กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (13 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงท่าทีของประเทศไทยต่อการปะทะกันระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ดังนี้
1. รัฐบาลไทยขอแสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์รุนแรงที่ได้ลุกลามขึ้นอีกซึ่งทำให้มี ผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
2. รัฐบาลไทยมีความรู้สึกผิดหวังต่อเหตุการณ์ไม่สงบและการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2543 ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ถึงแม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อยุติเหตุการณ์นี้ การปะทะกันดังกล่าวได้สร้างความชะงักงันต่อกระบวนการสันติภาพใน ตะวันออกกลางจนถึงขั้นทำให้กระบวนการดังกล่าวล้มเหลวลงได้
3. รัฐบาลไทยขอเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายอิสราเอลและปาเลสไตน์ใช้ความอดกลั้นและยุติการใช้ความรุนแรง และแสวงหาหนทางและมาตรการที่ยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายอันจะนำมาซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืนในตะวันออกกลาง
สำหรับการให้ความช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอลซึ่งอาจได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้กำหนดมาตรการในการให้ความ ช่วยเหลือตามลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ดังนี้
1. สถานการณ์ไม่ถึงขั้นรุนแรง การยิงอาวุธนอกเขตที่พัก
1.1 ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนไทยอยู่ (ดำเนินการแล้ว)
1.2 ติดต่อผู้แทนนายจ้างและบริษัทจัดหางานอิสราเอล ให้ดูแลความปลอดภัยของคนไทย และงดเว้นการนำคนไทยเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปะทะกัน หรือล่อแหลมต่อความปลอดภัย (ดำเนินการแล้ว)
1.3 ออกประกาศเตือนคนไทยให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางไปทำงาน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปะทะกัน และติดตามข่าวจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ตลอดเวลา (ดำเนินการแล้ว)
1.4 ติดต่อคนไทยเป็นระยะๆ เพื่อสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งความปลอดภัย (ดำเนินการแล้ว)
2. กรณีสถานการณ์รุนแรง การยิงอาวุธเข้ามาในเขตที่พักเป็นครั้งคราว
2.1 เตือนให้คนไทยอยู่ในที่หลบภัยของหมู่บ้าน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอล และนายจ้าง
2.2 ติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอล ผู้แทนนายจ้าง และคนไทยเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ และความปลอดภัย
3. สถานการณ์รุนแรงถึงขั้นต้องอพยพ การยิงอาวุธเข้ามาในเขตที่พักอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การอยู่ในเขตที่พักไม่ปลอดภัย
3.1 ประสานผู้แทนนายจ้าง บริษัทจัดหางาน ตำรวจและทหารในพื้นที่เพื่อจัดยานพาหนะอพยพคนไทยไปสู่เขตที่ปลอดภัย
3.2 จัดเจ้าหน้าที่เข้าไปยังจุดอพยพคนไทย เพื่อดูแลเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย โดยประสานงานกับเจ้าหน้าอิสราเอลในพื้นที่ และสถานเอกอัครราชทูตฯ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
3.3 กรณีเกิดสงครามทั่วประเทศ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะขอความเห็นชอบจาก รัฐบาลไทยในการอพยพคนไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่ปลอดภัย หรือกลับประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ไทยหวังว่า เหตุการณ์จะไม่รุนแรงและลุกลามจนถึงขั้นต้องอพยพแรงงานไทยออกจากอิสราเอล และต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเดินทางไปในช่วงเวลานี้เพื่อทำงานของแรงงานไทยที่ประสงค์จะอยู่ในอิสราเอลเป็นระยะเวลานานนั้น นายดอนฯ ตอบว่า หากจะติดตามพัฒนาการต่อไปอีก 2-3 วันก็น่าจะดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (13 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงท่าทีของประเทศไทยต่อการปะทะกันระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ดังนี้
1. รัฐบาลไทยขอแสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์รุนแรงที่ได้ลุกลามขึ้นอีกซึ่งทำให้มี ผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
2. รัฐบาลไทยมีความรู้สึกผิดหวังต่อเหตุการณ์ไม่สงบและการปะทะกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2543 ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ถึงแม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อยุติเหตุการณ์นี้ การปะทะกันดังกล่าวได้สร้างความชะงักงันต่อกระบวนการสันติภาพใน ตะวันออกกลางจนถึงขั้นทำให้กระบวนการดังกล่าวล้มเหลวลงได้
3. รัฐบาลไทยขอเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายอิสราเอลและปาเลสไตน์ใช้ความอดกลั้นและยุติการใช้ความรุนแรง และแสวงหาหนทางและมาตรการที่ยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายอันจะนำมาซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพที่ยั่งยืนในตะวันออกกลาง
สำหรับการให้ความช่วยเหลือคนไทยในอิสราเอลซึ่งอาจได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้กำหนดมาตรการในการให้ความ ช่วยเหลือตามลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ดังนี้
1. สถานการณ์ไม่ถึงขั้นรุนแรง การยิงอาวุธนอกเขตที่พัก
1.1 ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนไทยอยู่ (ดำเนินการแล้ว)
1.2 ติดต่อผู้แทนนายจ้างและบริษัทจัดหางานอิสราเอล ให้ดูแลความปลอดภัยของคนไทย และงดเว้นการนำคนไทยเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปะทะกัน หรือล่อแหลมต่อความปลอดภัย (ดำเนินการแล้ว)
1.3 ออกประกาศเตือนคนไทยให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางไปทำงาน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปะทะกัน และติดตามข่าวจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ตลอดเวลา (ดำเนินการแล้ว)
1.4 ติดต่อคนไทยเป็นระยะๆ เพื่อสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งความปลอดภัย (ดำเนินการแล้ว)
2. กรณีสถานการณ์รุนแรง การยิงอาวุธเข้ามาในเขตที่พักเป็นครั้งคราว
2.1 เตือนให้คนไทยอยู่ในที่หลบภัยของหมู่บ้าน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอล และนายจ้าง
2.2 ติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการอิสราเอล ผู้แทนนายจ้าง และคนไทยเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ และความปลอดภัย
3. สถานการณ์รุนแรงถึงขั้นต้องอพยพ การยิงอาวุธเข้ามาในเขตที่พักอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การอยู่ในเขตที่พักไม่ปลอดภัย
3.1 ประสานผู้แทนนายจ้าง บริษัทจัดหางาน ตำรวจและทหารในพื้นที่เพื่อจัดยานพาหนะอพยพคนไทยไปสู่เขตที่ปลอดภัย
3.2 จัดเจ้าหน้าที่เข้าไปยังจุดอพยพคนไทย เพื่อดูแลเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย โดยประสานงานกับเจ้าหน้าอิสราเอลในพื้นที่ และสถานเอกอัครราชทูตฯ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
3.3 กรณีเกิดสงครามทั่วประเทศ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะขอความเห็นชอบจาก รัฐบาลไทยในการอพยพคนไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่ปลอดภัย หรือกลับประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ไทยหวังว่า เหตุการณ์จะไม่รุนแรงและลุกลามจนถึงขั้นต้องอพยพแรงงานไทยออกจากอิสราเอล และต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเดินทางไปในช่วงเวลานี้เพื่อทำงานของแรงงานไทยที่ประสงค์จะอยู่ในอิสราเอลเป็นระยะเวลานานนั้น นายดอนฯ ตอบว่า หากจะติดตามพัฒนาการต่อไปอีก 2-3 วันก็น่าจะดี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-