กรุงเทพฯ 2 มี.ค. --กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (1 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ได้มีการพบหารือระหว่าง ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับนาย Hector Miguel Dada Sanchez รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 10 (การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10) นั้น
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก (ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมดูแลเอลซัลวาดอร์ด้วย) ว่า เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2543 นาย Eduardo Calix Lopez เอกอัครราชฑูตเอลซัลวาดอร์ประจำประเทศเม็กซิโก ได้เข้าพบเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก เพื่อหารือข้อราชการและติดตามผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศไทยกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. นาย Calix แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ให้การต้อนรับ นาย Dada รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์อย่างดียิ่ง ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 รวมทั้งขอบคุณ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ที่ได้ให้เวลาเข้าพบ
2. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์ที่จะแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์เอลซัลวาดอร์ประจำประเทศไทย
3. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์จะส่งหนังสือเชิญ ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์ ให้ไปเยือนเอลซัลวาดอร์อย่างเป็นทางการ หลังจาก ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ เสร็จสิ้นการเข้าร่วมประชุมกลุ่ม G77 ที่กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา (ระหว่างวันที่ 10 - 14 เมษายน 2543)
4. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์ที่จะเจรจาทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมการลงทุนกับไทยโดยฝ่ายเอลซัลวาดอร์จะได้ส่งร่างความตกลงดังกล่าวให้ฝ่ายไทยพิจารณา และหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงนามในความตกลงดังกล่าวในระหว่างที่ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีฯ เยือนเอลซัลวาดอร์
5. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์จะให้บริษัทก่อสร้างของไทยเข้าร่วมในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Cutuco ที่เมือง La Union ซึ่งเอกอัครราชฑูตเอลซัลวาดอร์จะส่งรายละเอียดเกี่ยกกับโครงการดังกล่าวให้สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโกต่อไป
6. เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก ได้มอบหนังสือแสดงหลักฐานว่าประเทศไทยไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อของผู้ส่งออกข้าวที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชเพื่อขอให้รัฐบาลเอลซัลวาดอร์พิจารณา ยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวไทย ซึ่งขณะนี้เม็กซิโกกำลังดำเนินการยกเลิกมาตรการดังกล่าวแล้ว--จบ--
วันนี้ (1 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่ได้มีการพบหารือระหว่าง ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับนาย Hector Miguel Dada Sanchez รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 10 (การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10) นั้น
กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก (ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมดูแลเอลซัลวาดอร์ด้วย) ว่า เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2543 นาย Eduardo Calix Lopez เอกอัครราชฑูตเอลซัลวาดอร์ประจำประเทศเม็กซิโก ได้เข้าพบเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก เพื่อหารือข้อราชการและติดตามผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศไทยกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. นาย Calix แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ให้การต้อนรับ นาย Dada รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอลซัลวาดอร์อย่างดียิ่ง ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 รวมทั้งขอบคุณ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ที่ได้ให้เวลาเข้าพบ
2. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์ที่จะแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์เอลซัลวาดอร์ประจำประเทศไทย
3. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์จะส่งหนังสือเชิญ ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์ ให้ไปเยือนเอลซัลวาดอร์อย่างเป็นทางการ หลังจาก ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ เสร็จสิ้นการเข้าร่วมประชุมกลุ่ม G77 ที่กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา (ระหว่างวันที่ 10 - 14 เมษายน 2543)
4. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์ที่จะเจรจาทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมการลงทุนกับไทยโดยฝ่ายเอลซัลวาดอร์จะได้ส่งร่างความตกลงดังกล่าวให้ฝ่ายไทยพิจารณา และหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงนามในความตกลงดังกล่าวในระหว่างที่ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีฯ เยือนเอลซัลวาดอร์
5. รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ประสงค์จะให้บริษัทก่อสร้างของไทยเข้าร่วมในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Cutuco ที่เมือง La Union ซึ่งเอกอัครราชฑูตเอลซัลวาดอร์จะส่งรายละเอียดเกี่ยกกับโครงการดังกล่าวให้สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโกต่อไป
6. เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเม็กซิโก ได้มอบหนังสือแสดงหลักฐานว่าประเทศไทยไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อของผู้ส่งออกข้าวที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชเพื่อขอให้รัฐบาลเอลซัลวาดอร์พิจารณา ยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวไทย ซึ่งขณะนี้เม็กซิโกกำลังดำเนินการยกเลิกมาตรการดังกล่าวแล้ว--จบ--