ความเป็นมา
1. หลังจากการเจรจารอบอุรุกวัยได้สิ้นสุดเมื่อปี 2537 องค์การการค้าโลก (WTO) ก็ได้ตั้งขึ้นในปี 2538 ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 3 ครั้งคือในปี 2539 2541 และปี 2542 โดยในการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 3 เมื่อปลายปี 2542 ได้มีความพยายามผลักดันให้มีการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ แต่ความพยายามดังกล่าวได้ล้มเหลวลง เนื่องจากเนื้อหาการเจรจามีความซับซ้อนและมีจำนวนมาก มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและมีความไม่โปร่งใสของการประชุม
2. โดยเหตุที่ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร และความตกลงว่าด้วยการค้าบริการมีบทบัญญัติให้เริ่มมีการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่หลังจากที่ความตกลงดังกล่าวได้ใช้ไป 5 ปี ดังนั้น การเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่ของทั้งสองเรื่องจึงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งประเทศสมาชิก WTO หลายประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เห็นว่า แม้ว่าการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและบริการจะเริ่มขึ้นแล้วก็ตาม
แต่การดำเนินการเปิดเสรีภายใต้ WTO อาจไม่มีความคืบหน้ามากนัก หากไม่มีการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่
ท่าทีประเทศสมาชิก WTO ต่อการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่
3. สหภาพยุโรป : สนับสนุนการเจรจารอบใหม่แบบ Comprehensive Round เนื่องจากเห็นว่าจะเสียประโยชน์จากการเจรจาเรื่องเกษตร จึงได้พยายามผลักดันเรื่อง Multifunctionality ในการเจรจาสินค้าเกษตรและผลักดันให้รวมการเจรจาเรื่องต่าง ๆ อาทิ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม การทุ่มตลาด และมาตรฐานทางสังคมเข้าในการเจรจารอบใหม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สหภาพยุโรปได้แสดงท่าทีผ่อนปรนเพื่อผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่โดยเร็ว โดยได้ลดท่าทีจากเดิมที่ต้องการให้มีการจัดทำเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขันที่เป็นความตกลงพหุภาคี( Multilateral Agreement) มาเป็นการเจรจาจัดทำความตกลงหลายฝ่าย (Plurilateral Agreement)
ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 ได้มีการหารือเพื่อผลักดันให้สมาชิก WTO เห็นชอบให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ในการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 โดยการผลักดันทางการเมือง การติดต่อกับประเทศต่างๆ การพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลใหม่ประเทศสหรัฐฯให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น การจัดประชุมรัฐมนตรีการค้าของสมาชิกกลุ่มต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่เป็น Comprehensive Round
ญี่ปุ่น : ให้ความสำคัญกับการเริ่มการเจรจารอบใหม่โดยเร็วที่สุด และยืนยันให้มีการเจรจาในกรอบกว้าง (Comperhensive) โดยมีท่าทีสอดคล้องกับสหภาพยุโรปโดยเฉพาะท่าทีเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตร ในสาระของการเจรจารอบใหม่ นอกจากเรื่องเกษตรและบริการแล้ว เห็นว่าควรมีเรื่อง Market Access และให้รวมเรื่องการแข่งขันและการลงทุนในลักษณะที่เป็นความตกลงพหุภาคี (Multilateral
Agreement) ซึ่งจะต่างกับท่าทีในเรื่องนี้ของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเห็นว่าไม่ควรรวมเรื่องแรงงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาคัดค้าน
สหรัฐฯ : เดิมรัฐบาลสหรัฐฯ เคยมีท่าทีสนับสนุนให้เริ่มการเจรจารอบใหม่ภายในปีนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ Comprehensive Agenda และยังคงมีท่าทีแข็งกร้าวต่อข้อเสนอขอปรับปรุงความตกลงว่า
ด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด และข้อเรียกร้องให้เปิดตลาดสิ่งทอของประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ต้องการผลักดันให้นำเรื่องสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานเข้าไปพิจารณากับเรื่องการค้า อย่างไรก็ดี ท่าทีของรัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีบุชซึ่งยังคงสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ แต่อาจเปลี่ยนแปลงท่าทีหรือมีความยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ ยอมรับท่าทีเรื่องการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด และพยายามลดการเชื่อมโยงเรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อมกับบทบัญญัติทางการค้าให้น้อยที่สุด เพื่อลดแรงต่อต้านจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ เช่น อินเดีย อียิปต์ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย (Liked Minded Group) : ไม่ต้องการให้มีการเจรจารอบใหม่ และไม่ต้องการให้มีการเชื่อมโยงเรื่องปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation) กับการเจรจารอบใหม่ และเห็นว่าหากยังไม่มีความคืบหน้าในการหารือเรื่อง Implementation ประเทศกำลังพัฒนาอาจใช้เป็นข้อต่อรองหรือเงื่อนไขในการเปิดการเจรจารอบใหม่ได้
ไทย : สนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2542 เห็นชอบในท่าทีไทย โดยเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ เรื่องที่ความตกลงกำหนดให้มีการเจรจาต่อไปคือ การเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและบริการ และการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการเงินเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่อาจยอมรับให้มีการพิจารณาหรือเจรจาในรอบใหม่ เช่น การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและประมง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ สำหรับเรื่องการลงทุน การค้ากับนโยบายการแข่งขัน การค้ากับสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดข้องที่จะให้มีการเจรจา แต่ควรให้ WTO ศึกษาก่อน เรื่องที่ไทยคัดค้านไม่ให้นำเข้ามาเจรจาคือ เรื่องการผูกโยงเรื่องแรงงานและสิทธิมนุษยชนกับการค้า
4. นอกจากท่าทีเป็นรายประเทศแล้ว ยังมีการผลักดันหรือการ lobby ภายใต้เวทีการค้า หรือกลุ่มต่างๆ เพื่อให้มีการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO ดังนี้
กลุ่ม APEC: ได้มีมติในการแระชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศบรูไน สนับสนุนให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO โดยเร็วที่สุด โดยมีวาระการเจรจาที่
สมดุลและครอบคลุมความสนใจของสมาชิกทั้งหมด และในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่กรุงปักกิ่ง ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรมีการแสดงการสนับสนุนและผลักดันให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปีนี้ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าและรัฐมนตรีเอเปคในเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคม 2544
การหารืออย่างไม่เป็นทางการเรื่อง New Round : ญี่ปุ่นได้จัดการประชุมในระดับอาวุโส โดยได้เชิญสมาชิก WTO บางประเทศ อาทิ ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย บราซิล อียิปต์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และไทย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยไม่มีข้อผูกมัด โดยครั้งแรกได้จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2544 ที่นครแฟรงค์เฟิร์ต ผลการหารือ ประเทศส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการเจรจารอบใหม่ แต่ยังมีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องวาระการเจรจา โดยประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศคัดค้านการรวมเรื่องใหม่ๆ เช่น การค้าและการลงทุน เรื่องนโยบายการแข่งขัน ส่วนประเทศสหภาพยุโรป
และญี่ปุ่นสนับสนุนให้รวมเรื่องเหล่านั้นไว้ สำหรับการหารือครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2544 ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
กลุ่ม Friends of a New Round : หรือเรียกสั้นๆว่ากลุ่ม Friends (ประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี อียิปต์ ฮ่องกง ฮังการี อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก โมร็อกโก นอร์เวย์ สิงคโปร์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และตุรกี) ได้จัดประชุมขึ้นหลายครั้งในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อให้ผู้แทนจากเมืองหลวงและผู้แทนที่นครเจนีวามีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องต่างๆภายใต้ WTO และโอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ สำหรับครั้งล่าสุด สหภาพยุโรปได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มนี้เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 ในเรื่องสถานะปัจจุบันและโอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ รวมทั้งในเรื่องขอบเขตของการเจรจารวมทั้งการเตรียมการในระยะต่อไป
การประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 45.WTO กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างน้อย ทุก ๆ 2 ปี และจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยจะมีสมาชิก WTO เข้าร่วมประมาณ 140 ประเทศ รวมทั้งผู้สังเกตการณ์จากองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิก และกลุ่ม NGOs ต่างๆ
การเตรียมการกำหนดท่าทีไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก
6. ในการกำหนดท่าทีไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก ภาครัฐฯได้มีการพิจารณาโดยได้มีการประสานงานกับหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้
6.1 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ทำหน้าที่พิจารณากำหนดท่าที
สำหรับการเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้ WTO มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและท่าทีไทยในการเจรจา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการและเอกชนเกี่ยวกับการเจรจาภายใต้ WTO รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อให้ท่าทีในการเจรจาของไทยใน WTO มีเอกภาพในทุกเวทีการเจรจาทั้งใน APEC ASEM และเวทีอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกรอบงานของ WTO ภายใต้ กนศ. อาทิ คณะอนุกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการนโยบายการแข่งขันทางการค้า คณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อผูกพันในการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานการค้าบริการ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน เป็นต้น คณะต่างๆเหล่านี้จะมีภาคเอกชนเข้าร่วมอยู่ด้วย
6.2. คณะกรรมการร่วม WTO เป็นคณะกรรมการจาก 3 สถาบัน คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อพิจารณาท่าทีของภาคเอกชน ภายใต้เวทีองค์การการค้าโลก ทั้งนี้ จะมีผู้แทนภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ ภายใต้คณะกรรมการร่วม จะมีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เมื่อมีผลการพิจารณาในเรื่องใดจะแจ้งต่อกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เพื่อรวบรวมและพิจารณาจัดทำเป็นท่าทีไทยในการเจรจาต่อไป
6.3. การให้ความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน โดยการจัดประชุม สัมมนาและเผยแพร่ความรู้แก่กลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีและลดแรงต่อต้านในเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส
1. หลังจากการเจรจารอบอุรุกวัยได้สิ้นสุดเมื่อปี 2537 องค์การการค้าโลก (WTO) ก็ได้ตั้งขึ้นในปี 2538 ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 3 ครั้งคือในปี 2539 2541 และปี 2542 โดยในการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 3 เมื่อปลายปี 2542 ได้มีความพยายามผลักดันให้มีการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ แต่ความพยายามดังกล่าวได้ล้มเหลวลง เนื่องจากเนื้อหาการเจรจามีความซับซ้อนและมีจำนวนมาก มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและมีความไม่โปร่งใสของการประชุม
2. โดยเหตุที่ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร และความตกลงว่าด้วยการค้าบริการมีบทบัญญัติให้เริ่มมีการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่หลังจากที่ความตกลงดังกล่าวได้ใช้ไป 5 ปี ดังนั้น การเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่ของทั้งสองเรื่องจึงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งประเทศสมาชิก WTO หลายประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เห็นว่า แม้ว่าการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและบริการจะเริ่มขึ้นแล้วก็ตาม
แต่การดำเนินการเปิดเสรีภายใต้ WTO อาจไม่มีความคืบหน้ามากนัก หากไม่มีการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่
ท่าทีประเทศสมาชิก WTO ต่อการเจรจาเปิดเสรีรอบใหม่
3. สหภาพยุโรป : สนับสนุนการเจรจารอบใหม่แบบ Comprehensive Round เนื่องจากเห็นว่าจะเสียประโยชน์จากการเจรจาเรื่องเกษตร จึงได้พยายามผลักดันเรื่อง Multifunctionality ในการเจรจาสินค้าเกษตรและผลักดันให้รวมการเจรจาเรื่องต่าง ๆ อาทิ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน สิ่งแวดล้อม การทุ่มตลาด และมาตรฐานทางสังคมเข้าในการเจรจารอบใหม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สหภาพยุโรปได้แสดงท่าทีผ่อนปรนเพื่อผลักดันให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่โดยเร็ว โดยได้ลดท่าทีจากเดิมที่ต้องการให้มีการจัดทำเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขันที่เป็นความตกลงพหุภาคี( Multilateral Agreement) มาเป็นการเจรจาจัดทำความตกลงหลายฝ่าย (Plurilateral Agreement)
ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2544 ได้มีการหารือเพื่อผลักดันให้สมาชิก WTO เห็นชอบให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ในการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 โดยการผลักดันทางการเมือง การติดต่อกับประเทศต่างๆ การพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลใหม่ประเทศสหรัฐฯให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น การจัดประชุมรัฐมนตรีการค้าของสมาชิกกลุ่มต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่เป็น Comprehensive Round
ญี่ปุ่น : ให้ความสำคัญกับการเริ่มการเจรจารอบใหม่โดยเร็วที่สุด และยืนยันให้มีการเจรจาในกรอบกว้าง (Comperhensive) โดยมีท่าทีสอดคล้องกับสหภาพยุโรปโดยเฉพาะท่าทีเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตร ในสาระของการเจรจารอบใหม่ นอกจากเรื่องเกษตรและบริการแล้ว เห็นว่าควรมีเรื่อง Market Access และให้รวมเรื่องการแข่งขันและการลงทุนในลักษณะที่เป็นความตกลงพหุภาคี (Multilateral
Agreement) ซึ่งจะต่างกับท่าทีในเรื่องนี้ของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเห็นว่าไม่ควรรวมเรื่องแรงงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาคัดค้าน
สหรัฐฯ : เดิมรัฐบาลสหรัฐฯ เคยมีท่าทีสนับสนุนให้เริ่มการเจรจารอบใหม่ภายในปีนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ Comprehensive Agenda และยังคงมีท่าทีแข็งกร้าวต่อข้อเสนอขอปรับปรุงความตกลงว่า
ด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด และข้อเรียกร้องให้เปิดตลาดสิ่งทอของประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ต้องการผลักดันให้นำเรื่องสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานเข้าไปพิจารณากับเรื่องการค้า อย่างไรก็ดี ท่าทีของรัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีบุชซึ่งยังคงสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ แต่อาจเปลี่ยนแปลงท่าทีหรือมีความยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ ยอมรับท่าทีเรื่องการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด และพยายามลดการเชื่อมโยงเรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อมกับบทบัญญัติทางการค้าให้น้อยที่สุด เพื่อลดแรงต่อต้านจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ เช่น อินเดีย อียิปต์ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย (Liked Minded Group) : ไม่ต้องการให้มีการเจรจารอบใหม่ และไม่ต้องการให้มีการเชื่อมโยงเรื่องปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation) กับการเจรจารอบใหม่ และเห็นว่าหากยังไม่มีความคืบหน้าในการหารือเรื่อง Implementation ประเทศกำลังพัฒนาอาจใช้เป็นข้อต่อรองหรือเงื่อนไขในการเปิดการเจรจารอบใหม่ได้
ไทย : สนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2542 เห็นชอบในท่าทีไทย โดยเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ เรื่องที่ความตกลงกำหนดให้มีการเจรจาต่อไปคือ การเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและบริการ และการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงรอบอุรุกวัย การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการเงินเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่อาจยอมรับให้มีการพิจารณาหรือเจรจาในรอบใหม่ เช่น การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและประมง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ สำหรับเรื่องการลงทุน การค้ากับนโยบายการแข่งขัน การค้ากับสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดข้องที่จะให้มีการเจรจา แต่ควรให้ WTO ศึกษาก่อน เรื่องที่ไทยคัดค้านไม่ให้นำเข้ามาเจรจาคือ เรื่องการผูกโยงเรื่องแรงงานและสิทธิมนุษยชนกับการค้า
4. นอกจากท่าทีเป็นรายประเทศแล้ว ยังมีการผลักดันหรือการ lobby ภายใต้เวทีการค้า หรือกลุ่มต่างๆ เพื่อให้มีการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO ดังนี้
กลุ่ม APEC: ได้มีมติในการแระชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศบรูไน สนับสนุนให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ของ WTO โดยเร็วที่สุด โดยมีวาระการเจรจาที่
สมดุลและครอบคลุมความสนใจของสมาชิกทั้งหมด และในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่กรุงปักกิ่ง ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรมีการแสดงการสนับสนุนและผลักดันให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปีนี้ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีการค้าและรัฐมนตรีเอเปคในเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคม 2544
การหารืออย่างไม่เป็นทางการเรื่อง New Round : ญี่ปุ่นได้จัดการประชุมในระดับอาวุโส โดยได้เชิญสมาชิก WTO บางประเทศ อาทิ ฮ่องกง แอฟริกา ออสเตรเลีย บราซิล อียิปต์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และไทย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยไม่มีข้อผูกมัด โดยครั้งแรกได้จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2544 ที่นครแฟรงค์เฟิร์ต ผลการหารือ ประเทศส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการเจรจารอบใหม่ แต่ยังมีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องวาระการเจรจา โดยประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศคัดค้านการรวมเรื่องใหม่ๆ เช่น การค้าและการลงทุน เรื่องนโยบายการแข่งขัน ส่วนประเทศสหภาพยุโรป
และญี่ปุ่นสนับสนุนให้รวมเรื่องเหล่านั้นไว้ สำหรับการหารือครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2544 ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
กลุ่ม Friends of a New Round : หรือเรียกสั้นๆว่ากลุ่ม Friends (ประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี อียิปต์ ฮ่องกง ฮังการี อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก โมร็อกโก นอร์เวย์ สิงคโปร์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และตุรกี) ได้จัดประชุมขึ้นหลายครั้งในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อให้ผู้แทนจากเมืองหลวงและผู้แทนที่นครเจนีวามีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องต่างๆภายใต้ WTO และโอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ สำหรับครั้งล่าสุด สหภาพยุโรปได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มนี้เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 ในเรื่องสถานะปัจจุบันและโอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ รวมทั้งในเรื่องขอบเขตของการเจรจารวมทั้งการเตรียมการในระยะต่อไป
การประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 45.WTO กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างน้อย ทุก ๆ 2 ปี และจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยจะมีสมาชิก WTO เข้าร่วมประมาณ 140 ประเทศ รวมทั้งผู้สังเกตการณ์จากองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิก และกลุ่ม NGOs ต่างๆ
การเตรียมการกำหนดท่าทีไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก
6. ในการกำหนดท่าทีไทยในการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก ภาครัฐฯได้มีการพิจารณาโดยได้มีการประสานงานกับหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้
6.1 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ทำหน้าที่พิจารณากำหนดท่าที
สำหรับการเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้ WTO มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและท่าทีไทยในการเจรจา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการและเอกชนเกี่ยวกับการเจรจาภายใต้ WTO รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อให้ท่าทีในการเจรจาของไทยใน WTO มีเอกภาพในทุกเวทีการเจรจาทั้งใน APEC ASEM และเวทีอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกรอบงานของ WTO ภายใต้ กนศ. อาทิ คณะอนุกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการนโยบายการแข่งขันทางการค้า คณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อผูกพันในการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานการค้าบริการ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน เป็นต้น คณะต่างๆเหล่านี้จะมีภาคเอกชนเข้าร่วมอยู่ด้วย
6.2. คณะกรรมการร่วม WTO เป็นคณะกรรมการจาก 3 สถาบัน คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อพิจารณาท่าทีของภาคเอกชน ภายใต้เวทีองค์การการค้าโลก ทั้งนี้ จะมีผู้แทนภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ ภายใต้คณะกรรมการร่วม จะมีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เมื่อมีผลการพิจารณาในเรื่องใดจะแจ้งต่อกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เพื่อรวบรวมและพิจารณาจัดทำเป็นท่าทีไทยในการเจรจาต่อไป
6.3. การให้ความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน โดยการจัดประชุม สัมมนาและเผยแพร่ความรู้แก่กลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีและลดแรงต่อต้านในเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส