทือกเขานครศรีธรรมราช เริ่มจากเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านเขตจังหวัดตรัง สตูลและสงขลา ส่วนทางตอนใต้เป็นเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นเขตแดนไทยและมาเลเซีย
ฝั่งตะวันออกของภาคเป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก และมักจะเกิดน้ำท่วมแทบทุกปีในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ส่วนฝั่งตะวันตกของภาคเป็นที่เนิน มีพื้นที่ราบน้อย
แม่น้ำสำคัญมี 10 สาย ได้แก่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำปากจั่นหรือแม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตาปี แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตรัง แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำอู่ตะเภา แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำโก-ลก
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีฤดูฝนที่ยาวนานและฝนตกหนักทั่วไป
ฝั่งตะวันออกของภาคใต้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคมจะมีฝนตกมาก โดยตกมากที่สุดเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีอิทธิพลไม่มาก เพราะติดภูเขาตะนาวศรี ช่วงมีฝนน้อยอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
ฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีฝนตกในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม โดยฝนจะตกหนักเดือนกันยายน ส่วนช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมเป็นช่วงที่มีฝนตกน้อย
เมืองสำคัญ ๆ ของภาคใต้
เมืองหลักคือ สงขลาและภูเก็ต เมืองรองได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ ยะลา ส่วนเมืองอุตสาหกรรมคือ สงขลา สำหรับเมืองท่องเที่ยวได้แก่ ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา (หาดใหญ่) นราธิวาส (สุไหงโก-ลก) และ ยะลา (เบตง)
ประชากร
สิ้นเดือนธันวาคม 2541 ภาคใต้มีประชากรทั้งสิ้น 8.1 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 13.1 ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรมากที่สุด (1.5 ล้านคน หรือร้อยละ 18.9 ของประชากรทั้งภาค) รองลงมาได้แก่ จังหวัดสงขลา (1.2 ล้านคน) และจังหวัดระนองมีประชากรน้อยที่สุด (1.6 แสนคน)
ผลิตภัณฑ์และรายได้เฉลี่ยของภาคใต้
ตัวเลขผลิตภัณฑ์ภาคใต้ปี 2538 (ราคาคงที่ ปี 2531) เท่ากับ 249,250.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์ทั้งประเทศ โดยภาคเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 39.3 ของผลิตภัณฑ์ภาค (GRP) ซึ่งประกอบด้วย สาขาย่อยได้แก่ สาขาพืชผลร้อยละ 21.0 สาขาประมงร้อยละ 11.2 สาขาปศุสัตว์ ร้อยละ 1.7 สาขาป่าไม้ร้อยละ 1.1 สาขาบริการทางการเกษตรร้อยละ 0.1 และสาขาการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่ายร้อยละ 4.2 รองลงมาคือ ภาคการค้าและภาคบริการ มีสัดส่วนร้อยละ 15.4 และร้อยละ 10.4 ตามลำดับ
ในช่วงปี 2533-2538 เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยปี 2537 ขยายตัวในอัตราสูงสุดร้อยละ 10.5 เนื่องจากการผลิตในภาคเกษตรซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของภาคขยายตัวในอัตราสูงมากถึงร้อยละ 11.9 และการผลิตในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 9.9 ซึ่งเป็นผลมาจากสาขาก่อสร้างขยายตัวมากถึงร้อยละ 29.9 และสาขาธนาคาร ประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 จังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวสูงได้แก่ จังหวัดปัตตานี สงขลา และสุราษฎร์ธานี ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11.6, 8.9 และ 8.2 ตามลำดับ ส่วนจังหวัดนราธิวาสมีอัตราขยายตัวต่ำสุดเพียงร้อยละ 3.7
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในภาคใต้ปี 2538 เท่ากับ 47,947 บาทต่อปี สูงกว่าภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 34,565 บาท และ 24,331 บาท ตามลำดับ
จังหวัดภูเก็ตมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในภาค คือ 143,949 บาท รองลงมาได้แก่จังหวัดระนอง 84,882 บาท และพังงา 62,596 บาท ส่วนจังหวัดพัทลุงมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำสุดในภาค เท่ากับ 29,740 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ทำเลที่ตั้ง
ลักษณะเป็นพื้นที่ยาวและแคบ ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ คิดเป็นระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของภาคมีความกว้างประมาณ 220 กิโลเมตร จากฝั่งตะวันออกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อำเภอปากพนังมาถึงฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงา ที่อำเภอท้ายเหมือง ส่วนที่แคบที่สุดคือบริเวณ “คอคอดกระ” ในจังหวัดระนอง จากฝั่งกระบุรีถึงฝั่งด้านตะวันออกมีความกว้าง 64 กิโลเมตร
อาณาเขต ด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสหภาพพม่า ทิศใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออกติดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดอ่าวเบงกอลในทะเลอันดามันและสหภาพพม่า
พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44.2 ล้านไร่ หรือ 70,715.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 14 จังหวัด สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 8.1 ล้านไร่ และภูเก็ตเล็กสุด มีพื้นที่ประมาณ 0.3 ล้านไร่ พื้นที่ภาคใต้ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ด้าน โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเลรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,643 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นเนินเขาหรือภูเขาร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งภาค มีเทือกเขาที่สำคัญ 2 แนว คือ ทางตอนบนฝั่งตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรี แถวชุมพร ระนอง ต่อลงมาเป็นเทือกเขาภูเก็ต ครอบคลุมจังหวัดพังงาและกระบี่ และทางฝั่งตะวันออกเป็นเทือกเขานครศรีธรรมราช เริ่มจากเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านเขตจังหวัดตรัง สตูลและสงขลา ส่วนทางตอนใต้เป็นเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นเขตแดนไทยและมาเลเซีย
ฝั่งตะวันออกของภาคเป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก และมักจะเกิดน้ำท่วมแทบทุกปีในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ส่วนฝั่งตะวันตกของภาคเป็นที่เนิน มีพื้นที่ราบน้อย
แม่น้ำสำคัญมี 10 สาย ได้แก่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำปากจั่นหรือแม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตาปี แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตรัง แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำอู่ตะเภา แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำโก-ลก
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีฤดูฝนที่ยาวนานและฝนตกหนักทั่วไป
ฝั่งตะวันออกของภาคใต้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคมจะมีฝนตกมาก โดยตกมากที่สุดเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีอิทธิพลไม่มาก เพราะติดภูเขาตะนาวศรี ช่วงมีฝนน้อยอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
ฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีฝนตกในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม โดยฝนจะตกหนักเดือนกันยายน ส่วนช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมเป็นช่วงที่มีฝนตกน้อย
เมืองสำคัญ ๆ ของภาคใต้
เมืองหลักคือ สงขลาและภูเก็ต เมืองรองได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ ยะลา ส่วนเมืองอุตสาหกรรมคือ สงขลา สำหรับเมืองท่องเที่ยวได้แก่ ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา (หาดใหญ่) นราธิวาส (สุไหงโก-ลก) และ ยะลา (เบตง)
ประชากร
สิ้นเดือนธันวาคม 2541 ภาคใต้มีประชากรทั้งสิ้น 8.1 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 13.1 ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรมากที่สุด (1.5 ล้านคน หรือร้อยละ 18.9 ของประชากรทั้งภาค) รองลงมาได้แก่ จังหวัดสงขลา (1.2 ล้านคน) และจังหวัดระนองมีประชากรน้อยที่สุด (1.6 แสนคน)
ผลิตภัณฑ์และรายได้เฉลี่ยของภาคใต้
ตัวเลขผลิตภัณฑ์ภาคใต้ปี 2538 (ราคาคงที่ ปี 2531) เท่ากับ 249,250.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์ทั้งประเทศ โดยภาคเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 39.3 ของผลิตภัณฑ์ภาค (GRP) ซึ่งประกอบด้วย สาขาย่อยได้แก่ สาขาพืชผลร้อยละ 21.0 สาขาประมงร้อยละ 11.2 สาขาปศุสัตว์ ร้อยละ 1.7 สาขาป่าไม้ร้อยละ 1.1 สาขาบริการทางการเกษตรร้อยละ 0.1 และสาขาการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่ายร้อยละ 4.2 รองลงมาคือ ภาคการค้าและภาคบริการ มีสัดส่วนร้อยละ 15.4 และร้อยละ 10.4 ตามลำดับ
ในช่วงปี 2533-2538 เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยปี 2537 ขยายตัวในอัตราสูงสุดร้อยละ 10.5 เนื่องจากการผลิตในภาคเกษตรซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของภาคขยายตัวในอัตราสูงมากถึงร้อยละ 11.9 และการผลิตในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 9.9 ซึ่งเป็นผลมาจากสาขาก่อสร้างขยายตัวมากถึงร้อยละ 29.9 และสาขาธนาคาร ประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 จังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวสูงได้แก่ จังหวัดปัตตานี สงขลา และสุราษฎร์ธานี ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11.6, 8.9 และ 8.2 ตามลำดับ ส่วนจังหวัดนราธิวาสมีอัตราขยายตัวต่ำสุดเพียงร้อยละ 3.7
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในภาคใต้ปี 2538 เท่ากับ 47,947 บาทต่อปี สูงกว่าภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 34,565 บาท และ 24,331 บาท ตามลำดับ
จังหวัดภูเก็ตมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในภาค คือ 143,949 บาท รองลงมาได้แก่จังหวัดระนอง 84,882 บาท และพังงา 62,596 บาท ส่วนจังหวัดพัทลุงมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำสุดในภาค เท่ากับ 29,740 บาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-