1. ราคาน้ำมันดิบ
ในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับทรงตัวที่ $25.7-28.1 ต่อบาเรล ตามแต่ชนิดน้ำมันดิบ โดยช่วงครึ่งแรกของเดือน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในช่วงแรก และค่อนข้างผันผวน เนื่องจากตลาดกังวล ต่อการประท้วงหยุดส่งออกน้ำมันดิบ ของอิรักต่อองค์การสหประชาชาติ แต่หลังจากสถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐ (API) รายงานถึงภาวะปริมาณสำรองน้ำมันดิบ ที่เพิ่มมากขึ้น และอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ปริมาณน้ำมันในตลาด มีพอเพียงกับความต้องการ ราคาน้ำมันจึงเริ่มอ่อนตัวลง ในช่วงหลังของเดือน
เดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงประมาณ $2-3 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของโลกครึ่งปีแรก ได้แสดงถึงการชะลอตัวลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้น้ำมันอ่อนตัวลงในช่วงต่อไป นอกจากนี้อิรักได้กลับมาส่งออกใหม่ หลังจากที่องค์การสหประชาชาติ อนุมัติให้สามารถส่งออกน้ำมันดิบตามโครงการ Oil for Food ต่อไปอีก 5 เดือน การอ่อนตัวลงของราคาน้ำมันดิบ ได้ชะลอลงในช่วงสุดท้ายของเดือน จากการประกาศลดกำลังการผลิต ของกลุ่มโอเปคอีก 1 ล้านบาเรล/วัน ทำให้เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปค (10 ประเทศ) ลดลงเหลือ 23.2 ล้านบาเรล/วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการดำเนินการของโอเปค เพื่อพยุงไม่ให้ราคาตกต่ำ โดยอ้างภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง
เดือนสิงหาคม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ $0.8-1.0 ต่อบาเรล เป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ช่วงหลังของเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ที่เริ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เริ่มมีการสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงไตรมาส 4 และอิทธิพลที่มีผลต่อราคา ส่วนหนึ่งมาจากผลทางจิตวิทยา ที่โอเปคประกาศลดเพดานการผลิต และจากรายงานของสถาบันปิโตรเลียมสหรัฐ (API) โดยปริมาณสำรองน้ำมันดิบทางการค้าของสหรัฐอเมริกาได้ลดต่ำลง
เดือนกันยายน ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยอยู่ในภาวะทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นผลจากความสมดุล ของการใช้และการผลิตน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของเดือนราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ $3 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน 2544 ซึ่งตลาดเกรงว่าเหตุการณ์จะขยายตัว ส่งผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันดิบ อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันดิบขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ $6-8 ต่อบาเรล เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก และหากเกิดการขยายตัวของการขัดแย้งและการตอบโต้ของสหรัฐอเมริกาต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย จะส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกลดลง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันในตลาดมากกว่าความต้องการใช้ ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
ราคาน้ำมันดิบ
หน่วย : เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ช่วงเวลา โอมาน ดูไบ เบรนท์ WTI ทาปิส
2542 17.24 17.2 18.13 19.2 18.84
2543 26.53 26.26 29 30.4 29.86
2544 (8 เดือน) 24.32 24.54 26.75 27.15 27.1
ไตรมาส 1 23.58 23.7 26.31 28.78 26.92
ไตรมาส 2 25.31 25.15 27.56 27.85 28.35
มิถุนายน 25.76 25.65 28.05 27.57 28.13
กรกฎาคม 23.68 23.44 25 26.43 25.8
สิงหาคม 24.35 24.57 25.78 26.89 25.77
กันยายน* 24.78 24.59 26.59 26.75 26.46
* 1-25 กันยายน 2544
2. ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์
เดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันเบนซิน, ดีเซล และเตาปรับลดลง $5, $1 และ $2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น จากหน่วยกลั่นใหม่ที่เริ่มเดินเครื่อง ทั้งจากโรงกลั่นน้ำมัน และคอนเดนเสทในแถบตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออก ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคนี้ไม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จีนซึ่งเป็นผู้ใช้รายใหญ่ได้ห้ามนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป สำหรับน้ำมันเบนซิน แม้จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน แต่จากราคาที่ขึ้นสูงมากในช่วงก่อนหน้า จึงทำให้ไม่มีความต้องการ ในขณะที่ผู้ค้าสำรองน้ำมันไว้สูง ราคาจึงตกลงมาก
เดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ยังอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในระดับ $1-2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากความต้องการในภูมิภาคที่อ่อนตัว ในเดือนนี้อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดีเซลรายใหญ่ ได้ลดความต้องการซื้อ โดยใช้น้ำมันดิบแอฟริกันเข้ากลั่นได้ distillate เพิ่มขึ้น น้ำมันเบนซินได้รับผลกระทบ จากการส่งออกของจีน และน้ำมันเตามีน้ำมัน ออกสู่ตลาดมากขึ้นจากเกาหลีใต้ และรัสเซีย ในเดือนนี้ ค่าการกลั่นที่ตกต่ำ ทำให้โรงกลั่นในภูมิภาคนี้ ต้องลดปริมาณการกลั่นลง
เดือนสิงหาคม ในเดือนนี้โรงกลั่น ได้ลดปริมาณการกลั่นลง เป็นผลจากความต้องการที่เบาบาง กำลังกลั่นในเกาหลีลดลงเหลือ 67% ของกำลังกลั่นสูงสุด (2.7 ล้านบาเรล/วัน) สิงคโปร์เหลือ 64% ของกำลังการกลั่นรวม (1.3 ล้านบาเรล/วัน) และญี่ปุ่นเหลือ 68% ของกำลังกลั่น 5.3 ล้านบาเรล/วัน สำหรับราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้น $2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลกระทบ จากการลดกำลังกลั่น ในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณสำรอง ทางการค้าของน้ำมันเบนซิน อยู่ในระดับต่ำเพราะเป็นช่วงปลายฤดูร้อน จึงทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ราคาอยู่ในระดับทรงตัว และราคาน้ำมันเตา ปรับตัวสูงขึ้น $1.5 ต่อบาเรล เนื่องจากปริมาณสำรองต่ำ
ในเดือนกันยายน ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ปรับตัวในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบ โดยช่วงแรกปรับตัวสูงขึ้น จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา และต่อมาได้ปรับตัวลดลง ราคาโดยเฉลี่ยของเดือนกันยายน (คือวันที่ 25 กันยายน) น้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตาปรับตัวสูงขึ้น จากเดือนก่อน $3.4, $1.1 และ $1.4 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการกลั่น ทำให้น้ำมันออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ออกเทน 92 ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และเตา ณ วันที่ 25 กันยายน 2544 อยู่ที่ $23.55, $22.45, $26.75, $26.15 และ $21.81 ต่อบาเรล ตามลำดับ
ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในสิงคโปร์
หน่วย : เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ก๊าด ดีเซล เตา เตา
ออกเทน 95 ออกเทน 92 หมุนเร็ว (2%S) (3.5%S)
2542 21.02 20.2 21.44 19.14 16.14 15.74
2543 32.64 30.2 34.39 32.58 25.41 24.66
2544 (8 เดือน) 29.29 27.11 29.79 28.84 22.12 21.61
ไตรมาส 1 30.44 28.92 29.48 27.58 21.78 20.92
ไตรมาส 2 30.76 27.73 30.53 30.23 22.78 22.44
มิถุนายน 28.67 24.13 30.86 30 21.9 21.91
กรกฎาคม 24.43 22.41 28.82 28.56 20.91 20.5
สิงหาคม 26.96 25.19 29.53 28.7 22.39 22.25
กันยายน* 30.4 28.67 31.82 29.83 23.83 23.74
1-25 กันยายน 2544
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย
ในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาดโลก โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงประมาณ $5.0 และ $2 ต่อบาเรล (1.4 และ 0.57 บาท/ลิตร) ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นประมาณ 0.2 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 45.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินของไทย ปรับตัวลดลง 6 ครั้ง รวม 1.6 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 4 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร และปรับขึ้น 1 ครั้ง รวม 30 สตางค์/ลิตร
เดือนกรกฎาคม อัตราแลกเปลี่ยนของไทย อ่อนตัวลง 0.4 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 45.8 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ประมาณ 7 สตางค์/ลิตร) แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง $ 2 ต่อบาเรล ก็มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูป ของไทยในเดือนนี้ น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร
เดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งตัวขึ้น 1.5 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 44.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ในส่วนนี้ลดลงประมาณ 45 สตางค์/ลิตร ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ แม้ต้นทุนจากค่าเงินบาท จะลดลง แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แข็งตัว ก็มีผลให้ราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.2 บาท/ลิตร ปรับลดลง 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร และดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร ปรับลดลง 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร
เดือนกันยายน อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลง 0.4 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 44.4 บาท/เหรียญสหรัฐ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.2 บาท/ลิตร ปรับลดลง 3 ครั้ง รวม 90 สตางค์/ลิตร น้ำมันดีเซลปรับขึ้น 2 ครั้ง รวม 60 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2544 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95, 91 และดีเซลอยู่ที่ระดับ 15.99, 14.99 และ 13.94 บาท/ลิตร ตามลำดับ
เพื่อรองรับผลกระทบของการก่อวินาศกรรม ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ ต่อการจัดหาน้ำมันในประเทศไทย รัฐบาลจึงออกมาตรการให้ผู้ค้าน้ำมัน เพิ่มปริมาณสำรองน้ำมัน จากร้อยละ 3 เป็น ร้อยละ 5 สำหรับน้ำมันที่ผลิตในประเทศ และจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 สำหรับน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ราคาขายปลีก
หน่วย :บาท/ลิตร
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ดีเซล
ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว
2542 11.99 11.18 8.97
2543 15.64 14.68 12.95
2544 (8 เดือน) 16.07 15.07 13.81
ไตรมาส 1 16.17 15.17 13.25
ไตรมาส 2 16.67 15.67 14.32
มิถุนายน 15.96 14.96 14.34
กรกฎาคม 14.96 13.96 13.86
สิงหาคม 15.16 14.16 13.93
กันยายน* 16.23 15.23 14.08
*1-25 กันยายน 2544
4 .ค่าการตลาด และค่าการกลั่นเดือนมิถุนายนค่าการตลาดปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 1.3162 บาท/ลิตร ส่วนค่าการกลั่นอ่อนตัวลงจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.4681 บาท/ลิตร ($1.64 ต่อบาเรล)
เดือนกรกฎาคม ค่าการตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.1886 บาท/ลิตร ค่าการกลั่นเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.7147 บาท/ลิตร ($2.48 ต่อบาเรล)
เดือนสิงหาคม ค่าการตลาดปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.2599 บาท/ลิตร ค่าการกลั่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.7709 บาท/ลิตร ($2.72 ต่อบาเรล)
เดือนกันยายน ค่าการตลาดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.2660 บาท/ลิตร โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนค่าการตลาดของไทยปรับตัวสูงขึ้นมาก จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนค่าการกลั่นก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.9671 บาท/ลิตร ($3.4 ต่อบาเรล)
ค่าการตลาดเฉลี่ยของประเทศ
หน่วย:บาท/ลิตร
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ดีเซล เฉลี่ย
ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว
2542 1.452 1.238 0.713 0.844
2543 1.48 1.239 0.68 0.821
2544 (8 เดือน) 1.682 1.532 1.121 1.2
ไตรมาส 1 1.7 1.503 1.174 1.242
ไตรมาส 2 1.65 1.741 1.05 1.14
มิถุนายน 2.108 1.666 1.146 1.316
กรกฎาคม 1.849 1.717 1.052 1.189
สิงหาคม 1.523 1.38 1.251 1.26
กันยายน* 1.637 1.489 1.224 1.266
*1-25 กันยายน 2544
ค่าการกลั่น
หน่วย : บาท/ลิตร
ช่วงเวลา ค่าการกลั่น เบนซิน เบนซิน ดีเซล เตา
รวม ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว (3.5%S)
2542 0.388 0.445 0.395 0.408 0.326
2543 0.999 1.042 0.976 1.061 0.775
2544 (8 เดือน ) 0.725 0.783 0.73 0.773 0.561
ไตรมาส 1 0.671 0.753 0.702 0.704 0.519
ไตรมาส 2 0.764 0.848 0.794 0.816 0.586
มิถุนายน 0.468 0.449 0.415 0.512 0.352
กรกฎาคม 0.715 0.674 0.618 0.784 0.544
สิงหาคม 0.771 0.778 0.719 0.832 0.619
กันยายน* 0.967 0.952 0.871 1.044 0.82
*1-25 กันยายน 2544
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 52 เมษายน-มิถุนายน 2544--
-ยก-
ในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับทรงตัวที่ $25.7-28.1 ต่อบาเรล ตามแต่ชนิดน้ำมันดิบ โดยช่วงครึ่งแรกของเดือน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในช่วงแรก และค่อนข้างผันผวน เนื่องจากตลาดกังวล ต่อการประท้วงหยุดส่งออกน้ำมันดิบ ของอิรักต่อองค์การสหประชาชาติ แต่หลังจากสถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐ (API) รายงานถึงภาวะปริมาณสำรองน้ำมันดิบ ที่เพิ่มมากขึ้น และอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ปริมาณน้ำมันในตลาด มีพอเพียงกับความต้องการ ราคาน้ำมันจึงเริ่มอ่อนตัวลง ในช่วงหลังของเดือน
เดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงประมาณ $2-3 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของโลกครึ่งปีแรก ได้แสดงถึงการชะลอตัวลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้น้ำมันอ่อนตัวลงในช่วงต่อไป นอกจากนี้อิรักได้กลับมาส่งออกใหม่ หลังจากที่องค์การสหประชาชาติ อนุมัติให้สามารถส่งออกน้ำมันดิบตามโครงการ Oil for Food ต่อไปอีก 5 เดือน การอ่อนตัวลงของราคาน้ำมันดิบ ได้ชะลอลงในช่วงสุดท้ายของเดือน จากการประกาศลดกำลังการผลิต ของกลุ่มโอเปคอีก 1 ล้านบาเรล/วัน ทำให้เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปค (10 ประเทศ) ลดลงเหลือ 23.2 ล้านบาเรล/วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการดำเนินการของโอเปค เพื่อพยุงไม่ให้ราคาตกต่ำ โดยอ้างภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง
เดือนสิงหาคม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ $0.8-1.0 ต่อบาเรล เป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ช่วงหลังของเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ที่เริ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เริ่มมีการสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงไตรมาส 4 และอิทธิพลที่มีผลต่อราคา ส่วนหนึ่งมาจากผลทางจิตวิทยา ที่โอเปคประกาศลดเพดานการผลิต และจากรายงานของสถาบันปิโตรเลียมสหรัฐ (API) โดยปริมาณสำรองน้ำมันดิบทางการค้าของสหรัฐอเมริกาได้ลดต่ำลง
เดือนกันยายน ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยอยู่ในภาวะทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นผลจากความสมดุล ของการใช้และการผลิตน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของเดือนราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ $3 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน 2544 ซึ่งตลาดเกรงว่าเหตุการณ์จะขยายตัว ส่งผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันดิบ อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันดิบขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ $6-8 ต่อบาเรล เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก และหากเกิดการขยายตัวของการขัดแย้งและการตอบโต้ของสหรัฐอเมริกาต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย จะส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกลดลง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันในตลาดมากกว่าความต้องการใช้ ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง
ราคาน้ำมันดิบ
หน่วย : เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ช่วงเวลา โอมาน ดูไบ เบรนท์ WTI ทาปิส
2542 17.24 17.2 18.13 19.2 18.84
2543 26.53 26.26 29 30.4 29.86
2544 (8 เดือน) 24.32 24.54 26.75 27.15 27.1
ไตรมาส 1 23.58 23.7 26.31 28.78 26.92
ไตรมาส 2 25.31 25.15 27.56 27.85 28.35
มิถุนายน 25.76 25.65 28.05 27.57 28.13
กรกฎาคม 23.68 23.44 25 26.43 25.8
สิงหาคม 24.35 24.57 25.78 26.89 25.77
กันยายน* 24.78 24.59 26.59 26.75 26.46
* 1-25 กันยายน 2544
2. ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์
เดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันเบนซิน, ดีเซล และเตาปรับลดลง $5, $1 และ $2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น จากหน่วยกลั่นใหม่ที่เริ่มเดินเครื่อง ทั้งจากโรงกลั่นน้ำมัน และคอนเดนเสทในแถบตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออก ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคนี้ไม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จีนซึ่งเป็นผู้ใช้รายใหญ่ได้ห้ามนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป สำหรับน้ำมันเบนซิน แม้จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน แต่จากราคาที่ขึ้นสูงมากในช่วงก่อนหน้า จึงทำให้ไม่มีความต้องการ ในขณะที่ผู้ค้าสำรองน้ำมันไว้สูง ราคาจึงตกลงมาก
เดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ยังอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในระดับ $1-2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากความต้องการในภูมิภาคที่อ่อนตัว ในเดือนนี้อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดีเซลรายใหญ่ ได้ลดความต้องการซื้อ โดยใช้น้ำมันดิบแอฟริกันเข้ากลั่นได้ distillate เพิ่มขึ้น น้ำมันเบนซินได้รับผลกระทบ จากการส่งออกของจีน และน้ำมันเตามีน้ำมัน ออกสู่ตลาดมากขึ้นจากเกาหลีใต้ และรัสเซีย ในเดือนนี้ ค่าการกลั่นที่ตกต่ำ ทำให้โรงกลั่นในภูมิภาคนี้ ต้องลดปริมาณการกลั่นลง
เดือนสิงหาคม ในเดือนนี้โรงกลั่น ได้ลดปริมาณการกลั่นลง เป็นผลจากความต้องการที่เบาบาง กำลังกลั่นในเกาหลีลดลงเหลือ 67% ของกำลังกลั่นสูงสุด (2.7 ล้านบาเรล/วัน) สิงคโปร์เหลือ 64% ของกำลังการกลั่นรวม (1.3 ล้านบาเรล/วัน) และญี่ปุ่นเหลือ 68% ของกำลังกลั่น 5.3 ล้านบาเรล/วัน สำหรับราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้น $2 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลกระทบ จากการลดกำลังกลั่น ในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณสำรอง ทางการค้าของน้ำมันเบนซิน อยู่ในระดับต่ำเพราะเป็นช่วงปลายฤดูร้อน จึงทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ราคาอยู่ในระดับทรงตัว และราคาน้ำมันเตา ปรับตัวสูงขึ้น $1.5 ต่อบาเรล เนื่องจากปริมาณสำรองต่ำ
ในเดือนกันยายน ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ปรับตัวในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบ โดยช่วงแรกปรับตัวสูงขึ้น จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา และต่อมาได้ปรับตัวลดลง ราคาโดยเฉลี่ยของเดือนกันยายน (คือวันที่ 25 กันยายน) น้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตาปรับตัวสูงขึ้น จากเดือนก่อน $3.4, $1.1 และ $1.4 ต่อบาเรล ซึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการกลั่น ทำให้น้ำมันออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ออกเทน 92 ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และเตา ณ วันที่ 25 กันยายน 2544 อยู่ที่ $23.55, $22.45, $26.75, $26.15 และ $21.81 ต่อบาเรล ตามลำดับ
ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในสิงคโปร์
หน่วย : เหรียญสหรัฐ/บาเรล
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ก๊าด ดีเซล เตา เตา
ออกเทน 95 ออกเทน 92 หมุนเร็ว (2%S) (3.5%S)
2542 21.02 20.2 21.44 19.14 16.14 15.74
2543 32.64 30.2 34.39 32.58 25.41 24.66
2544 (8 เดือน) 29.29 27.11 29.79 28.84 22.12 21.61
ไตรมาส 1 30.44 28.92 29.48 27.58 21.78 20.92
ไตรมาส 2 30.76 27.73 30.53 30.23 22.78 22.44
มิถุนายน 28.67 24.13 30.86 30 21.9 21.91
กรกฎาคม 24.43 22.41 28.82 28.56 20.91 20.5
สิงหาคม 26.96 25.19 29.53 28.7 22.39 22.25
กันยายน* 30.4 28.67 31.82 29.83 23.83 23.74
1-25 กันยายน 2544
3. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย
ในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาดโลก โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงประมาณ $5.0 และ $2 ต่อบาเรล (1.4 และ 0.57 บาท/ลิตร) ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นประมาณ 0.2 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 45.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินของไทย ปรับตัวลดลง 6 ครั้ง รวม 1.6 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลง 4 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร และปรับขึ้น 1 ครั้ง รวม 30 สตางค์/ลิตร
เดือนกรกฎาคม อัตราแลกเปลี่ยนของไทย อ่อนตัวลง 0.4 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 45.8 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ประมาณ 7 สตางค์/ลิตร) แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง $ 2 ต่อบาเรล ก็มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูป ของไทยในเดือนนี้ น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร
เดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งตัวขึ้น 1.5 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 44.3 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ในส่วนนี้ลดลงประมาณ 45 สตางค์/ลิตร ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ แม้ต้นทุนจากค่าเงินบาท จะลดลง แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แข็งตัว ก็มีผลให้ราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.2 บาท/ลิตร ปรับลดลง 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร และดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร ปรับลดลง 1 ครั้ง 30 สตางค์/ลิตร
เดือนกันยายน อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลง 0.4 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 44.4 บาท/เหรียญสหรัฐ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 4 ครั้ง รวม 1.2 บาท/ลิตร ปรับลดลง 3 ครั้ง รวม 90 สตางค์/ลิตร น้ำมันดีเซลปรับขึ้น 2 ครั้ง รวม 60 สตางค์/ลิตร ปรับลง 3 ครั้ง รวม 80 สตางค์/ลิตร วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2544 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95, 91 และดีเซลอยู่ที่ระดับ 15.99, 14.99 และ 13.94 บาท/ลิตร ตามลำดับ
เพื่อรองรับผลกระทบของการก่อวินาศกรรม ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ ต่อการจัดหาน้ำมันในประเทศไทย รัฐบาลจึงออกมาตรการให้ผู้ค้าน้ำมัน เพิ่มปริมาณสำรองน้ำมัน จากร้อยละ 3 เป็น ร้อยละ 5 สำหรับน้ำมันที่ผลิตในประเทศ และจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 สำหรับน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ราคาขายปลีก
หน่วย :บาท/ลิตร
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ดีเซล
ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว
2542 11.99 11.18 8.97
2543 15.64 14.68 12.95
2544 (8 เดือน) 16.07 15.07 13.81
ไตรมาส 1 16.17 15.17 13.25
ไตรมาส 2 16.67 15.67 14.32
มิถุนายน 15.96 14.96 14.34
กรกฎาคม 14.96 13.96 13.86
สิงหาคม 15.16 14.16 13.93
กันยายน* 16.23 15.23 14.08
*1-25 กันยายน 2544
4 .ค่าการตลาด และค่าการกลั่นเดือนมิถุนายนค่าการตลาดปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 1.3162 บาท/ลิตร ส่วนค่าการกลั่นอ่อนตัวลงจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.4681 บาท/ลิตร ($1.64 ต่อบาเรล)
เดือนกรกฎาคม ค่าการตลาดลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.1886 บาท/ลิตร ค่าการกลั่นเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.7147 บาท/ลิตร ($2.48 ต่อบาเรล)
เดือนสิงหาคม ค่าการตลาดปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.2599 บาท/ลิตร ค่าการกลั่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.7709 บาท/ลิตร ($2.72 ต่อบาเรล)
เดือนกันยายน ค่าการตลาดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1.2660 บาท/ลิตร โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนค่าการตลาดของไทยปรับตัวสูงขึ้นมาก จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนค่าการกลั่นก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 0.9671 บาท/ลิตร ($3.4 ต่อบาเรล)
ค่าการตลาดเฉลี่ยของประเทศ
หน่วย:บาท/ลิตร
ช่วงเวลา เบนซิน เบนซิน ดีเซล เฉลี่ย
ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว
2542 1.452 1.238 0.713 0.844
2543 1.48 1.239 0.68 0.821
2544 (8 เดือน) 1.682 1.532 1.121 1.2
ไตรมาส 1 1.7 1.503 1.174 1.242
ไตรมาส 2 1.65 1.741 1.05 1.14
มิถุนายน 2.108 1.666 1.146 1.316
กรกฎาคม 1.849 1.717 1.052 1.189
สิงหาคม 1.523 1.38 1.251 1.26
กันยายน* 1.637 1.489 1.224 1.266
*1-25 กันยายน 2544
ค่าการกลั่น
หน่วย : บาท/ลิตร
ช่วงเวลา ค่าการกลั่น เบนซิน เบนซิน ดีเซล เตา
รวม ออกเทน 95 ออกเทน 91 หมุนเร็ว (3.5%S)
2542 0.388 0.445 0.395 0.408 0.326
2543 0.999 1.042 0.976 1.061 0.775
2544 (8 เดือน ) 0.725 0.783 0.73 0.773 0.561
ไตรมาส 1 0.671 0.753 0.702 0.704 0.519
ไตรมาส 2 0.764 0.848 0.794 0.816 0.586
มิถุนายน 0.468 0.449 0.415 0.512 0.352
กรกฎาคม 0.715 0.674 0.618 0.784 0.544
สิงหาคม 0.771 0.778 0.719 0.832 0.619
กันยายน* 0.967 0.952 0.871 1.044 0.82
*1-25 กันยายน 2544
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 52 เมษายน-มิถุนายน 2544--
-ยก-