‘หัวหน้า ปชป.’ เห็นด้วยกับมาตรการประหยัดพลังงาน แต่ควรรณรงค์ให้เป็นระบบมากกว่านี้ พร้อมแนะ รบ.ให้ใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตเข้าช่วย และเร่งแก้ปัญหาหนี้กองทุนน้ำมันที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ (1 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวยามเช้า ทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 ถึงการรณรงค์การประหยัดพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยใช้ 3 มาตรการ คือปิดไฟ 5 นาที ทั่วประเทศอย่างน้อย 1 ดวง ในเวลา 20.45 น. ใช้ความเร็วรถไม่เกิน 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และปิดแอร์ในช่วงพักเที่ยง 1 ชั่วโมง รวมทั้งประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลว่า มาตรการหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดี แต่อยากให้เป็นระบบมากกว่านี้ และเดินหน้าเร่งให้ประชาชนตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน เพราะว่าผลกระทบต่อดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดก็มีอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือตอนนี้รัฐบาลได้ตัดสินใจลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งตนก็ยังแปลกใจ เพราะไม่ค่อยสอดคล้องกับการกระตุ้นให้เกิดการประหยัดพลังงาน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเคยเสนอตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายรัฐบาลว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการบิดเบือนกลไกต่างๆในเรื่องธุรกิจน้ำมัน รวมไปถึงการจะให้เกิดการประหยัดพลังงาน และไม่เป็นภาระกับรัฐบาล กับลูกหลานของเรา รัฐบาลจะต้องเร่งในเรื่องของการลอยตัวค่าน้ำมัน และใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นตัวปรับในการช่วยลดภาระ แต่ต้องให้ระบบโปร่งใส และขณะเดียวกันหนี้ของกองทุนน้ำมันก็ต้องเร่งชำระ สะสาง อย่าเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งหลังจากที่ตนเสนอไป รัฐบาลก็ได้ขยับราคาดีเซลขึ้นมา แต่ก็ยังอุดหนุนผ่านกองทุนน้ำมันอยู่ โดยไม่มีการพูดถึงภาษีสรรพสามิต ขณะเดียวกันหนี้กองทุนน้ำมันก็ยังไม่ชัดเจน ในที่สุดก็แก้ปัญหาไม่ได้ อย่างที่ตนได้คาดเอาไว้ ตอนนี้ก็มารอบสอง ตนก็นึกว่าจะทำให้เรียบร้อย ก็ยังไม่เรียบร้อย เพราะวันนี้รัฐบาลยังต้องชดเชยเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกลิตรละ 1.76 บาท ซึ่งหนี้กองทุนน้ำมัน ขณะนี้เกิน 80,000 ล้านบาท และยังไม่หยุด เพราะว่ายังชดเชยอยู่ ดังนั้นการแก้ปัญหานี้ยังไม่จบในเรื่องของปัญหาหนี้ที่ยังสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า หนี้เดิมใช้วิธีการออกพันธบัตร พูดง่ายๆก็คือกู้ยืมเงินเพื่อมาทำตรงนี้ ในที่สุดเราก็จะมีภาระดอกเบี้ยจากตรงนี้ด้วย และถ้าหากเราจะเอากองทุนน้ำมันมาใช้หนี้ต่อไป วันข้างหน้าก็จะมีวันที่คนไทยใช้น้ำมันแพงกว่าชาวโลก หรือแพงกว่าที่ควรจะเป็น หลายเรื่องที่ตนเคยเสนอ เช่น งบกลางปี ที่บอกว่าทำไมจะไปตั้งโครงการต่างๆอีก ทำไมไม่เอาเงินไปใช้หนี้กองทุนน้ำมัน มันจะได้จบ นี่คือยังเป็นปัญหาที่ยังค้างอยู่ ถึงวันนี้เราก็ยังไม่ได้ทำให้ผู้ใช้น้ำมันต้องรับรู้ความเป็นจริง สะท้อนความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพราะระบบที่เอามาใช้ตอนนี้บอกว่าเป็นระบบจัดการของการลอยตัว ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าจะมีการใช้อำนาจทางการเมืองมาตัดสินต่อไป นี่ยังไม่นับถึงการที่มีการสร้างความไม่มั่นใจ หรือความไม่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีผู้รู้การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า ก็คือฝ่ายนโยบายจะเกิดปัญหาเหมือนคราวที่แล้วหรือไม่ ที่มี ส.ว. ออกมาพูดชัดเจนในเรื่องของการได้ประโยชน์ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นตรงนี้ตนคิดว่าก็ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ยังไม่จบ และดูไม่ค่อยสอดคล้องกับความพยายามที่จะกระตุ้นให้คนได้คิดถึงเรื่องของการประหยัดใช้พลังงาน โดยตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริง
‘ผมเคยเสนอว่าทำเป็นขั้นบันไดตายตัวไปเลยก็ได้ว่า ถ้าราคาน้ำมันสูงขนาดนี้ รัฐจะลดราคาภาษีสรรพสามิต แต่ต้องโปร่งใส และตัวราคาเมื่อช่วยไปถึงจุดสูงสุดแล้ว เช่น ถ้าใจป้ำสุดๆบอกว่าไม่เก็บภาษีสรรพสามิตเลยก็ได้ แต่หลังจากนั้นต้องปล่อยให้ราคามันสะท้อนต้นทุนไป กลไกทุกอย่างจะกลับมาสู่สภาวะปกติ แต่ขณะนี้รัฐบาลเอาภาษีมาด้วย แต่ตัวกองทุนน้ำมันก็ยังตรึงอยู่ ยังมีช่องว่างอีก 1.76 บาท ที่ผมเสนอเอาภาษีเข้ามาก็คือว่าทำระบบให้มันโปร่งใส การเปลี่ยนแปลงสะท้อนตรงนั้น แต่ถ้ารัฐจะรับตรงไหน ก็มีภาษีสรรพสามิตไปปรับเป็นไปในลักษณะอัตโนมัติ แต่ว่าตรงนี้ยังไม่ใช่ และก็ยังสับสนเหมือนเดิม ทำให้ปัญหายังไม่จบ คือแนวของผมมันก็จะจบไปเลย หนี้ใหม่ไม่มี หนี้เก่าผมก็เคยเสนอไปแล้วว่าควรใช้งบกลางปีชำระสะสางไป อยากให้แก้ให้มันจบ และก็อยากทำให้ระบบของธุรกิจน้ำมัน และพฤติกรรมของการใช้น้ำมันมาสะท้อนอยู่กับความเป็นจริง’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าได้เชิญ นายโสภณ สุภาพงษ์ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ที่เขียนบทความเรื่องราคาน้ำมัน มาพูดคุยที่พรรคถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนไม่ได้เชิญท่านมาคุยที่พรรค แต่มีโอกาสสนทนากับท่านบ้าง และก็อ่านบทความที่ท่านเขียน แต่ความแตกต่างคือ ท่านเชื่อว่าในกลไกของภาคเอกชนยังมีช่องว่างที่ไปลดภาระประชาชนได้ นอกเหนือจากที่รัฐบาลทำอยู่ ซึ่งรัฐบาลควรไปศึกษาและบอกว่ามันจริงอย่างที่ท่านเขียนหรือไม่ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางจะศึกษาหรือไม่นั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ในแง่ของพลังงาน จะดูทั้งระบบ ทั้งเรื่องของการที่จะปรับสัดส่วนการพึ่งแหล่งพลังงานต่างๆ บวกกับเรื่องของการประหยัด ซึ่งวันนี้ก็ตั้งโจทย์ไว้แล้วสำหรับคณะทำงานย่อยด้านพลังงาน ที่อยู่ในคณะทำงานเศรษฐกิจ ซึ่งมีตนเป็นประธาน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
วันนี้ (1 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวยามเช้า ทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 ถึงการรณรงค์การประหยัดพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยใช้ 3 มาตรการ คือปิดไฟ 5 นาที ทั่วประเทศอย่างน้อย 1 ดวง ในเวลา 20.45 น. ใช้ความเร็วรถไม่เกิน 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และปิดแอร์ในช่วงพักเที่ยง 1 ชั่วโมง รวมทั้งประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลว่า มาตรการหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดี แต่อยากให้เป็นระบบมากกว่านี้ และเดินหน้าเร่งให้ประชาชนตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน เพราะว่าผลกระทบต่อดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดก็มีอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือตอนนี้รัฐบาลได้ตัดสินใจลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งตนก็ยังแปลกใจ เพราะไม่ค่อยสอดคล้องกับการกระตุ้นให้เกิดการประหยัดพลังงาน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเคยเสนอตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายรัฐบาลว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการบิดเบือนกลไกต่างๆในเรื่องธุรกิจน้ำมัน รวมไปถึงการจะให้เกิดการประหยัดพลังงาน และไม่เป็นภาระกับรัฐบาล กับลูกหลานของเรา รัฐบาลจะต้องเร่งในเรื่องของการลอยตัวค่าน้ำมัน และใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นตัวปรับในการช่วยลดภาระ แต่ต้องให้ระบบโปร่งใส และขณะเดียวกันหนี้ของกองทุนน้ำมันก็ต้องเร่งชำระ สะสาง อย่าเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งหลังจากที่ตนเสนอไป รัฐบาลก็ได้ขยับราคาดีเซลขึ้นมา แต่ก็ยังอุดหนุนผ่านกองทุนน้ำมันอยู่ โดยไม่มีการพูดถึงภาษีสรรพสามิต ขณะเดียวกันหนี้กองทุนน้ำมันก็ยังไม่ชัดเจน ในที่สุดก็แก้ปัญหาไม่ได้ อย่างที่ตนได้คาดเอาไว้ ตอนนี้ก็มารอบสอง ตนก็นึกว่าจะทำให้เรียบร้อย ก็ยังไม่เรียบร้อย เพราะวันนี้รัฐบาลยังต้องชดเชยเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกลิตรละ 1.76 บาท ซึ่งหนี้กองทุนน้ำมัน ขณะนี้เกิน 80,000 ล้านบาท และยังไม่หยุด เพราะว่ายังชดเชยอยู่ ดังนั้นการแก้ปัญหานี้ยังไม่จบในเรื่องของปัญหาหนี้ที่ยังสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า หนี้เดิมใช้วิธีการออกพันธบัตร พูดง่ายๆก็คือกู้ยืมเงินเพื่อมาทำตรงนี้ ในที่สุดเราก็จะมีภาระดอกเบี้ยจากตรงนี้ด้วย และถ้าหากเราจะเอากองทุนน้ำมันมาใช้หนี้ต่อไป วันข้างหน้าก็จะมีวันที่คนไทยใช้น้ำมันแพงกว่าชาวโลก หรือแพงกว่าที่ควรจะเป็น หลายเรื่องที่ตนเคยเสนอ เช่น งบกลางปี ที่บอกว่าทำไมจะไปตั้งโครงการต่างๆอีก ทำไมไม่เอาเงินไปใช้หนี้กองทุนน้ำมัน มันจะได้จบ นี่คือยังเป็นปัญหาที่ยังค้างอยู่ ถึงวันนี้เราก็ยังไม่ได้ทำให้ผู้ใช้น้ำมันต้องรับรู้ความเป็นจริง สะท้อนความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพราะระบบที่เอามาใช้ตอนนี้บอกว่าเป็นระบบจัดการของการลอยตัว ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าจะมีการใช้อำนาจทางการเมืองมาตัดสินต่อไป นี่ยังไม่นับถึงการที่มีการสร้างความไม่มั่นใจ หรือความไม่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีผู้รู้การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า ก็คือฝ่ายนโยบายจะเกิดปัญหาเหมือนคราวที่แล้วหรือไม่ ที่มี ส.ว. ออกมาพูดชัดเจนในเรื่องของการได้ประโยชน์ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นตรงนี้ตนคิดว่าก็ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ยังไม่จบ และดูไม่ค่อยสอดคล้องกับความพยายามที่จะกระตุ้นให้คนได้คิดถึงเรื่องของการประหยัดใช้พลังงาน โดยตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริง
‘ผมเคยเสนอว่าทำเป็นขั้นบันไดตายตัวไปเลยก็ได้ว่า ถ้าราคาน้ำมันสูงขนาดนี้ รัฐจะลดราคาภาษีสรรพสามิต แต่ต้องโปร่งใส และตัวราคาเมื่อช่วยไปถึงจุดสูงสุดแล้ว เช่น ถ้าใจป้ำสุดๆบอกว่าไม่เก็บภาษีสรรพสามิตเลยก็ได้ แต่หลังจากนั้นต้องปล่อยให้ราคามันสะท้อนต้นทุนไป กลไกทุกอย่างจะกลับมาสู่สภาวะปกติ แต่ขณะนี้รัฐบาลเอาภาษีมาด้วย แต่ตัวกองทุนน้ำมันก็ยังตรึงอยู่ ยังมีช่องว่างอีก 1.76 บาท ที่ผมเสนอเอาภาษีเข้ามาก็คือว่าทำระบบให้มันโปร่งใส การเปลี่ยนแปลงสะท้อนตรงนั้น แต่ถ้ารัฐจะรับตรงไหน ก็มีภาษีสรรพสามิตไปปรับเป็นไปในลักษณะอัตโนมัติ แต่ว่าตรงนี้ยังไม่ใช่ และก็ยังสับสนเหมือนเดิม ทำให้ปัญหายังไม่จบ คือแนวของผมมันก็จะจบไปเลย หนี้ใหม่ไม่มี หนี้เก่าผมก็เคยเสนอไปแล้วว่าควรใช้งบกลางปีชำระสะสางไป อยากให้แก้ให้มันจบ และก็อยากทำให้ระบบของธุรกิจน้ำมัน และพฤติกรรมของการใช้น้ำมันมาสะท้อนอยู่กับความเป็นจริง’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าได้เชิญ นายโสภณ สุภาพงษ์ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ที่เขียนบทความเรื่องราคาน้ำมัน มาพูดคุยที่พรรคถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนไม่ได้เชิญท่านมาคุยที่พรรค แต่มีโอกาสสนทนากับท่านบ้าง และก็อ่านบทความที่ท่านเขียน แต่ความแตกต่างคือ ท่านเชื่อว่าในกลไกของภาคเอกชนยังมีช่องว่างที่ไปลดภาระประชาชนได้ นอกเหนือจากที่รัฐบาลทำอยู่ ซึ่งรัฐบาลควรไปศึกษาและบอกว่ามันจริงอย่างที่ท่านเขียนหรือไม่ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางจะศึกษาหรือไม่นั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ในแง่ของพลังงาน จะดูทั้งระบบ ทั้งเรื่องของการที่จะปรับสัดส่วนการพึ่งแหล่งพลังงานต่างๆ บวกกับเรื่องของการประหยัด ซึ่งวันนี้ก็ตั้งโจทย์ไว้แล้วสำหรับคณะทำงานย่อยด้านพลังงาน ที่อยู่ในคณะทำงานเศรษฐกิจ ซึ่งมีตนเป็นประธาน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-