บทสรุปนักลงทุน
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภท น๊อต สกรู (สลักภัณฑ์) แหวนสปริง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์การก่อสร้าง เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะมีการขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งยังคงมีความต้องการอยู่มากดังจะเห็นได้จากการนำเข้า ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดรวม ยังคงอยู่ในระดับที่สูง แต่ในช่วงปี 2540-2541 ความต้องการเริ่มประสบปัญหาตามการซบเซาลงของภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และการผลิตในภาค
อุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาวะความต้องการภายในประเทศลดลง ในขณะเดียวกันผู้ผลิตได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ปรับตัวลดลง สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 3 เป็น 13,990 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้ายังคงอยู่ในปริมาณที่สูง คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยในปัจจุบันมีผู้ผลิตกว่า 500 ราย ตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตชิ้นส่วนประเภทน๊อตและสกรูทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า รายเล็กและรับจ้างผลิตตามความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่มีเพียงร้อยละ 30-35 ของผู้ประกอบการรวม โดยจะผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตคือลวดเหล็ก รวมไปถึงแม่พิมพ์สำหรับการปั๊มหัวและรีดเกลียวส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นหากไม่รวมค่าใช้จ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าแล้วแต่ทำเล ที่เหลือส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าเครื่องจักรซึ่งจะมีระดับราคาค่อนข้างสูง รองลงมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ประเภทค่าวัตถุดิบ ค่าเสื่อมเครื่องจักร ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิต และค่าแรงจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกนั้นยังมีดอกเบี้ยจ่ายในกรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภท น๊อต สกรู (สลักภัณฑ์) แหวนสปริง ตะปูเกลียวสามารถผลิตด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ทองแดง และอลูมิเนียม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ การก่อสร้าง เป็นต้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 มูลค่าตลาดโดยรวมในปี 2541 ประมาณ 12,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2540 ภาวะตลาดเริ่มปรับตัวลดลงตามความต้องการที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะความต้องการภายในประเทศและการนำเข้าปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกันผู้ผลิต
ได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ซบเซาลง
มูลค่าตลาดรวมปี 2542 คาดว่าจะปรบตัวสูงขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 5 เป็น 13,325 ล้านบาท จากตลาดในประเทศปี 2542 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยประมาณร้อยละ 4 คิดเป็นประมาณ 3,750 ล้านบาท ตามความต้องการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เริ่มกระเตื้องขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้าจะเป็นที่นิยมใช้ในประเทศ ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าร้อยละ 56 และ 6 เป็น 26,500 ตัน และ 7,250 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 90-95 จะเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐฯ เป็นต้น
ส่วนการส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะในปี 2542 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 16.4 และ 1.9 เป็น 37,500 ตัน และ 2,325 ล้านบาท ตามลำดับส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า โดยมีคู่แข่งที่สำคัญที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทย เช่น ไต้หวัน จีน และมาเลเซีย เป็นผลให้ไทยต้องส่งออกผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายในราคาที่ต่ำลงประมาณร้อยละ 12 ในปี 2542 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะโดยรวมจะขยายตัวจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 5 เป็นประมาณ 13,990 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจการเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้คาดว่าตลาด
นำเข้ายังคงมีสัดส่วนที่สูงโดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการนำเข้าของบริษัทแม่หรือผู้ร่วมทุนของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะจากต่างประเทศ นอกจากนี้คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ซึ่งไทยสามารถผลิตได้ในระดับกลาง-ต่ำเท่านั้น ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การนำเข้ายังคงอยู่ในปริมาณที่สูง
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยมีผู้ผลิตกว่า 500 ราย ตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตชิ้นส่วนประเภทน๊อตและสกรูทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า และเป็นการผลิตขนาดเล็กโดยมีลักษณะรับจ้างผลิตตามความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งทำการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกคาดว่าจะมีปริมาณไม่มากเพียงร้อยละ 30-35 เท่านั้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท) จำนวนแรงงาน (คน)
บริษัท มหาจักรออโตพาร์ท จำกัด 500,000,000 456
บริษัท ไทยยูเนียนสกรูน็อต จำกัด 150,000,000 342
บริษัท กรุงเทพสลักภัณฑ์ จำกัด 82,500,000 300
บริษัท มหาจักรอุตสาหกรรม จำกัด 60,000,000 238
บริษัท เค.วาย อินเตอร์เทรด จำกัด 83,000,000 212
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยสินสกรู อุตสาหกรรม จำกัด 29,000,000 166
บริษัท ซันโก ฟาสเท็ม (ไทยแลนด์) จำกัด 100,000,000 150
บริษัท นิตโต เซโก (ประเทศไทย) จำกัด 89,000,000 110
บริษัท วัฒนาพรสกรู (1991) จำกัด 9,000,000 38
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ได้แก่
1. จำหน่ายโดยตรงต่อกลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้รายใหญ่ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ผลิตยนต์และรถจักรยานยนต์ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น โดยการจำหน่ายในลักษณะนี้ผู้ผลิตรายใหญ่จะได้เปรียบในด้านราคามากกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก
2.! จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ผู้ขายส่ง ผู้ค้าปลีก
1.!จำหน่ายโดยการออกร้าน-งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้ซื้อพบผู้ขาย งานแสดงชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
2.!ส่งออกไปยังต่างประเทศโดยตรง
ปัจจัยและกลยุทธ์หลักที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันทั้งในส่วนของตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก คือ ผลิตภัณฑ์ต้องมีความหลากหลายทั้งด้านขนาดและจำนวนตามที่ลูกค้าต้องการ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมทั้งทางด้านต้นทุนการผลิต คุณภาพ และมีความตรงต่อเวลาในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสำหรับการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทน๊อตและสกรูซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตมากในประเทศ ได้แก่
1. ลวดเหล็ก ได้มาจากการนำเหล็กลวดมาผ่านกระบวนการดึงลดขนาด (drawing) โดยผ่าน Die ขนาดต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการดึงแบบเย็น (Cold Drawn) จากนั้นนำลวดที่ได้จาก การดึงลดขนาดไปผ่านการอบอ่อนหรือผ่านกรรมวิธีทางความร้อนเพื่อให้ลวดที่ได้มีคุณสมบัติทาง กลที่ดีขึ้น สำหรับเหล็กลวดที่มีการผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นเหล็กลวดชนิดที่มีธาตุคาร์บอนต่ำแต่ความต้องการของตลาดในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะจะเป็นลวดเหล็กชนิดพิเศษ ซึ่งมีปริมาณธาตุคาร์บอนตั้งแต่ร้อยละ 0.06 จนถึงมากกว่า 0.51 ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่าง ประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น รัสเซีย เป็นต้น ส่วนที่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ เช่น จากบริษัท เฉียวเป่า เม็ททัล จำกัด บริษัท ไทยคูณส์ กรุ๊ป เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นต้น
2. วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น กรดเกลือ โซดาไฟ น้ำมันโซล่า (ใช้หล่อลื่นในการปั๊มหัวและรีดเกลียว) สามารถซื้อได้ภายในประเทศ
3. แม่พิมพ์ที่ใช้ในการปั๊มหัวและทำเกลียว ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น
4. บรรจุภัณฑ์ ทั้งในรูปกล่องกระดาษและถุงกระสอบ สามารถหาซื้อได้ทั่วไปภายในประเทศ
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1.! วัตถุดิบ 65
-! วัตถุดิบในประเทศ 5-10
-! วัตถุดิบนำเข้า 90-95
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 10
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 15
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ลวดเหล็กตามขนาดที่ต้องการ
ลักษณะและขนาดของหัวผลิต
นำเข้าเครื่องปั๊มหัว (Heading Machine) ภัณฑ์ขึ้นอยู่กับแม่พิมพ์แบบที่
ใส่ลงไปในเครื่องปั๊มหัว
ในขั้นตอนนี้จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มี
ทำเกลียวด้วยเครื่องรีดเกลียว (Thread Rolling ลักษณะและขนาดตามต้องการ
Machine)
ทำโดยเผาด้วยความร้อนประมาณ
ชุบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง 890-920 องศาเซลเซียส แล้วใส่ลงใน
น้ำมันชุบแข็ง หรืออบซ้ำ (AnnealingFurnace) เพื่อให้ได้ความแข็งตาม
ชุบสีเคลือบกันสนิมตามที่ลูกค้าต้องการ
(มีทั้งแบบสังกะสีและนิเกิล)
บรรจุและส่งจำหน่าย
(โดยมีทั้งบรรจุใส่กล่องและกระสอบ)
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ ประเภทน๊อต สกรู ประกอบด้วย
1. เครื่องปั๊มหัว (Heading Machine)
2. เครื่องรีดเกลียว (Thread Rolling Machine) ส่วนใหญ่จะอยู่ในสายการผลิตต่อเนื่องกับการปั๊มหัวผลิตภัณฑ์
3. เครื่องชุบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และเครื่องชุบสีเพื่อเคลือบกันสนิม (Electro Plating Machine) ในกรณีของผู้ผลิตรายเล็กอาจจะไม่มีสายการผลิตในส่วนนี้ แต่สามารถจ้างบริษัทภายนอกทำการชุบ-เคลือบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักร แต่การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ต้องการอาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ ควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตน๊อต-สกรูที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้ากำลังการผลิตปีละประมาณ 200 ล้านตัวต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 30-35 ล้านบาท แต่สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กซึ่งไม่มีการลงทุนในส่วนของเครื่องชุบแข็งและเครื่องชุบสี-เคลือบกันสนิมก็จะใช้เงินลงทุนประมาณ 17-20 ล้านบาท
2.!ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ใช้พื้นที่สำหรับทำการผลิตและสต๊อกสินค้าประมาณ 500-700 ตารางวา โดยจะมีค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ ค่าสิ่งปลูกสร้างรวมกันประมาณ 10 ล้านบาท หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าแล้วแต่ทำเล
3.!ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั๊มหัว ในการลงทุนเริ่มแรกในการผลิตน๊อต-สกรูประมาณ 17 ล้านตัวต่อเดือน (ผลิต วันละ 8 ชม.สัปดาห์ละ 6 วัน) มีประมาณ 7 เครื่อง โดยมีระดับราคาเครื่องละประมาณ 300,000-500,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท
3.2 เครื่องรีดเกลียว เป็นสายการผลิตต่อเนื่องจากเครื่องปั๊มหัวจำนวน 7 เครื่อง โดยมีระดับราคาประมาณเครื่องละ 200,000-300,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 1.55 ล้านบาท
3.3 เครื่องชุบแข็ง ราคาชุดละประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
3.4 เครื่องชุบสี-เคลือบกันสนิม ราคาชุดละประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กส่วนใหญ่อาจจะไม่มีการลงทุนในส่วนของเครื่องชุบแข็ง หรือ ชุบเคลือบกันสนิม โดยอาจจะมีการจ้างผู้ประกอบการรายอื่นทำแทนซึ่งบางครั้งอาจจะได้คุณภาพและมาตรฐานไม่ตรงตามความต้องการเท่าที่ควร
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 1,500,000-4,950,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทน๊อต-สกรูขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 24 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 19 คน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานควบคุม-ดูแลประจำเครื่องจักร 7 คน
1.2! พนักงานดูแลทั่วไป 2 คน
1.3! พนักงานตกแต่งและตรวจสอบคุณภาพ 3 คน
1.4! พนักงานบรรจุผลิตภัณฑ์ 6 คน
1.5! หัวหน้าดูแลพนักงาน 1 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไป รวมไปถึงดูแลด้านการตลาดบัญชีและเสมียน อีกประมาณ 5 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 6,980,000 บาทต่อปี
- ลวดเหล็ก 5,850,000 บาทต่อปี
- ค่าแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต 50,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 35,000-40,000 บาทต่อปี
- ค่าจ้างในการชุบ-เคลือบ 1,000,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,900,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 2,350,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 902,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ (มีการใช้น้ำบาดาล) 10,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 640,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 72,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน (รวมที่ใช้ในการผลิต) 180,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
5.2 ดอกเบี้ยจ่าย แล้วแต่จำนวนเงินที่กู้ยืม
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้เฉลี่ยประมาณ 13.5-14.5 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท เอ็น.เอส.เค อินดัสตรี จำกัด 67 หมู่ที่ 5 ถ.เพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร โทร. 223-1220
บริษัท สกายเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 847 ถ.พระรามที่ 3 ต.บางโพงพาง อ. ยานนาวา กรุงเทพฯ โทร. 294-8687-8
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1.!ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะสามารถแบ่งได้เป็น วัตถุดิบ-ลวดเหล็ก มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 20 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 20
2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก ภาครัฐได้ให้การส่งเสริมในการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ เช่น การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ตามมาตร 19 ทวิ (รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสูตรและคืนอากรการผลิตเพื่อการส่งออก สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ โทร.249-4216, 249-5968)
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์
5. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วย
มอก. 291-2530 - เล่ม 1-3 สลักเกลียวหัวหกเหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ขั้น A,B,C
มอก. 338-2530 - เล่ม 1-2 หมุดเกลียวหัวหกเหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ขั้น A,B,C
มอก. 411-2525 - หมุดเกลียวหัวแบนผ่า
มอก. 412-2525 - หมุดเกลียวหัวจมแบนผ่า
มอก. 413-2525 - หมุดเกลียวหัวจมนูนผ่า
มอก. 414-2525 - หมุดเกลียวหัวกะทะผ่า
มอก. 669-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวหลุมสี่แฉก
มอก. 670-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวหกเหลี่ยม
มอก. 667-2530 - หมุดเกลียวหัวหลุมสี่แฉก
มอก. 668-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวผ่า
มอก. 672-2530 - แป้นเกลียวหกเหลี่ยม
มอก. 699-2530 - ตะปูเกลียวหัวหลุมสี่แฉก
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุน ข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)--จบ--
-ชต-
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภท น๊อต สกรู (สลักภัณฑ์) แหวนสปริง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์การก่อสร้าง เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะมีการขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งยังคงมีความต้องการอยู่มากดังจะเห็นได้จากการนำเข้า ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดรวม ยังคงอยู่ในระดับที่สูง แต่ในช่วงปี 2540-2541 ความต้องการเริ่มประสบปัญหาตามการซบเซาลงของภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และการผลิตในภาค
อุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาวะความต้องการภายในประเทศลดลง ในขณะเดียวกันผู้ผลิตได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ปรับตัวลดลง สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 3 เป็น 13,990 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้ายังคงอยู่ในปริมาณที่สูง คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยในปัจจุบันมีผู้ผลิตกว่า 500 ราย ตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตชิ้นส่วนประเภทน๊อตและสกรูทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า รายเล็กและรับจ้างผลิตตามความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่มีเพียงร้อยละ 30-35 ของผู้ประกอบการรวม โดยจะผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตคือลวดเหล็ก รวมไปถึงแม่พิมพ์สำหรับการปั๊มหัวและรีดเกลียวส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นหากไม่รวมค่าใช้จ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าแล้วแต่ทำเล ที่เหลือส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าเครื่องจักรซึ่งจะมีระดับราคาค่อนข้างสูง รองลงมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ประเภทค่าวัตถุดิบ ค่าเสื่อมเครื่องจักร ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิต และค่าแรงจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกนั้นยังมีดอกเบี้ยจ่ายในกรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภท น๊อต สกรู (สลักภัณฑ์) แหวนสปริง ตะปูเกลียวสามารถผลิตด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ทองแดง และอลูมิเนียม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ การก่อสร้าง เป็นต้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 มูลค่าตลาดโดยรวมในปี 2541 ประมาณ 12,700 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2540 ภาวะตลาดเริ่มปรับตัวลดลงตามความต้องการที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะความต้องการภายในประเทศและการนำเข้าปรับตัวลดลง ในขณะเดียวกันผู้ผลิต
ได้ขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ซบเซาลง
มูลค่าตลาดรวมปี 2542 คาดว่าจะปรบตัวสูงขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 5 เป็น 13,325 ล้านบาท จากตลาดในประเทศปี 2542 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยประมาณร้อยละ 4 คิดเป็นประมาณ 3,750 ล้านบาท ตามความต้องการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เริ่มกระเตื้องขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้าจะเป็นที่นิยมใช้ในประเทศ ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าร้อยละ 56 และ 6 เป็น 26,500 ตัน และ 7,250 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 90-95 จะเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐฯ เป็นต้น
ส่วนการส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะในปี 2542 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 16.4 และ 1.9 เป็น 37,500 ตัน และ 2,325 ล้านบาท ตามลำดับส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า โดยมีคู่แข่งที่สำคัญที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทย เช่น ไต้หวัน จีน และมาเลเซีย เป็นผลให้ไทยต้องส่งออกผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายในราคาที่ต่ำลงประมาณร้อยละ 12 ในปี 2542 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะโดยรวมจะขยายตัวจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 5 เป็นประมาณ 13,990 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจการเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้คาดว่าตลาด
นำเข้ายังคงมีสัดส่วนที่สูงโดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการนำเข้าของบริษัทแม่หรือผู้ร่วมทุนของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะจากต่างประเทศ นอกจากนี้คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ซึ่งไทยสามารถผลิตได้ในระดับกลาง-ต่ำเท่านั้น ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การนำเข้ายังคงอยู่ในปริมาณที่สูง
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะของไทยมีผู้ผลิตกว่า 500 ราย ตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตชิ้นส่วนประเภทน๊อตและสกรูทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้า และเป็นการผลิตขนาดเล็กโดยมีลักษณะรับจ้างผลิตตามความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งทำการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกคาดว่าจะมีปริมาณไม่มากเพียงร้อยละ 30-35 เท่านั้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท) จำนวนแรงงาน (คน)
บริษัท มหาจักรออโตพาร์ท จำกัด 500,000,000 456
บริษัท ไทยยูเนียนสกรูน็อต จำกัด 150,000,000 342
บริษัท กรุงเทพสลักภัณฑ์ จำกัด 82,500,000 300
บริษัท มหาจักรอุตสาหกรรม จำกัด 60,000,000 238
บริษัท เค.วาย อินเตอร์เทรด จำกัด 83,000,000 212
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยสินสกรู อุตสาหกรรม จำกัด 29,000,000 166
บริษัท ซันโก ฟาสเท็ม (ไทยแลนด์) จำกัด 100,000,000 150
บริษัท นิตโต เซโก (ประเทศไทย) จำกัด 89,000,000 110
บริษัท วัฒนาพรสกรู (1991) จำกัด 9,000,000 38
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ได้แก่
1. จำหน่ายโดยตรงต่อกลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้รายใหญ่ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ผลิตยนต์และรถจักรยานยนต์ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น โดยการจำหน่ายในลักษณะนี้ผู้ผลิตรายใหญ่จะได้เปรียบในด้านราคามากกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก
2.! จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ผู้ขายส่ง ผู้ค้าปลีก
1.!จำหน่ายโดยการออกร้าน-งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้ซื้อพบผู้ขาย งานแสดงชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น
2.!ส่งออกไปยังต่างประเทศโดยตรง
ปัจจัยและกลยุทธ์หลักที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันทั้งในส่วนของตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก คือ ผลิตภัณฑ์ต้องมีความหลากหลายทั้งด้านขนาดและจำนวนตามที่ลูกค้าต้องการ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมทั้งทางด้านต้นทุนการผลิต คุณภาพ และมีความตรงต่อเวลาในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสำหรับการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทน๊อตและสกรูซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตมากในประเทศ ได้แก่
1. ลวดเหล็ก ได้มาจากการนำเหล็กลวดมาผ่านกระบวนการดึงลดขนาด (drawing) โดยผ่าน Die ขนาดต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการดึงแบบเย็น (Cold Drawn) จากนั้นนำลวดที่ได้จาก การดึงลดขนาดไปผ่านการอบอ่อนหรือผ่านกรรมวิธีทางความร้อนเพื่อให้ลวดที่ได้มีคุณสมบัติทาง กลที่ดีขึ้น สำหรับเหล็กลวดที่มีการผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นเหล็กลวดชนิดที่มีธาตุคาร์บอนต่ำแต่ความต้องการของตลาดในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะจะเป็นลวดเหล็กชนิดพิเศษ ซึ่งมีปริมาณธาตุคาร์บอนตั้งแต่ร้อยละ 0.06 จนถึงมากกว่า 0.51 ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่าง ประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น รัสเซีย เป็นต้น ส่วนที่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ เช่น จากบริษัท เฉียวเป่า เม็ททัล จำกัด บริษัท ไทยคูณส์ กรุ๊ป เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นต้น
2. วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น กรดเกลือ โซดาไฟ น้ำมันโซล่า (ใช้หล่อลื่นในการปั๊มหัวและรีดเกลียว) สามารถซื้อได้ภายในประเทศ
3. แม่พิมพ์ที่ใช้ในการปั๊มหัวและทำเกลียว ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น
4. บรรจุภัณฑ์ ทั้งในรูปกล่องกระดาษและถุงกระสอบ สามารถหาซื้อได้ทั่วไปภายในประเทศ
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1.! วัตถุดิบ 65
-! วัตถุดิบในประเทศ 5-10
-! วัตถุดิบนำเข้า 90-95
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 10
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 15
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ลวดเหล็กตามขนาดที่ต้องการ
ลักษณะและขนาดของหัวผลิต
นำเข้าเครื่องปั๊มหัว (Heading Machine) ภัณฑ์ขึ้นอยู่กับแม่พิมพ์แบบที่
ใส่ลงไปในเครื่องปั๊มหัว
ในขั้นตอนนี้จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มี
ทำเกลียวด้วยเครื่องรีดเกลียว (Thread Rolling ลักษณะและขนาดตามต้องการ
Machine)
ทำโดยเผาด้วยความร้อนประมาณ
ชุบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง 890-920 องศาเซลเซียส แล้วใส่ลงใน
น้ำมันชุบแข็ง หรืออบซ้ำ (AnnealingFurnace) เพื่อให้ได้ความแข็งตาม
ชุบสีเคลือบกันสนิมตามที่ลูกค้าต้องการ
(มีทั้งแบบสังกะสีและนิเกิล)
บรรจุและส่งจำหน่าย
(โดยมีทั้งบรรจุใส่กล่องและกระสอบ)
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ ประเภทน๊อต สกรู ประกอบด้วย
1. เครื่องปั๊มหัว (Heading Machine)
2. เครื่องรีดเกลียว (Thread Rolling Machine) ส่วนใหญ่จะอยู่ในสายการผลิตต่อเนื่องกับการปั๊มหัวผลิตภัณฑ์
3. เครื่องชุบแข็งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และเครื่องชุบสีเพื่อเคลือบกันสนิม (Electro Plating Machine) ในกรณีของผู้ผลิตรายเล็กอาจจะไม่มีสายการผลิตในส่วนนี้ แต่สามารถจ้างบริษัทภายนอกทำการชุบ-เคลือบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักร แต่การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ต้องการอาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ ควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตน๊อต-สกรูที่ทำด้วยเหล็กและเหล็กกล้ากำลังการผลิตปีละประมาณ 200 ล้านตัวต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 30-35 ล้านบาท แต่สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กซึ่งไม่มีการลงทุนในส่วนของเครื่องชุบแข็งและเครื่องชุบสี-เคลือบกันสนิมก็จะใช้เงินลงทุนประมาณ 17-20 ล้านบาท
2.!ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ใช้พื้นที่สำหรับทำการผลิตและสต๊อกสินค้าประมาณ 500-700 ตารางวา โดยจะมีค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ ค่าสิ่งปลูกสร้างรวมกันประมาณ 10 ล้านบาท หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าแล้วแต่ทำเล
3.!ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั๊มหัว ในการลงทุนเริ่มแรกในการผลิตน๊อต-สกรูประมาณ 17 ล้านตัวต่อเดือน (ผลิต วันละ 8 ชม.สัปดาห์ละ 6 วัน) มีประมาณ 7 เครื่อง โดยมีระดับราคาเครื่องละประมาณ 300,000-500,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท
3.2 เครื่องรีดเกลียว เป็นสายการผลิตต่อเนื่องจากเครื่องปั๊มหัวจำนวน 7 เครื่อง โดยมีระดับราคาประมาณเครื่องละ 200,000-300,000 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 1.55 ล้านบาท
3.3 เครื่องชุบแข็ง ราคาชุดละประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
3.4 เครื่องชุบสี-เคลือบกันสนิม ราคาชุดละประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กส่วนใหญ่อาจจะไม่มีการลงทุนในส่วนของเครื่องชุบแข็ง หรือ ชุบเคลือบกันสนิม โดยอาจจะมีการจ้างผู้ประกอบการรายอื่นทำแทนซึ่งบางครั้งอาจจะได้คุณภาพและมาตรฐานไม่ตรงตามความต้องการเท่าที่ควร
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 1,500,000-4,950,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะประเภทน๊อต-สกรูขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 24 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 19 คน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานควบคุม-ดูแลประจำเครื่องจักร 7 คน
1.2! พนักงานดูแลทั่วไป 2 คน
1.3! พนักงานตกแต่งและตรวจสอบคุณภาพ 3 คน
1.4! พนักงานบรรจุผลิตภัณฑ์ 6 คน
1.5! หัวหน้าดูแลพนักงาน 1 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไป รวมไปถึงดูแลด้านการตลาดบัญชีและเสมียน อีกประมาณ 5 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 6,980,000 บาทต่อปี
- ลวดเหล็ก 5,850,000 บาทต่อปี
- ค่าแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต 50,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 35,000-40,000 บาทต่อปี
- ค่าจ้างในการชุบ-เคลือบ 1,000,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,900,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 2,350,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 902,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ (มีการใช้น้ำบาดาล) 10,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 640,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 72,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน (รวมที่ใช้ในการผลิต) 180,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
5.2 ดอกเบี้ยจ่าย แล้วแต่จำนวนเงินที่กู้ยืม
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10-15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้เฉลี่ยประมาณ 13.5-14.5 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท เอ็น.เอส.เค อินดัสตรี จำกัด 67 หมู่ที่ 5 ถ.เพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร โทร. 223-1220
บริษัท สกายเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 847 ถ.พระรามที่ 3 ต.บางโพงพาง อ. ยานนาวา กรุงเทพฯ โทร. 294-8687-8
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1.!ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะสามารถแบ่งได้เป็น วัตถุดิบ-ลวดเหล็ก มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 20 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 20
2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก ภาครัฐได้ให้การส่งเสริมในการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะ เช่น การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ตามมาตร 19 ทวิ (รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสูตรและคืนอากรการผลิตเพื่อการส่งออก สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ โทร.249-4216, 249-5968)
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์
5. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วย
มอก. 291-2530 - เล่ม 1-3 สลักเกลียวหัวหกเหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ขั้น A,B,C
มอก. 338-2530 - เล่ม 1-2 หมุดเกลียวหัวหกเหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ขั้น A,B,C
มอก. 411-2525 - หมุดเกลียวหัวแบนผ่า
มอก. 412-2525 - หมุดเกลียวหัวจมแบนผ่า
มอก. 413-2525 - หมุดเกลียวหัวจมนูนผ่า
มอก. 414-2525 - หมุดเกลียวหัวกะทะผ่า
มอก. 669-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวหลุมสี่แฉก
มอก. 670-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวหกเหลี่ยม
มอก. 667-2530 - หมุดเกลียวหัวหลุมสี่แฉก
มอก. 668-2530 - หมุดเกลียวปล่อยหัวผ่า
มอก. 672-2530 - แป้นเกลียวหกเหลี่ยม
มอก. 699-2530 - ตะปูเกลียวหัวหลุมสี่แฉก
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุน ข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)--จบ--
-ชต-