ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนเมษายน 2544 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยมีเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยบวก ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ปริมาณการใช้ไฟฟ้า การค้าชายแดนไทยลาวเกินดุล แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศและเงินโอนกลับจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
นอกจากนี้ภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่เป็นลบในเดือนนี้ ได้แก่ ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ (น้ำตาล เยื่อกระดาษ และเครื่องดื่ม) สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯ เดือนนี้ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมีเพียง SMEs เท่านั้นที่มีการปล่อยบ้าง ทั้งนี้นักลงทุนและประชาชนยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรมก่อนวางแผนการลงทุนของตนเอง
ภาคการเกษตร
การผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่เสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวลงแล้ว เกษตรกรอยู่ในช่วงเตรียมพื้นที่และพันธุ์พืชเพื่อรอการเพาะปลูก ด้านราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ในเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ท้องตลาด ขณะเดียวกันพ่อค้าในภาคและต่างถิ่นเข้าทำการรับซื้อข้าวนาปรัง เพื่อนำแปรรูปเป็นข้าวนึ่งเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและตลาดทำให้มีความคึกคักขึ้น ส่วนข้าวนาปีตลาดยังคงซบเซา เกษตรกรนำข้าวออกจำหน่ายน้อย เนื่องจากราคาข้าวไม่จูงใจ
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,433 บาท ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,506 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,898 บาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนกระสอบละ 4,939 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 929 บาท ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนกระสอบละ 933 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 989 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 บาท จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,125 บาท
ด้านการผลิตในช่วงเดือนเมษายนปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังที่เกษตรกรนำออกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการเก็บเกี่ยวอ้อยได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ด้านการตลาดความต้องการของตลาดในภาคยังมีอย่างคงที่ต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานในท้องถิ่น ส่วนราคาขายส่งเฉลี่ยมีการปรับตัวเล็กน้อย โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.76 บาท ลดลงร้อยละ 2.6 มันเส้นกิโลกรัมละ 1.55 บาท ลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนมันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.07 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
การผลิตข้าวโพดเป็นช่วงฤดูเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 การเจริญเติบโตไม่ดีนัก เนื่องจากอากาศร้อนแห้งแล้งสำหรับด้านการตลาดราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก จากสภาพฝนที่มีการกระจายตัวน้อย และมาช้ากว่าปีก่อน ส่งผลให้การเติบโตของอ้อยในบางพื้นที่ค่อนข้างน้อย เช่น จังหวัดอุดรธานี ส่วนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคการเติบโตดี เนื่องจากได้รับฝนสม่ำเสมอ
สำหรับสภาพปัญหาที่สำคัญในการเพาะปลูก ได้แก่ ปัญหาโรคใบขาว และหนอนเจาะลำต้น ทางการเข้ามาดูแลในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยให้คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลอ้อย เป็นผู้ควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหา ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากเงินกองทุนน้ำตาลทราย จำนวน 56 ล้านบาท (ทั้งประเทศ) สำหรับการจัดสรรเงินนั้นพิจารณาจากความเสียหายของแต่ละพื้นที่
ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนเมษายนเป็นช่วงปลายการผลิตของโรงงานน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่ได้ทำการปิดหีบไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมแล้ว บางส่วนได้หยุดรับอ้อยและได้ทำการละลายน้ำตาลทรายดิบให้เป็นน้ำตาลทรายขาวต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำตาลในเดือนนี้มี 24,004 กระสอบ ลดลงจากเดือนก่อนที่มีการผลิตน้ำตาลได้ 1,392,717 กระสอบ
เนื่องจากใกล้ช่วงการปิดหีบอ้อยของโรงงานทั้งหมด ทำให้เห็นภาพว่ามีผลผลิตอ้อยเข้าหีบจนถึงขณะนี้ 17.9 ล้านตัน ลดลงจากที่คาดการณ์ผลผลิตไว้ทั้งหมด 21 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว โดยผลิตน้ำตาลได้ 19 ล้านกระสอบ ทำให้อ้อย 1 ตัน สามารถผลิตน้ำตาลได้ 105.5 กิโลกรัม สูงกว่าภาคอื่น ๆ ในประทศ
การลงทุนภาคเอกชน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ ลดลงจากเดือนก่อนที่มี 2 โครงการ เงินลงทุน 7.84 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.2 จากเดือนก่อนที่มีเงินลงทุน 89.4 ล้านบาท ได้แก่ บริษัทโรซ่า เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ที่จังหวัดหนองคาย ผลิตพริกบด เงินลงทุน 7.84 ล้านบาท จ้างงานไทย 33 คน
เดือนเมษายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการ 426 ราย เงินทุน 656.1 ล้านบาท จำนวนรายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.4 แต่เงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดบริการการเงิน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียนในช่วงเดือนนี้มี 12 ราย เงินทุน 110.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40.0 และร้อยละ 13.6 ตามลำดับ และมีการเลิกกิจการ 96 ราย เงินทุน 59.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.3 และร้อยละ 33.3 ตามลำดับ
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 242.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.5 เนื่องจากการขยายฐานภาษี และการติดตามดูแลการชำระภาษีอย่างใกล้ชิด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 660 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เนื่องจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศร้อนจัดตลอดเดือนนี้
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเมษายน 2544 มีทั้งสิ้น 41,167.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 828 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 22.8 รถบรรทุกส่วนบุคคล 1,494 คัน ลดลงร้อยละ 18.4 และรถจักรยานยนต์ 13,895 คัน ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี อีกทั้งในปีนี้ลูกค้าทยอยซื้อมาตั้งแต่ต้นปี
ดัชนีราคา
อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีนี้เท่ากับ 2.2 (วัดจากดัชนีราคาทั่วไปในเดือนนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) และเมื่อดูดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนพบว่าสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.8 และราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดผักและผลไม้ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 7.4 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการผลิต หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 แต่หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 2.5
เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากที่สุดร้อยละ 8.2 เนื่องจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตในหมวดสุราและยาสูบในช่วงปลายเดือนมีนาคม และหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เนื่องจากมีการปรับราคาขายและค่าบริการสูงขึ้น
แรงงานต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีแรงงานเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 11,707 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จากเดือนก่อนที่มี 10,444 คน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนแรงงาน 10,762 คน
จังหวัดที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ จังหวัดอุดรธานี 2,134 คน นครราชสีมา 1,776 คน และจังหวัดขอนแก่น 1,141 คน โดยประเทศที่แรงงานเดินทางไปมากที่สุดได้แก่ประเทศไต้หวัน
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนนี้มีแนวโน้มลดลง โดยมูลค่าการค้า 1,558.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 เนื่องจากการส่งออก 1,248.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นการลดลงของสินค้าทุกหมวด การนำเข้า 310.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.0 ไทยยังคงเกินดุลลาว 801.3 ล้านบาท
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 211.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เนื่องจากความต้องการใช้ภายในลาวเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นการสั่งเข้าเพื่อไปจำหน่ายต่อที่ประเทศเวียดนามและประเทศจีน (จีนมีการสั่งชิ้นส่วนมอเตอร์ไซด์ (วงล้อ) เพื่อนำไปประกอบรถมอเตอร์ไซด์ฮอนด้าดรีมตัวสินค้ามีรูปแบบเหมือนไทย แต่คุณภาพยังด้อยกว่าและยังไม่เป็นที่นิยมของตลาด) เครื่องใช้ไฟฟ้า 199.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 วัสดุก่อสร้าง 106.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.1 เนื่องจากเป็นช่วงหยุดเทศกาลสงกรานต์ของทั้งสองประเทศ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 112.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.1 ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 249.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.5 เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เข้าสู่ฤดูฝนความต้องการใช้ไม้เริ่มลดลง
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเมษายน 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 503 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 3 สำนักงาน จากการปิดสำนักงานธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน) 4 สำนักงาน ได้แก่ สาขาปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สาขาอุบลราชธานี สาขาขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา และสาขากุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในขณะที่มีการเปิดใหม่ 1 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเทสโก้โลตัส จังหวัดอุบลราชธานี
จากข้อมูลเบื้องต้นมีเงินฝากคงค้าง 242,296.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งที่เงินฝากลดลงเนื่องจากการใช้จ่ายส่วนบุคคลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในภาคฯ ขณะที่มีสินเชื่อคงค้าง 194,408.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ในเดือนนี้อัตราสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 80.1 เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 80.2 ในเดือนนี้
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,728.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4
ภาคการคลัง
เดือนเมษายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 9,396.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 จากเดือนก่อน ขาดดุล 10,984.5 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 10,514.4 ล้านบาท ลดลงจากร้อยละ 15.5 จากเดือนก่อน 12,445.3 ผลจากรายจ่ายลงทุน 2,728.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.7 จากเดือนก่อน 4,378.1 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนลดลงเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 13.4 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 10,527.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.8 จากเดือนก่อน 12,500.3 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,117.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.5 จากเดือนก่อน 1,460.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนเมษายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 103 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2544 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านผลประกอบการ และด้านต้นทุนการประกอบการ แย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงานและแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ คาดว่าแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะลดลง โดยลดลงเป็นร้อยละ 46.9 ในเดือนหน้าและร้อยละ 45.0 ในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนเมษายน 2544 ธุรกิจมีสภาพคล่องลดลงจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลง ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
1) ภาครัฐควรดูแลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ค่าไฟฟ้า / แก๊สหุงต้มที่ขึ้นราคาและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้นตาม
2) ภาครัฐควรให้ความสำคัญเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนและส่งผลให้อำนาจซื้อของเกษตรกรลดลง
3) ภาครัฐควรเร่งให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง
4) ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว และมีเป้าหมายชัดเจน / คุ้มค่า เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดีขึ้น
5) ผู้ประกอบการยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
6) ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษีส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
นอกจากนี้ภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่เป็นลบในเดือนนี้ ได้แก่ ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ (น้ำตาล เยื่อกระดาษ และเครื่องดื่ม) สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯ เดือนนี้ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมีเพียง SMEs เท่านั้นที่มีการปล่อยบ้าง ทั้งนี้นักลงทุนและประชาชนยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรมก่อนวางแผนการลงทุนของตนเอง
ภาคการเกษตร
การผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่เสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวลงแล้ว เกษตรกรอยู่ในช่วงเตรียมพื้นที่และพันธุ์พืชเพื่อรอการเพาะปลูก ด้านราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ในเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ท้องตลาด ขณะเดียวกันพ่อค้าในภาคและต่างถิ่นเข้าทำการรับซื้อข้าวนาปรัง เพื่อนำแปรรูปเป็นข้าวนึ่งเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและตลาดทำให้มีความคึกคักขึ้น ส่วนข้าวนาปีตลาดยังคงซบเซา เกษตรกรนำข้าวออกจำหน่ายน้อย เนื่องจากราคาข้าวไม่จูงใจ
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,433 บาท ลดลงร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,506 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,898 บาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนกระสอบละ 4,939 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 929 บาท ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนกระสอบละ 933 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 989 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 บาท จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,125 บาท
ด้านการผลิตในช่วงเดือนเมษายนปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังที่เกษตรกรนำออกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการเก็บเกี่ยวอ้อยได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ด้านการตลาดความต้องการของตลาดในภาคยังมีอย่างคงที่ต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานในท้องถิ่น ส่วนราคาขายส่งเฉลี่ยมีการปรับตัวเล็กน้อย โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.76 บาท ลดลงร้อยละ 2.6 มันเส้นกิโลกรัมละ 1.55 บาท ลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนมันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.07 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
การผลิตข้าวโพดเป็นช่วงฤดูเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 การเจริญเติบโตไม่ดีนัก เนื่องจากอากาศร้อนแห้งแล้งสำหรับด้านการตลาดราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.10 บาท
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก จากสภาพฝนที่มีการกระจายตัวน้อย และมาช้ากว่าปีก่อน ส่งผลให้การเติบโตของอ้อยในบางพื้นที่ค่อนข้างน้อย เช่น จังหวัดอุดรธานี ส่วนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคการเติบโตดี เนื่องจากได้รับฝนสม่ำเสมอ
สำหรับสภาพปัญหาที่สำคัญในการเพาะปลูก ได้แก่ ปัญหาโรคใบขาว และหนอนเจาะลำต้น ทางการเข้ามาดูแลในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยให้คณะอนุกรรมการควบคุมดูแลอ้อย เป็นผู้ควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหา ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากเงินกองทุนน้ำตาลทราย จำนวน 56 ล้านบาท (ทั้งประเทศ) สำหรับการจัดสรรเงินนั้นพิจารณาจากความเสียหายของแต่ละพื้นที่
ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนเมษายนเป็นช่วงปลายการผลิตของโรงงานน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่ได้ทำการปิดหีบไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมแล้ว บางส่วนได้หยุดรับอ้อยและได้ทำการละลายน้ำตาลทรายดิบให้เป็นน้ำตาลทรายขาวต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำตาลในเดือนนี้มี 24,004 กระสอบ ลดลงจากเดือนก่อนที่มีการผลิตน้ำตาลได้ 1,392,717 กระสอบ
เนื่องจากใกล้ช่วงการปิดหีบอ้อยของโรงงานทั้งหมด ทำให้เห็นภาพว่ามีผลผลิตอ้อยเข้าหีบจนถึงขณะนี้ 17.9 ล้านตัน ลดลงจากที่คาดการณ์ผลผลิตไว้ทั้งหมด 21 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว โดยผลิตน้ำตาลได้ 19 ล้านกระสอบ ทำให้อ้อย 1 ตัน สามารถผลิตน้ำตาลได้ 105.5 กิโลกรัม สูงกว่าภาคอื่น ๆ ในประทศ
การลงทุนภาคเอกชน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ ลดลงจากเดือนก่อนที่มี 2 โครงการ เงินลงทุน 7.84 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.2 จากเดือนก่อนที่มีเงินลงทุน 89.4 ล้านบาท ได้แก่ บริษัทโรซ่า เกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ที่จังหวัดหนองคาย ผลิตพริกบด เงินลงทุน 7.84 ล้านบาท จ้างงานไทย 33 คน
เดือนเมษายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการ 426 ราย เงินทุน 656.1 ล้านบาท จำนวนรายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.4 แต่เงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดบริการการเงิน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียนในช่วงเดือนนี้มี 12 ราย เงินทุน 110.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40.0 และร้อยละ 13.6 ตามลำดับ และมีการเลิกกิจการ 96 ราย เงินทุน 59.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.3 และร้อยละ 33.3 ตามลำดับ
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 242.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.5 เนื่องจากการขยายฐานภาษี และการติดตามดูแลการชำระภาษีอย่างใกล้ชิด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 660 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.8 และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เนื่องจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศร้อนจัดตลอดเดือนนี้
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเมษายน 2544 มีทั้งสิ้น 41,167.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 828 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 22.8 รถบรรทุกส่วนบุคคล 1,494 คัน ลดลงร้อยละ 18.4 และรถจักรยานยนต์ 13,895 คัน ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี อีกทั้งในปีนี้ลูกค้าทยอยซื้อมาตั้งแต่ต้นปี
ดัชนีราคา
อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีนี้เท่ากับ 2.2 (วัดจากดัชนีราคาทั่วไปในเดือนนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) และเมื่อดูดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนพบว่าสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.8 และราคาสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
หมวดผักและผลไม้ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 7.4 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการผลิต หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 แต่หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 2.5
เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากที่สุดร้อยละ 8.2 เนื่องจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตในหมวดสุราและยาสูบในช่วงปลายเดือนมีนาคม และหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เนื่องจากมีการปรับราคาขายและค่าบริการสูงขึ้น
แรงงานต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีแรงงานเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 11,707 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จากเดือนก่อนที่มี 10,444 คน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนแรงงาน 10,762 คน
จังหวัดที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ จังหวัดอุดรธานี 2,134 คน นครราชสีมา 1,776 คน และจังหวัดขอนแก่น 1,141 คน โดยประเทศที่แรงงานเดินทางไปมากที่สุดได้แก่ประเทศไต้หวัน
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาวในเดือนนี้มีแนวโน้มลดลง โดยมูลค่าการค้า 1,558.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 เนื่องจากการส่งออก 1,248.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นการลดลงของสินค้าทุกหมวด การนำเข้า 310.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.0 ไทยยังคงเกินดุลลาว 801.3 ล้านบาท
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 211.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เนื่องจากความต้องการใช้ภายในลาวเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นการสั่งเข้าเพื่อไปจำหน่ายต่อที่ประเทศเวียดนามและประเทศจีน (จีนมีการสั่งชิ้นส่วนมอเตอร์ไซด์ (วงล้อ) เพื่อนำไปประกอบรถมอเตอร์ไซด์ฮอนด้าดรีมตัวสินค้ามีรูปแบบเหมือนไทย แต่คุณภาพยังด้อยกว่าและยังไม่เป็นที่นิยมของตลาด) เครื่องใช้ไฟฟ้า 199.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 วัสดุก่อสร้าง 106.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.1 เนื่องจากเป็นช่วงหยุดเทศกาลสงกรานต์ของทั้งสองประเทศ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 112.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.1 ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 249.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.5 เนื่องจากเป็นช่วงใกล้เข้าสู่ฤดูฝนความต้องการใช้ไม้เริ่มลดลง
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเมษายน 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 503 สำนักงาน ลดลงจากเดือนก่อน 3 สำนักงาน จากการปิดสำนักงานธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน) 4 สำนักงาน ได้แก่ สาขาปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สาขาอุบลราชธานี สาขาขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา และสาขากุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในขณะที่มีการเปิดใหม่ 1 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเทสโก้โลตัส จังหวัดอุบลราชธานี
จากข้อมูลเบื้องต้นมีเงินฝากคงค้าง 242,296.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งที่เงินฝากลดลงเนื่องจากการใช้จ่ายส่วนบุคคลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในภาคฯ ขณะที่มีสินเชื่อคงค้าง 194,408.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ในเดือนนี้อัตราสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 80.1 เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 80.2 ในเดือนนี้
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,728.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4
ภาคการคลัง
เดือนเมษายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 9,396.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 จากเดือนก่อน ขาดดุล 10,984.5 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 10,514.4 ล้านบาท ลดลงจากร้อยละ 15.5 จากเดือนก่อน 12,445.3 ผลจากรายจ่ายลงทุน 2,728.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.7 จากเดือนก่อน 4,378.1 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนลดลงเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 13.4 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 10,527.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.8 จากเดือนก่อน 12,500.3 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,117.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.5 จากเดือนก่อน 1,460.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ
การสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนเมษายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 103 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2544 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านผลประกอบการ และด้านต้นทุนการประกอบการ แย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงานและแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ คาดว่าแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะลดลง โดยลดลงเป็นร้อยละ 46.9 ในเดือนหน้าและร้อยละ 45.0 ในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศลดลงจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนเมษายน 2544 ธุรกิจมีสภาพคล่องลดลงจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลง ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
1) ภาครัฐควรดูแลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ค่าไฟฟ้า / แก๊สหุงต้มที่ขึ้นราคาและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้นตาม
2) ภาครัฐควรให้ความสำคัญเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนและส่งผลให้อำนาจซื้อของเกษตรกรลดลง
3) ภาครัฐควรเร่งให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง
4) ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว และมีเป้าหมายชัดเจน / คุ้มค่า เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดีขึ้น
5) ผู้ประกอบการยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
6) ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษีส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-