กรุงเทพฯ--20 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศว่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 นาง Sadako Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้สัมภาษณ์ภายหลังจากเยี่ยมชมพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ที่ บ.ถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี แสดงความไม่พอใจต่อการดูแลผู้หนีภัย ฯ ของรัฐบาลไทยว่ามีสภาพความเป็นอยู่ที่แย่จนน่าตกใจนั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. พื้นที่พักพิง บ.ถ้ำหิน จากชื่อก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราว (temporary shelter area) นโยบายของไทยเป็นการอนุญาตให้อยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้น ด้วยเหตุผล ด้านมนุษยธรรม หากสถานการณ์ในฝั่งตรงข้ามมีความปลอดภัยเพียงพอ ผู้หนีภัยฯ เหล่านี้จะต้องเดินทางกลับทันที ดังนั้น ลักษณะอาคารและแบบแปลนการก่อสร้างอาจทำให้ดูแล้วไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากไม่ต้องการดึงดูดให้ผู้หนีภัย ฯ เกิดความรู้สึกสบายและผูกพันจนไม่อยากกลับ ประกอบกับจำนวนพื้นที่พักพิง ฯ มีประมาณ 40 ไร่ มีจำนวนผู้หนีภัย ฯ ประมาณ 8,200 คน โดยมีอัตราการเกิดเดือนละประมาณ 20 คน จึงอาจทำให้พื้นที่ดูคับแคบ ขณะที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
2. หากพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงแล้วที่พักพิงของผู้หนีภัยฯ มีสภาพ เหมือนหรือในบางกรณีมีความเป็นอยู่ดีกว่าราษฎรไทย ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ พักพิงฯ
3. แม้ในปัจจุบันไทยยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายประการที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข แต่รัฐบาลไทยก็ยังคงยึดมั่นต่อหลักการด้านมนุษยธรรมในการให้ความดูแลช่วยเหลือ ผู้ประสบชะตากรรมพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือที่พักพิงมาโดยตลอด ตั้งแต่ ผู้อพยพอินโดจีนในช่วงปี 2518-2542 จนสามารถยุติปัญหาผู้อพยพอินโดจีนลงได้ด้วยดี และปัจจุบันเหลือเพียงผู้หนีภัย ฯ พม่า ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนไทยด้านตะวันตก
4. หาก UNHCR ประสงค์จะช่วยไทยในการแก้ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ของ ผู้หนีภัย ฯ UNHCR ก็ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณให้มากขึ้น ในขณะที่รัฐบาลไทยก็มีภาระที่จะต้องดูแลราษฎรไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่พักพิง ฯ ซึ่งหลายรายมีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าผู้หนีภัย ฯ และอาจสร้างทัศนคติด้านลบรวมทั้งความรู้สึกต่อต้านผู้หนีภัย ฯ แก่ราษฎรเหล่านั้นขึ้นได้ ดังนั้น การกล่าวตำหนิรัฐบาลไทยในการดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผู้หนีภัย ฯ ในพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหิน จึงเป็นการมองเฉพาะการดูแลผู้หนีภัย ฯ เพียงด้านเดียว โดยมิได้คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรไทย
5. ที่ผ่านมาทางการไทยได้อนุญาตให้ UNHCR และ NGOs รวมทั้งผู้แทนจาก สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ประจำประเทศไทยเข้าไปในพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหินตามที่ร้องขอได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทางการไทยไม่เคยได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากนาย Robin Cook รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร ได้ไปเยี่ยมชมพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหิน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากการเยี่ยมชมพื้นที่พักพิง ฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ดูแลช่วยเหลือผู้หนีภัย ฯ เหล่านี้ด้วยดีโดยมิได้กล่าวตำหนิรัฐบาลไทยในการดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผู้หนีภัยฯ แต่อย่างใด
6. จากข้อเท็จจริงข้างต้น การให้สัมภาษณ์แสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลไทยใน การดูแลผู้หนีภัย ฯ ของนาง Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมต่อไทยซึ่งยึดมั่นหลักการและการปฏิบัติด้านมนุษยธรรมในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้อพยพและผู้หนีภัย ฯ มาโดยตลอด รวมทั้งได้ให้ความร่วมมือที่ดีต่อ UNHCR เสมอมา ซึ่งได้ดำเนินมาครบ 25 ปี ในปี 2543 โดย UNHCR ได้กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าวขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ข้อวิจารณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความร่วมมือที่ดีระหว่างกันในการ แก้ไขปัญหาผู้หนีภัย ฯ จากพม่าในอนาคตได้ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศว่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 นาง Sadako Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้สัมภาษณ์ภายหลังจากเยี่ยมชมพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ที่ บ.ถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี แสดงความไม่พอใจต่อการดูแลผู้หนีภัย ฯ ของรัฐบาลไทยว่ามีสภาพความเป็นอยู่ที่แย่จนน่าตกใจนั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. พื้นที่พักพิง บ.ถ้ำหิน จากชื่อก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราว (temporary shelter area) นโยบายของไทยเป็นการอนุญาตให้อยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้น ด้วยเหตุผล ด้านมนุษยธรรม หากสถานการณ์ในฝั่งตรงข้ามมีความปลอดภัยเพียงพอ ผู้หนีภัยฯ เหล่านี้จะต้องเดินทางกลับทันที ดังนั้น ลักษณะอาคารและแบบแปลนการก่อสร้างอาจทำให้ดูแล้วไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากไม่ต้องการดึงดูดให้ผู้หนีภัย ฯ เกิดความรู้สึกสบายและผูกพันจนไม่อยากกลับ ประกอบกับจำนวนพื้นที่พักพิง ฯ มีประมาณ 40 ไร่ มีจำนวนผู้หนีภัย ฯ ประมาณ 8,200 คน โดยมีอัตราการเกิดเดือนละประมาณ 20 คน จึงอาจทำให้พื้นที่ดูคับแคบ ขณะที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
2. หากพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงแล้วที่พักพิงของผู้หนีภัยฯ มีสภาพ เหมือนหรือในบางกรณีมีความเป็นอยู่ดีกว่าราษฎรไทย ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ พักพิงฯ
3. แม้ในปัจจุบันไทยยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายประการที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข แต่รัฐบาลไทยก็ยังคงยึดมั่นต่อหลักการด้านมนุษยธรรมในการให้ความดูแลช่วยเหลือ ผู้ประสบชะตากรรมพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือที่พักพิงมาโดยตลอด ตั้งแต่ ผู้อพยพอินโดจีนในช่วงปี 2518-2542 จนสามารถยุติปัญหาผู้อพยพอินโดจีนลงได้ด้วยดี และปัจจุบันเหลือเพียงผู้หนีภัย ฯ พม่า ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนไทยด้านตะวันตก
4. หาก UNHCR ประสงค์จะช่วยไทยในการแก้ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ของ ผู้หนีภัย ฯ UNHCR ก็ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณให้มากขึ้น ในขณะที่รัฐบาลไทยก็มีภาระที่จะต้องดูแลราษฎรไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่พักพิง ฯ ซึ่งหลายรายมีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าผู้หนีภัย ฯ และอาจสร้างทัศนคติด้านลบรวมทั้งความรู้สึกต่อต้านผู้หนีภัย ฯ แก่ราษฎรเหล่านั้นขึ้นได้ ดังนั้น การกล่าวตำหนิรัฐบาลไทยในการดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผู้หนีภัย ฯ ในพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหิน จึงเป็นการมองเฉพาะการดูแลผู้หนีภัย ฯ เพียงด้านเดียว โดยมิได้คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรไทย
5. ที่ผ่านมาทางการไทยได้อนุญาตให้ UNHCR และ NGOs รวมทั้งผู้แทนจาก สถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ประจำประเทศไทยเข้าไปในพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหินตามที่ร้องขอได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทางการไทยไม่เคยได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากนาย Robin Cook รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร ได้ไปเยี่ยมชมพื้นที่พักพิง ฯ บ.ถ้ำหิน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากการเยี่ยมชมพื้นที่พักพิง ฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ดูแลช่วยเหลือผู้หนีภัย ฯ เหล่านี้ด้วยดีโดยมิได้กล่าวตำหนิรัฐบาลไทยในการดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผู้หนีภัยฯ แต่อย่างใด
6. จากข้อเท็จจริงข้างต้น การให้สัมภาษณ์แสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลไทยใน การดูแลผู้หนีภัย ฯ ของนาง Ogata ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมต่อไทยซึ่งยึดมั่นหลักการและการปฏิบัติด้านมนุษยธรรมในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้อพยพและผู้หนีภัย ฯ มาโดยตลอด รวมทั้งได้ให้ความร่วมมือที่ดีต่อ UNHCR เสมอมา ซึ่งได้ดำเนินมาครบ 25 ปี ในปี 2543 โดย UNHCR ได้กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสดังกล่าวขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ข้อวิจารณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความร่วมมือที่ดีระหว่างกันในการ แก้ไขปัญหาผู้หนีภัย ฯ จากพม่าในอนาคตได้ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-