บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงหลักการและเหตุผล
สมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายปัญญา กีรติหัตถยากร ๒. นางอาภาพรรณ ทองบุญรอด
๓. นายพูลศักดิ์ พรหมสุวรรณศิริ ๔. นายพิพัฒน์ ทองผดุงโรจน์
๕. นายประเวศ อรรถศุภผล ๖. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
๗. นายมงคล กิมสูนจันทร์ ๘. นาวาอากาศโท รวยลาภ เอี่ยมทอง
๙. นายณรงค์กร ชวาลสันตติ ๑๐. นายทศพร เสรีรักษ์
๑๑. นายสงวน พงษ์มณี ๑๒. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๑๓. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๔. นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
๑๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๖. นายลิขิต หมู่ดี
๑๗. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๘. นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
๑๙. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๐. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
๒๑. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๒๒. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๓. นายชาญชัย ศิลปอวยชัย ๒๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๕. นายชัยพร ทองประเสริฐ ๒๖. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ
๒๗. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒๘. นายยงยุทธ สุวภาพ
๒๙. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๓๐. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
๓๑. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ ๓๒. นายเกษม อุประ
๓๓. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๓๔. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๓๕. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ๒. รองศาสตราจารย์สงคราม เหลืองทองคำ
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานเทพ รัตนากร ๔. นางวรปี สุวัฒนวิโรจน์
๕ นายประเวศ อรรถศุภผล ๖. นายไพศาล จันทรภักดี
๗. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๘. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๙. นายสุธา ชันแสง ๑๐. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
๑๑. นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง ๑๒. นายอรรถพล มามะ
๑๓. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๔. นางฟาริดา สุไลมาน
๑๕. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ๑๖. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๑๗. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๑๘. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๑๙. นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ๒๐. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
๒๑. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๒๒. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๓. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๔. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๕. ร้อยตำรวจเอก พเยาว์ พูลธรัตน์ ๒๖. นายสินิตย์ เลิศไกร
๒๗. นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ๒๘. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ
๒๙. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๐. นายวิชัย โถสุวรรณจินดา
๓๑. นายพีระเพชร ศิริกุล ๓๒. ศาสตราจารย์สมศักดิ์ วรคามิน
๓๓. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๓๔. นายจัตุรนต์ คชสีห์
๓๕. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา แต่เนื่องจาก
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ และลำดับที่ ๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติ
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
และนายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม เป็นผู้เสนอ ได้เสนอขอเลื่อนร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับ ไปก่อน เพราะร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว มีหลักการ
ทำนองเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้ร้องขอให้พิจารณาต่อไป
ตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และขณะนี้อยู่ในระหว่าง
รอการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภา และที่ประชุมเห็นชอบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่
แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ในระเบียบวาระที่ ๕.๒ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล สมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว คณะรัฐมนตรีได้ขอ
รับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณา
ไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
**************************
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงหลักการและเหตุผล
สมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายปัญญา กีรติหัตถยากร ๒. นางอาภาพรรณ ทองบุญรอด
๓. นายพูลศักดิ์ พรหมสุวรรณศิริ ๔. นายพิพัฒน์ ทองผดุงโรจน์
๕. นายประเวศ อรรถศุภผล ๖. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
๗. นายมงคล กิมสูนจันทร์ ๘. นาวาอากาศโท รวยลาภ เอี่ยมทอง
๙. นายณรงค์กร ชวาลสันตติ ๑๐. นายทศพร เสรีรักษ์
๑๑. นายสงวน พงษ์มณี ๑๒. นายอิทธิเดช แก้วหลวง
๑๓. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๔. นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
๑๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๖. นายลิขิต หมู่ดี
๑๗. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๘. นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
๑๙. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๐. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
๒๑. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๒๒. นายอาคม เอ่งฉ้วน
๒๓. นายชาญชัย ศิลปอวยชัย ๒๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๕. นายชัยพร ทองประเสริฐ ๒๖. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ
๒๗. นายธนิตพล ไชยนันทน์ ๒๘. นายยงยุทธ สุวภาพ
๒๙. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๓๐. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม
๓๑. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ ๓๒. นายเกษม อุประ
๓๓. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๓๔. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๓๕. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์
ปัญญาชาติรักษ์) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ๒. รองศาสตราจารย์สงคราม เหลืองทองคำ
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานเทพ รัตนากร ๔. นางวรปี สุวัฒนวิโรจน์
๕ นายประเวศ อรรถศุภผล ๖. นายไพศาล จันทรภักดี
๗. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๘. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๙. นายสุธา ชันแสง ๑๐. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
๑๑. นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง ๑๒. นายอรรถพล มามะ
๑๓. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๔. นางฟาริดา สุไลมาน
๑๕. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ๑๖. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๑๗. นางมุกดา พงษ์สมบัติ ๑๘. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๑๙. นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ๒๐. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
๒๑. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๒๒. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๓. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๔. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๕. ร้อยตำรวจเอก พเยาว์ พูลธรัตน์ ๒๖. นายสินิตย์ เลิศไกร
๒๗. นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ๒๘. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ
๒๙. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๐. นายวิชัย โถสุวรรณจินดา
๓๑. นายพีระเพชร ศิริกุล ๓๒. ศาสตราจารย์สมศักดิ์ วรคามิน
๓๓. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๓๔. นายจัตุรนต์ คชสีห์
๓๕. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา แต่เนื่องจาก
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในลำดับที่ ๕.๑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ และลำดับที่ ๕.๓ ร่างพระราชบัญญัติ
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
และนายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม เป็นผู้เสนอ ได้เสนอขอเลื่อนร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๒ ฉบับ ไปก่อน เพราะร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว มีหลักการ
ทำนองเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้ร้องขอให้พิจารณาต่อไป
ตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และขณะนี้อยู่ในระหว่าง
รอการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภา และที่ประชุมเห็นชอบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่
แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ในระเบียบวาระที่ ๕.๒ คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล สมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว คณะรัฐมนตรีได้ขอ
รับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณา
ไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. (รวมผู้เสนอ ๒ ฉบับ)
**************************