ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นในนโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มิได้กังวลกรณีการดำเนินนโยบายการเงินที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังมีรัฐบาลใหม่ เพราะเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ที่กำหนดไว้ในปัจจุบันถือเป็นแผนสำคัญ มีการรายงานภาวะเงินเฟ้อทุกไตรมาส มีแบบจำลองเศรษฐกิจที่ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไปว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อเป้าหมายหรือไม่ หากทางการสามารถดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ก็สามารถดึงเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ โดย ธปท.ไม่ต้องเข้าแทรกแซง ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจมีเสถียรภาพภายใต้ระดับราคาคงที่ อัตราเงินเฟ้อต่ำ เพราะหากเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ธปท. พยายามแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการวางรากฐานในระยะยาว ทั้งนี้ ธปท.ได้ส่งรายงานแบบจำลองเศรษฐกิจเกี่ยวกับเป้าหมายนโยบายเงินเฟ้อให้พรรคการเมืองใหญ่ๆ เข้าใจถึงเทคโนโลยี และเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน 13)
2. ธปท. ตั้งคณะทำงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้จัดตั้งทีมงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อดูแลการทำธุรกรรมเงินบาทของสถาบันการเงินและองค์กรต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.ให้เป็นไปกฎตามระเบียบที่กำหนด ถือเป็นครั้งแรกที่ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลการเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 44 การจัดตั้งทีมงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเป็นอีกมาตรการหนึ่ง เพื่อทำให้กระบวนการติดตามดูแลการทำธุรกรรมเงินบาทของ ธปท.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้ดำเนินการปรับปรุงส่วนต่างๆ ทั้งระเบียบและวิธีการให้มีความชัดเจน เช่น การกำหนดคำนิยามของมาตรการห้ามนำเงินออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท ปรับปรุงแบบรายงาน ธ.ต.3 และ ธ.ต.4 รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตดำเนินการดูแลลูกค้าที่ร่วมทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินรายงานการทำธุรกรรมให้ถูกต้องตามคำสั่ง ธปท (วัฏจักร 13)
3. นักค้าเงินวิเคราะห์ว่า ธปท.อาจเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท นักค้าเงินกล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงแตะระดับ 43-44 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระหว่าง ส.ค.-ต.ค.43 ว่า มาจากการแทรกแซงค่าเงินของ ธปท.เป็นระยะๆ เพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นในภูมิภาค ซึ่ง ธปท.ได้ปฏิเสธมาตลอด โดยแสดงให้เห็นผ่านทุนสำรองระหว่างประเทศที่ไม่ลดลง โดยล่าสุด ณ วันที่ 4 พ.ย. ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นเป็น 32,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. ภาระซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าคงอยู่ที่จำนวน 2,100 ล.ดอลลาร์ แต่ตัวเลขหนี้ต่างประเทศเดือน ส.ค.ของ ธปท.กลับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 70 ล.ดอลลาร์ และเงินที่ ธปท.กู้มายืมจากแหล่งอื่นนอกจากไอเอ็มเอฟเพิ่มขึ้นเป็น 104 ล.ดอลลาร์ ดังนั้น จึงมองว่า ธปท.อาจกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อมาหนุนทุนสำรองฯ หลังจากเข้าแทรกแซงค่าเงินในช่วงก่อนหน้า และเตรียมเงินไว้ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ 201 ล.ดอลลาร์ กลางเดือน พ.ย.43 อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์กล่าวว่า การเพิ่มหนี้ในเดือน ส.ค.ดังกล่าว มิได้เกิดจากการกู้เงินเพิ่มของ ธปท. แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอลลาร์ สรอ. เพราะ ธปท.มีหนี้เป็นเงินสกุลอื่นด้วย เช่น เงินเยน (ไทยรัฐ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 43 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข อยู่ที่มูลค่า 1,441.4 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เทียบต่อปี หลังจากที่เกินดุลฯ มูลค่า 985.2 พันล้านเยน ในเดือน ส.ค. 43 และในเดือน ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า มูลค่า 1,455.0 พันล้านเยน จากที่เกินดุลฯ มูลค่า 781.8 พันล้านเยน ในเดือน ส.ค. 43 สำหรับในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย. - ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด อยู่ที่มูลค่า 6,785.3 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่ เกินดุลการค้า อยู่ที่มูลค่า 6,753.2 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 6.1 จากระยะเดียวกันของปี 42.(รอยเตอร์ 13)
2. เศรษฐกิจของประเทศในเขตเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มขยายตัวลดลง รายงานจากบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 12 พ.ย.43 Pacific Economic Outlook (PEO) Group ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จาก 20 ประเทศในเขตเอเชีย-แปซิฟิก รายงานว่า ปี 44 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกจะขยายตัวที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.2 หลังจากขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.6 และร้อยละ 3.9 ในปี 43 และ 42 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รายงานว่า ปี 44 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก 21 ประเทศ จะขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 3.6 ในปี 43 และปี 44 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกของ PEO เหมือนกับประเทศสมาชิกของ APEC เกือบทั้งหมด ยกเว้นไม่ได้รวมรัสเซียและปาปัวนิวกินี แต่รวมโคลัมเบียและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตาม รายงานของทั้งสองกลุ่มต่างชี้ไปในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิกฟิกมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในปี 44 หลังจากที่ขยายตัวในอัตราเร่งมากว่า 10 ปี (รอยเตอร์ 12)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของภาคเอกชนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 16.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 43 สำนักวางแผนเศรษฐกิจ ( EPA) เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของภาคเอกชนที่เป็นแกน ที่ไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและบริษัทผลิตไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 16.5 อยู่ที่มูลค่า 1.004 ล้านล้านเยน นับว่าตรงข้ามอย่างมากกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 ใน เดือน ส.ค. 43 และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะลดลงอยู่ในช่วงระหว่าง ร้อยละ 7.1-18.2 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 คำสั่งซื้อฯโดยรวม ลดลงร้อยละ 15.8 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ในเดือน ส.ค. 43 สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันปี 42 นอกจากนั้น ยังคาดว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 43 คำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากรายงานครั้งนี้ แม้คำสั่งซื้อฯจะลดลง แต่นักวิเคราะห์ คาดว่าแนวโน้มคำสั่งซื้อฯยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทต่างๆ เพิ่มการลงทุนในด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศ(รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ย. 43 43.465 (43.588)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ย. 43
ซื้อ 43.2536 (43.4588) ขาย 43.5630 (43.7679)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.57 (29.19)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เชื่อมั่นในนโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.มิได้กังวลกรณีการดำเนินนโยบายการเงินที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังมีรัฐบาลใหม่ เพราะเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ที่กำหนดไว้ในปัจจุบันถือเป็นแผนสำคัญ มีการรายงานภาวะเงินเฟ้อทุกไตรมาส มีแบบจำลองเศรษฐกิจที่ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไปว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อเป้าหมายหรือไม่ หากทางการสามารถดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ก็สามารถดึงเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ โดย ธปท.ไม่ต้องเข้าแทรกแซง ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจมีเสถียรภาพภายใต้ระดับราคาคงที่ อัตราเงินเฟ้อต่ำ เพราะหากเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ธปท. พยายามแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการวางรากฐานในระยะยาว ทั้งนี้ ธปท.ได้ส่งรายงานแบบจำลองเศรษฐกิจเกี่ยวกับเป้าหมายนโยบายเงินเฟ้อให้พรรคการเมืองใหญ่ๆ เข้าใจถึงเทคโนโลยี และเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการเจริญเติบโตที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน 13)
2. ธปท. ตั้งคณะทำงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้จัดตั้งทีมงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อดูแลการทำธุรกรรมเงินบาทของสถาบันการเงินและองค์กรต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.ให้เป็นไปกฎตามระเบียบที่กำหนด ถือเป็นครั้งแรกที่ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลการเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 44 การจัดตั้งทีมงานป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเป็นอีกมาตรการหนึ่ง เพื่อทำให้กระบวนการติดตามดูแลการทำธุรกรรมเงินบาทของ ธปท.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้ดำเนินการปรับปรุงส่วนต่างๆ ทั้งระเบียบและวิธีการให้มีความชัดเจน เช่น การกำหนดคำนิยามของมาตรการห้ามนำเงินออกนอกประเทศเกิน 50 ล.บาท ปรับปรุงแบบรายงาน ธ.ต.3 และ ธ.ต.4 รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตดำเนินการดูแลลูกค้าที่ร่วมทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินรายงานการทำธุรกรรมให้ถูกต้องตามคำสั่ง ธปท (วัฏจักร 13)
3. นักค้าเงินวิเคราะห์ว่า ธปท.อาจเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท นักค้าเงินกล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงแตะระดับ 43-44 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงระหว่าง ส.ค.-ต.ค.43 ว่า มาจากการแทรกแซงค่าเงินของ ธปท.เป็นระยะๆ เพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นในภูมิภาค ซึ่ง ธปท.ได้ปฏิเสธมาตลอด โดยแสดงให้เห็นผ่านทุนสำรองระหว่างประเทศที่ไม่ลดลง โดยล่าสุด ณ วันที่ 4 พ.ย. ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นเป็น 32,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. ภาระซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าคงอยู่ที่จำนวน 2,100 ล.ดอลลาร์ แต่ตัวเลขหนี้ต่างประเทศเดือน ส.ค.ของ ธปท.กลับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 70 ล.ดอลลาร์ และเงินที่ ธปท.กู้มายืมจากแหล่งอื่นนอกจากไอเอ็มเอฟเพิ่มขึ้นเป็น 104 ล.ดอลลาร์ ดังนั้น จึงมองว่า ธปท.อาจกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อมาหนุนทุนสำรองฯ หลังจากเข้าแทรกแซงค่าเงินในช่วงก่อนหน้า และเตรียมเงินไว้ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ 201 ล.ดอลลาร์ กลางเดือน พ.ย.43 อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์กล่าวว่า การเพิ่มหนี้ในเดือน ส.ค.ดังกล่าว มิได้เกิดจากการกู้เงินเพิ่มของ ธปท. แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอลลาร์ สรอ. เพราะ ธปท.มีหนี้เป็นเงินสกุลอื่นด้วย เช่น เงินเยน (ไทยรัฐ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 43 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข อยู่ที่มูลค่า 1,441.4 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เทียบต่อปี หลังจากที่เกินดุลฯ มูลค่า 985.2 พันล้านเยน ในเดือน ส.ค. 43 และในเดือน ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า มูลค่า 1,455.0 พันล้านเยน จากที่เกินดุลฯ มูลค่า 781.8 พันล้านเยน ในเดือน ส.ค. 43 สำหรับในช่วงตั้งแต่เดือน เม.ย. - ก.ย. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด อยู่ที่มูลค่า 6,785.3 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่ เกินดุลการค้า อยู่ที่มูลค่า 6,753.2 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 6.1 จากระยะเดียวกันของปี 42.(รอยเตอร์ 13)
2. เศรษฐกิจของประเทศในเขตเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มขยายตัวลดลง รายงานจากบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 12 พ.ย.43 Pacific Economic Outlook (PEO) Group ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จาก 20 ประเทศในเขตเอเชีย-แปซิฟิก รายงานว่า ปี 44 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกจะขยายตัวที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4.2 หลังจากขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.6 และร้อยละ 3.9 ในปี 43 และ 42 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเขตเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รายงานว่า ปี 44 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก 21 ประเทศ จะขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 3.6 ในปี 43 และปี 44 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกของ PEO เหมือนกับประเทศสมาชิกของ APEC เกือบทั้งหมด ยกเว้นไม่ได้รวมรัสเซียและปาปัวนิวกินี แต่รวมโคลัมเบียและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตาม รายงานของทั้งสองกลุ่มต่างชี้ไปในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิกฟิกมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในปี 44 หลังจากที่ขยายตัวในอัตราเร่งมากว่า 10 ปี (รอยเตอร์ 12)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของภาคเอกชนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 16.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 43 สำนักวางแผนเศรษฐกิจ ( EPA) เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรกลของภาคเอกชนที่เป็นแกน ที่ไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและบริษัทผลิตไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 16.5 อยู่ที่มูลค่า 1.004 ล้านล้านเยน นับว่าตรงข้ามอย่างมากกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 ใน เดือน ส.ค. 43 และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะลดลงอยู่ในช่วงระหว่าง ร้อยละ 7.1-18.2 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 คำสั่งซื้อฯโดยรวม ลดลงร้อยละ 15.8 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ในเดือน ส.ค. 43 สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 คำสั่งซื้อฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันปี 42 นอกจากนั้น ยังคาดว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 43 คำสั่งซื้อฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากรายงานครั้งนี้ แม้คำสั่งซื้อฯจะลดลง แต่นักวิเคราะห์ คาดว่าแนวโน้มคำสั่งซื้อฯยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทต่างๆ เพิ่มการลงทุนในด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศ(รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ย. 43 43.465 (43.588)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ย. 43
ซื้อ 43.2536 (43.4588) ขาย 43.5630 (43.7679)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.57 (29.19)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-