1. การค้าระหว่างประเทศเดือน พฤษภาคม 2544
1.1 การค้าโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2544 มีมูลค่า 11,081.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2543
ร้อยละ 10.8 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 5,754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และนำเข้า 5,327.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ทำให้ดุลการค้าในเดือนพฤษภาคม 2544 เกินดุลมูลค่า 426.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 174.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือร้อยละ 29.0 และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2544 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
โครงสร้างการส่งออกของไทย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1/5/3086 1/5/3087 %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 5,303.30 5,754.00 8.5
สินค้าอุตสาหกรรม 4,080.80 4,162.30 2
สินค้าเกษตรกรรม 542.5 704.6 29.9
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 390.6 482.3 23.5
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 155.2 169 8.9
สินค้าอื่นๆ 134.2 235.8 75.7
1.2 การส่งออกในหมวดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกหมวด กล่าวคือ สินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร
แร่และเชื้อเพลิง และ อื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 29.9 23.5 8.9 และ 75.8 ตามลำดับ
1.3 เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญ 15 อันดับแรก ในเดือนพฤษภาคม 2544 ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ฯ ข้าว
เครื่องปรับอากาศฯ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยาง และ เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เหล็ก
เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ ยางพารา
1.4 การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาด กล่าวคือ ส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 อาเซียน ร้อยละ
10.9 สหภาพยุโรป ร้อยละ 11.1 และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.5
โครงสร้างการนำเข้าของไทย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1/5/3086 1/5/3087 %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 4,702.60 5,327.60 13.3
ทุน 2,205.90 2,455.10 11.3
วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 1,483.10 1,538.00 3.7
อุปโภคบริโภค 421 436.1 3.6
เชื้อเพลิง 362 740.6 104.6
ยานพาหนะฯ 173.9 132.7 -23.7
อื่น ๆ 56.7 25.1 -55.6
1.5 การนำเข้า ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยหมวดสินค้าทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+3.7%) อุปโภคบริโภค
(+3.6%) และ เชื้อเพลิง (+104.6%) ส่วน สินค้ายานพาหนะฯ นำเข้าลดลงร้อยละ 23.7 และ สินค้าอื่น ๆ (-55.6%)
1.6 การนำเข้าจากตลาดหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 5.0 และ 25.0
ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจาก ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.1
2. การค้าระหว่างประเทศในช่วงมกราคม-พฤษภาคม 2544
2.1 การค้าโดยรวมมีมูลค่า 53,968.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 6.7 โดยจำแนกเป็น
การส่งออก 27,218.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.2 และนำเข้า 26,750.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ทำให้ดุล
การค้าเกินดุลมูลค่า 467.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 3,454.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 88.1
2.2 การส่งออกเพิ่มขึ้นในหมวด สินค้าเกษตรกรรม ร้อยละ 9.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
ไก่สดแช่เย็นฯ ผลไม้สดแช่เย็นฯ ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ส่งออกลดลงร้อยละ
1.4 7.4 และ 9.6 ตามลำดับสำหรับสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0
2.3 เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญ 15 อันดับแรก ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ
กุ้งสดแช่เย็นฯ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศฯ ผลิตภัณฑ์ยาง และ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ส่งออก
ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ข้าว ยางพารา เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ เคมีภัณฑ์
2.4 การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นในตลาด อาเซียน สหภาพยุโรป และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 0.8 6.7 และ 2.8 ส่วน สหรัฐอเมริกา
ลดลงร้อยละ 2.5
2.5 การนำเข้าในหมวดสินค้าสำคัญ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าของหมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
สินค้าอุปโภคบริโภค และ สินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 4.9 9.2 และ 35.0 ตามลำดับ ส่วน สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง
และ สินค้าอื่นๆ นำเข้าลดลงร้อยละ 6.0 และ 34.8
2.6 การนำเข้าจากตลาดหลักที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพ ยุโรป โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 20.0 และ
41.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากญี่ปุ่น ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.9
2.7 สำหรับดุลการค้าในช่วงมกราคม - พฤษภาคม 2544 ไทยเกินดุลเป็นมูลค่า 467.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลการค้ากับ
สหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ส่วนญี่ปุ่น ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 1,656.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1.1 การค้าโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2544 มีมูลค่า 11,081.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2543
ร้อยละ 10.8 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 5,754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และนำเข้า 5,327.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ทำให้ดุลการค้าในเดือนพฤษภาคม 2544 เกินดุลมูลค่า 426.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 174.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือร้อยละ 29.0 และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2544 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
โครงสร้างการส่งออกของไทย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1/5/3086 1/5/3087 %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 5,303.30 5,754.00 8.5
สินค้าอุตสาหกรรม 4,080.80 4,162.30 2
สินค้าเกษตรกรรม 542.5 704.6 29.9
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 390.6 482.3 23.5
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 155.2 169 8.9
สินค้าอื่นๆ 134.2 235.8 75.7
1.2 การส่งออกในหมวดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกหมวด กล่าวคือ สินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร
แร่และเชื้อเพลิง และ อื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 29.9 23.5 8.9 และ 75.8 ตามลำดับ
1.3 เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญ 15 อันดับแรก ในเดือนพฤษภาคม 2544 ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ฯ ข้าว
เครื่องปรับอากาศฯ น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยาง และ เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เหล็ก
เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ ยางพารา
1.4 การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาด กล่าวคือ ส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 อาเซียน ร้อยละ
10.9 สหภาพยุโรป ร้อยละ 11.1 และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.5
โครงสร้างการนำเข้าของไทย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1/5/3086 1/5/3087 %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 4,702.60 5,327.60 13.3
ทุน 2,205.90 2,455.10 11.3
วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 1,483.10 1,538.00 3.7
อุปโภคบริโภค 421 436.1 3.6
เชื้อเพลิง 362 740.6 104.6
ยานพาหนะฯ 173.9 132.7 -23.7
อื่น ๆ 56.7 25.1 -55.6
1.5 การนำเข้า ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยหมวดสินค้าทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+3.7%) อุปโภคบริโภค
(+3.6%) และ เชื้อเพลิง (+104.6%) ส่วน สินค้ายานพาหนะฯ นำเข้าลดลงร้อยละ 23.7 และ สินค้าอื่น ๆ (-55.6%)
1.6 การนำเข้าจากตลาดหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 5.0 และ 25.0
ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจาก ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 10.1
2. การค้าระหว่างประเทศในช่วงมกราคม-พฤษภาคม 2544
2.1 การค้าโดยรวมมีมูลค่า 53,968.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 6.7 โดยจำแนกเป็น
การส่งออก 27,218.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.2 และนำเข้า 26,750.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ทำให้ดุล
การค้าเกินดุลมูลค่า 467.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 3,454.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 88.1
2.2 การส่งออกเพิ่มขึ้นในหมวด สินค้าเกษตรกรรม ร้อยละ 9.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
ไก่สดแช่เย็นฯ ผลไม้สดแช่เย็นฯ ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ส่งออกลดลงร้อยละ
1.4 7.4 และ 9.6 ตามลำดับสำหรับสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0
2.3 เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญ 15 อันดับแรก ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ
กุ้งสดแช่เย็นฯ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศฯ ผลิตภัณฑ์ยาง และ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ส่งออก
ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ข้าว ยางพารา เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และ เคมีภัณฑ์
2.4 การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นในตลาด อาเซียน สหภาพยุโรป และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 0.8 6.7 และ 2.8 ส่วน สหรัฐอเมริกา
ลดลงร้อยละ 2.5
2.5 การนำเข้าในหมวดสินค้าสำคัญ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าของหมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
สินค้าอุปโภคบริโภค และ สินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 4.9 9.2 และ 35.0 ตามลำดับ ส่วน สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง
และ สินค้าอื่นๆ นำเข้าลดลงร้อยละ 6.0 และ 34.8
2.6 การนำเข้าจากตลาดหลักที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพ ยุโรป โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 20.0 และ
41.1 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากญี่ปุ่น ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.9
2.7 สำหรับดุลการค้าในช่วงมกราคม - พฤษภาคม 2544 ไทยเกินดุลเป็นมูลค่า 467.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลการค้ากับ
สหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ส่วนญี่ปุ่น ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 1,656.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-