เกือบ 5 เดือน ปี 44 ไทยส่งออกข้าวโพดแล้ว 1.7 แสนตัน เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว ส่งผลให้ราคารับซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกผลิตได้ลดลง ยกเว้นสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น 5.7 % แต่ความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าภาวะการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยได้สูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 พฤษภาคม มีการส่งออกไปแล้วถึง 176,670 ตัน มากกว่าปี 2543 ทั้งปีที่ส่งออกไปเพียง 20,263 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 772 เป็นการส่งออกไปมาเลเซียมากที่สุด จำนวน 114,700 ตัน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์
สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2544 มีการนำเข้ารวม 500 ตัน ซึ่งเป็นการนำเข้านอกโควตา WTO จาก สปป.ลาว และในปี 2543 ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น 304,144 ตัน แยกเป็นนำเข้าในโควตา 50,689 ตัน นอกโควตา 253,455 ตัน โดยประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุดคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน 272,979 ตัน อาร์เยนตินา 26,250 ตัน ลาว อินโดนีเซีย และกัมพูชา ตามลำดับ
นายการุณ กล่าวต่อไปว่าในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตลาดนำเข้าภายใต้โควตา WTO 53,832 ตัน ให้นำเข้าเฉพาะช่วง 1 มี.ค — 30 มิ.ย. 44 เสียภาษีร้อยละ 20 และไม่เสียค่าธรรมเนียมพิเศษ
ส่วนนอกโควตานำเข้าได้จากทุกประเทศโดยไม่จำกัดปริมาณ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท และเสียภาษีขาเข้าสูงถึงร้อยละ 75.4 (ประเทศนอกสมาชิก WTO ภาษี 2.75 บาท/กก.+อากรพิเศษ ร้อยละ 13.97)
สำหรับสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา(USDA)ประมาณการณ์ไว้ว่า ปีการผลิต 2543/44 จะมีผลผลิตประมาณ 584.56 ล้านตัน ลดลงจากปี 2542/43 ร้อยละ 3.53 ขณะที่มีความต้องการใช้ประมาณ 603.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 603.15 ล้านตัน ด้านสถานการณ์และการคาดการณ์ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกคือ สหรัฐอเมริกา จะผลิตได้ประมาณ 253.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 จะส่งออกได้ ประมาณ 49 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 0.74 สาธารณรัฐประชาชนจีน จะผลิตได้ประมาณ 105 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 18.02 จะส่งออกได้ประมาณ 6 ล้านตัน อาร์เยนตินา จะผลิตได้ประมาณ 16 ล้านตัน ลดลง 1.2 ล้านตัน แต่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 12.5 ล้านตัน จาก 8.85 ล้านตัน และแอฟริกาใต้ จะผลิตได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19.04 แต่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.14
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการคาดการณ์การนำเข้า คาดว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกจะมีการนำเข้าประมาณ 16 ล้านตัน ลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนประเทศอื่นๆคือไต้หวัน จะนำเข้าประมาณ 5.1 ล้านตัน มาเลเซีย 2.4 ล้านตัน ฟิลิปปินส์ 6 แสนตัน สำหรับประเทศไทยในปี 2543/44 USDA คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 4.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.82 นำเข้าประมาณ 2 แสนตัน ลดลงร้อยละ 44.44 และจากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคารับซื้อหน้าไซโลผู้ส่งออกภายในประเทศระหว่าง 14-20 พ.ค. สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าคือ จากตันละ 4,330 บาท เป็น ตันละ 4,380 บาท
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-
นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าภาวะการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยได้สูงขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 พฤษภาคม มีการส่งออกไปแล้วถึง 176,670 ตัน มากกว่าปี 2543 ทั้งปีที่ส่งออกไปเพียง 20,263 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 772 เป็นการส่งออกไปมาเลเซียมากที่สุด จำนวน 114,700 ตัน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์
สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2544 มีการนำเข้ารวม 500 ตัน ซึ่งเป็นการนำเข้านอกโควตา WTO จาก สปป.ลาว และในปี 2543 ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น 304,144 ตัน แยกเป็นนำเข้าในโควตา 50,689 ตัน นอกโควตา 253,455 ตัน โดยประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุดคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน 272,979 ตัน อาร์เยนตินา 26,250 ตัน ลาว อินโดนีเซีย และกัมพูชา ตามลำดับ
นายการุณ กล่าวต่อไปว่าในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตลาดนำเข้าภายใต้โควตา WTO 53,832 ตัน ให้นำเข้าเฉพาะช่วง 1 มี.ค — 30 มิ.ย. 44 เสียภาษีร้อยละ 20 และไม่เสียค่าธรรมเนียมพิเศษ
ส่วนนอกโควตานำเข้าได้จากทุกประเทศโดยไม่จำกัดปริมาณ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท และเสียภาษีขาเข้าสูงถึงร้อยละ 75.4 (ประเทศนอกสมาชิก WTO ภาษี 2.75 บาท/กก.+อากรพิเศษ ร้อยละ 13.97)
สำหรับสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา(USDA)ประมาณการณ์ไว้ว่า ปีการผลิต 2543/44 จะมีผลผลิตประมาณ 584.56 ล้านตัน ลดลงจากปี 2542/43 ร้อยละ 3.53 ขณะที่มีความต้องการใช้ประมาณ 603.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 603.15 ล้านตัน ด้านสถานการณ์และการคาดการณ์ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกคือ สหรัฐอเมริกา จะผลิตได้ประมาณ 253.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 จะส่งออกได้ ประมาณ 49 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 0.74 สาธารณรัฐประชาชนจีน จะผลิตได้ประมาณ 105 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 18.02 จะส่งออกได้ประมาณ 6 ล้านตัน อาร์เยนตินา จะผลิตได้ประมาณ 16 ล้านตัน ลดลง 1.2 ล้านตัน แต่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นเป็น 12.5 ล้านตัน จาก 8.85 ล้านตัน และแอฟริกาใต้ จะผลิตได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19.04 แต่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.14
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการคาดการณ์การนำเข้า คาดว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกจะมีการนำเข้าประมาณ 16 ล้านตัน ลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนประเทศอื่นๆคือไต้หวัน จะนำเข้าประมาณ 5.1 ล้านตัน มาเลเซีย 2.4 ล้านตัน ฟิลิปปินส์ 6 แสนตัน สำหรับประเทศไทยในปี 2543/44 USDA คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 4.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.82 นำเข้าประมาณ 2 แสนตัน ลดลงร้อยละ 44.44 และจากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคารับซื้อหน้าไซโลผู้ส่งออกภายในประเทศระหว่าง 14-20 พ.ค. สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าคือ จากตันละ 4,330 บาท เป็น ตันละ 4,380 บาท
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-