ในวันนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีการประชุมเพื่อประเมินแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน คณะกรรมการมีความเห็นว่า จากข้อมูลล่าสุด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณไว้ในเดือนมกราคม กล่าวคือ เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ยังไม่สูงนัก เพราะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาค ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยจะชะลอตัวลงอีก แต่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่างๆ น่าจะปรับดีขึ้นในปี 2545 จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งคณะกรรมการฯ คาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเป็นเม็ดเงินใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นต้นไปนั้น นโยบายดังกล่าวจะทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในขนาดที่ต่างๆ กันไป ขึ้นกับขนาดของเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบในแต่ละปี ขึ้นกับกิจกรรมที่ใช้จ่ายว่าจะนำไปสู่การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด และขึ้นกับการใช้จ่ายนั้นมีผลทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าและบริการมากขึ้นเพียงใด อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ยังต่ำกว่าศักยภาพ คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 2544 และ 2545 ยังคงอยู่ในเป้าหมายที่กำหนด
การที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญานการดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลายมาโดยตลอด เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น ได้มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลงตามมาด้วย โดยเฉพาะสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยสำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี ได้ปรับลดลงจากระดับร้อยละ 6.6 เหลือร้อยละ 5.4 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิม คืออัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/1 มีนาคม 2544--
-ยก-
ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งคณะกรรมการฯ คาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเป็นเม็ดเงินใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นต้นไปนั้น นโยบายดังกล่าวจะทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในขนาดที่ต่างๆ กันไป ขึ้นกับขนาดของเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบในแต่ละปี ขึ้นกับกิจกรรมที่ใช้จ่ายว่าจะนำไปสู่การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด และขึ้นกับการใช้จ่ายนั้นมีผลทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าและบริการมากขึ้นเพียงใด อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ยังต่ำกว่าศักยภาพ คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 2544 และ 2545 ยังคงอยู่ในเป้าหมายที่กำหนด
การที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญานการดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลายมาโดยตลอด เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น ได้มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลงตามมาด้วย โดยเฉพาะสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยสำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี ได้ปรับลดลงจากระดับร้อยละ 6.6 เหลือร้อยละ 5.4 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิม คืออัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/1 มีนาคม 2544--
-ยก-