กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการพบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียยุโรป-ยุโรป ครั้งที่ 3 ที่ กรุงปักกิ่ง โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การหารือกับนาย Han Seung-soo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้ ฝ่ายไทยได้ย้ำประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ฝ่ายไทยได้ขอให้เกาหลีใต้พิจารณาเปิดตลาดแก่สินค้าไทย โดยเฉพาะ สินค้าเกษตร
1.2 ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือกันในเรื่องของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
1.3 ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มีการเจรจาในเรื่องการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย-เกาหลีใต้ เนื่องจากขณะนี้ ขั้นตอนในการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้นเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการเจรจากันในรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ฝ่ายเกาหลีใต้ได้แจ้งว่า ขณะนี้กำลังอยู๋ในระหว่างการเจรจากับชิลีในเรื่องการเปิดตลาดการค้าเสรี และจะได้เจรจากับไทยต่อไป
2. การหารือกับนาย Christopher Patten กรรมาธิการยุโรปด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.1 ฝ่ายไทยขอให้สหภาพยุโรปพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางด้านการค้าแก่สินค้าไทยอีกครั้ง หลังจากที่ได้ยกเลิกไปเนื่องจากสหภาพยุโรปมองว่าสินค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาด ยุโรปมากและมีศักยภาพพอที่จะแข่งขันในตลาดยุโรปได้ แต่ในความเป็นจริงหลังการยกเลิกสิทธิพิเศษทางด้านการค้าให้แก่สินค้าไทย ปรากฏว่ายอดขายสินค้าไทยในตลาดลดลงอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปโดยปราศจากการได้สิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สหภาพยุโรปทบทวนการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ นาย Patten รับที่จะนำประเด็นนี้กลับไปพิจารณาร่วมกับกรรมาธิการยุโรปที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.2 ฝ่ายไทยขอให้สหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการอนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งนาย Patten แจ้งว่าสิ่งที่ไทยต้องการสอดคล้องกับนโยบายของสหภาพยุโรปที่ประสงค์จะกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยในระดับเดียวกับที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก
2.3 ฝ่ายไทยแสดงความกังวลเกี่ยวกับการปรับกฏเกณฑ์การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศของสหภาพยุโรป ซึ่งอาจจะกระทบกับการส่งออกข้าวของไทย ซึ่งนาย Patten รับที่จะนำไปพิจารณา
2.4 นาย Patten สอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์และกระบวนการปรองดองในพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ได้มีโอกาสหารือกับเลขาธิการคนที่ 1 พลโท ขิ่น หยุ้น และทราบว่ากระบวนการปรองดองภายในพม่ายังคงดำเนินต่อไป และได้รับรายงานล่าสุดว่าพม่าได้เชิญนาย Razali ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติไปเยือนพม่าแล้ว ในวันที่ 1-4 มิถุนายน 2544 นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือปราบปรามยาเสพติด 4 ฝ่าย ซึ่งนายก- รัฐมนตรีไทยได้เสนอกับนายจูหรงจี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งสหภาพยุโรปก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยขออย่าให้คิดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพม่า เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งนาย Patten ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวทางที่ฝ่ายไทยริเริ่มขึ้นและประสงค์จะขอหารือกับฝ่ายไทยอีกครั้งหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ฮานอยในเดือนกรกฎาคม 2544
3. การหารือกับนาง Tanaka Makiko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเยือนญี่ปุ่น
3.2 ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ประเทศ คือไทย เวียดนาม และลาวกำลังจะหารือกันเพื่อวางแผนด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง และถนนสายที่ 9 รวมถึงการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เมืองดานัง และโดยที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ให้เงินกู้แก่ลาวและไทย ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าว จึงตกลงกันที่จะให้เชิญญี่ปุ่นมาร่วมหารือด้วยที่จังหวัดมุกดาหารหรือสะหวันนะเขตเป็น 4 รัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความยินดีที่จะร่วมการประชุมดังกล่าว
4. การหารือกับนาย Hubert Vedrine รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสได้สอบถามเกี่ยวกับในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายได้เคยหารือกันคือ เรื่องปัญหายาเสพติดและสถานการณ์การปรองดองในพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายผรั่งเศสทราบเช่นเดียวกับที่แจ้งให้กรรมาธิการสหภาพยุโรปทราบ ทั้งนี้ฝรั่งเศสได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าเป็นอย่างมากและยินดีที่จะร่วมมือกับไทยในการที่จะดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในพม่า และยินดีที่จะสนับสนุนโครงการปราบปราม ยาเสพติดของไทยให้บรรลุผลสำเร็จ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการพบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในระหว่างการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียยุโรป-ยุโรป ครั้งที่ 3 ที่ กรุงปักกิ่ง โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การหารือกับนาย Han Seung-soo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของเกาหลีใต้ ฝ่ายไทยได้ย้ำประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 ฝ่ายไทยได้ขอให้เกาหลีใต้พิจารณาเปิดตลาดแก่สินค้าไทย โดยเฉพาะ สินค้าเกษตร
1.2 ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือกันในเรื่องของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
1.3 ฝ่ายไทยประสงค์จะให้มีการเจรจาในเรื่องการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย-เกาหลีใต้ เนื่องจากขณะนี้ ขั้นตอนในการศึกษาความเป็นไปได้ขั้นต้นเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการเจรจากันในรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ฝ่ายเกาหลีใต้ได้แจ้งว่า ขณะนี้กำลังอยู๋ในระหว่างการเจรจากับชิลีในเรื่องการเปิดตลาดการค้าเสรี และจะได้เจรจากับไทยต่อไป
2. การหารือกับนาย Christopher Patten กรรมาธิการยุโรปด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.1 ฝ่ายไทยขอให้สหภาพยุโรปพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางด้านการค้าแก่สินค้าไทยอีกครั้ง หลังจากที่ได้ยกเลิกไปเนื่องจากสหภาพยุโรปมองว่าสินค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาด ยุโรปมากและมีศักยภาพพอที่จะแข่งขันในตลาดยุโรปได้ แต่ในความเป็นจริงหลังการยกเลิกสิทธิพิเศษทางด้านการค้าให้แก่สินค้าไทย ปรากฏว่ายอดขายสินค้าไทยในตลาดลดลงอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปโดยปราศจากการได้สิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สหภาพยุโรปทบทวนการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ นาย Patten รับที่จะนำประเด็นนี้กลับไปพิจารณาร่วมกับกรรมาธิการยุโรปที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.2 ฝ่ายไทยขอให้สหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการอนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งนาย Patten แจ้งว่าสิ่งที่ไทยต้องการสอดคล้องกับนโยบายของสหภาพยุโรปที่ประสงค์จะกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยในระดับเดียวกับที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก
2.3 ฝ่ายไทยแสดงความกังวลเกี่ยวกับการปรับกฏเกณฑ์การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศของสหภาพยุโรป ซึ่งอาจจะกระทบกับการส่งออกข้าวของไทย ซึ่งนาย Patten รับที่จะนำไปพิจารณา
2.4 นาย Patten สอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์และกระบวนการปรองดองในพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ได้มีโอกาสหารือกับเลขาธิการคนที่ 1 พลโท ขิ่น หยุ้น และทราบว่ากระบวนการปรองดองภายในพม่ายังคงดำเนินต่อไป และได้รับรายงานล่าสุดว่าพม่าได้เชิญนาย Razali ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติไปเยือนพม่าแล้ว ในวันที่ 1-4 มิถุนายน 2544 นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือปราบปรามยาเสพติด 4 ฝ่าย ซึ่งนายก- รัฐมนตรีไทยได้เสนอกับนายจูหรงจี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งสหภาพยุโรปก็จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยขออย่าให้คิดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพม่า เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งนาย Patten ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวทางที่ฝ่ายไทยริเริ่มขึ้นและประสงค์จะขอหารือกับฝ่ายไทยอีกครั้งหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ฮานอยในเดือนกรกฎาคม 2544
3. การหารือกับนาง Tanaka Makiko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเยือนญี่ปุ่น
3.2 ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ประเทศ คือไทย เวียดนาม และลาวกำลังจะหารือกันเพื่อวางแผนด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง และถนนสายที่ 9 รวมถึงการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เมืองดานัง และโดยที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ให้เงินกู้แก่ลาวและไทย ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าว จึงตกลงกันที่จะให้เชิญญี่ปุ่นมาร่วมหารือด้วยที่จังหวัดมุกดาหารหรือสะหวันนะเขตเป็น 4 รัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความยินดีที่จะร่วมการประชุมดังกล่าว
4. การหารือกับนาย Hubert Vedrine รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสได้สอบถามเกี่ยวกับในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายได้เคยหารือกันคือ เรื่องปัญหายาเสพติดและสถานการณ์การปรองดองในพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายผรั่งเศสทราบเช่นเดียวกับที่แจ้งให้กรรมาธิการสหภาพยุโรปทราบ ทั้งนี้ฝรั่งเศสได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าเป็นอย่างมากและยินดีที่จะร่วมมือกับไทยในการที่จะดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในพม่า และยินดีที่จะสนับสนุนโครงการปราบปราม ยาเสพติดของไทยให้บรรลุผลสำเร็จ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-